

- ชงครม. อัดฉีดสินเชื่อ5หมื่นล้านบาท
- อัตราดอกเบี้ยคงที่ 1% กู้ยาวจนลืมนาน10ปี
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้ตรวจเยี่ยมและประชุมมอบนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยสั่งการให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐคือ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารกรุงไทย ห้ามทอดทิ้งลูกค้าเป็นอันขาด โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งส่วนใหญ่มีทุนน้อย ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เอกชนจะเน้นให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายใหญ่ ดังนั้น เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจขาลงและยิ่งลงลึกมากเท่าไหร่ ธนาคารพาณิชย์เอกชนก็ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อมากเท่านั้น เพราะกลัวหนี้ที่ไม่ก่อ ให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และหนี้เน่าจะเพิ่มมากขึ้น ปัญหาหนี้เสียที่เกิดขึ้น จึงไม่ได้มาจากความผิดของนักธุรกิจ แต่เป็นเพราะเศรษฐกิจโลกไม่ดี เกิดการแพร่ระบาดของโควิด ถ้าเราไม่ได้ช่วยเอสเอ็มอีเหล่านี้ตั้งแต่ต้นและหากปล่อยให้เศรษฐ กิจไทยพังแบบนี้ต่อไป ก็จะยิ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์ลำบากมากขึ้น เนื่องจากเอ็นพีแอลจะมีมากขึ้นแบบทวีคูณ

“เวลานี้ ประเทศไทยกำลังเจอพายุลูกใหญ่ และไม่ใช่แค่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ถ้าไม่ตั้งรับดีๆ ก็จะเหนื่อยกันหมด เช่น สิงคโปร์ต้องยุบสภา เพราะคาดว่าเศรษฐกิจจะย่ำแย่ลงมาก จึงต้องชิงยุบก่อน เพื่อเลือกตั้งจะได้มีรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่ประเทศไทย ไม่มี 3 ก๊ก หรือ 4 ก๊กแล้ว ทุกอย่างยุติแล้ว เมื่อเวลามีพายุ อย่างพายุวิกฤตปี2540 ที่ได้ผ่านมาแล้ว คนที่จะถูกกระทบก่อนเลยคือ เอสเอ็มอี ซึ่งตัวเล็ก เงินน้อยแต่มีการจ้างงานพอสมควร ถ้าไม่ดูแลเขาปกติจะได้สินเชื่อยากมาก เราจึงต้องดูแลตั้งแต่ต้นทาง ให้อยู่รอดได้ ให้ยังมีการจ้างงานต่อไป”
ดังนั้น หาก สสว.และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ไม่เร่งเติมสินเชื่อเข้าสู่ระบบเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจเอสเอ็มอีในช่วง เวลานี้ ก็เหมือนกับบทเรียนที่ธนาคารพาณิชย์ของไทยประสบเมื่อปี2540 ที่นายแบงก์พยายามกอดลูกหนี้ของตนเองเอา ไว้ให้ได้มากที่สุด ไม่ยอมช่วยเหลือเอสเอ็มอี แต่สุดท้ายเมื่อเอสเอ็มอีตาย ธุรกิจขนาดใหญ่ก็อยู่ไม่ได้ ธนาคารก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน ผู้ถือหุ้นของธนาคารก็อยู่ไม่ได้ และไม่ใช่คนไทยอีกต่อไป เพราะต้องขายหุ้นให้แก่นักลงทุนต่างชาติ การกอดลูกหนี้ของตนเอง จึงไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง ผมจึงต้องมาตรวจเยี่ยม สสว.และผลักดันให้ สสว.ปล่อยสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี วง เงิน 50,000 ล้านบาท ครอบคลุมเอสเอ็มอีประมาณ 500,000 ราย อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเพียง 1% ต่อปีเท่านั้น และหากความต้องการสินเชื่อยังอยู่ในระดับสูง ก็จะหามาเพิ่มอีก 50,000 ล้านบาท รวมเป็น 100,000 ล้านบาท
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 ก.ค.นี้ สสว.จะเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไมโคร เอสเอ็มอี (เอสเอ็มอีรายจิ๋ว) วงเงิน 50,000 ล้านบาท โดยจะใช้เงินจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งยังมีงบประมาณเหลือหลังจากที่กระทรวงการคลังออกมาตรการเยี่ยวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิดไปแล้ว โดยคาดว่า วงเงิน 50,000 ล้านบาทที่ ครม.เห็นชอบ จะสามารถนำมาปล่อยสินเชื่อให้ แก่ไมโครเอสเอ็มอีได้ในกลางเดือนส.ค.นี้ โดยมีธนาคารเฉพาะกิจของรัฐเข้าร่วมโครงการ ซึ่งประกอบด้วยธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธนาคารกรุงไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
สำหรับวงเงินสินเชื่อ 50,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 วงเงิน โดยวงเงินก้อนแรก จะปล่อยกู้ 100,000 บาท ภายใต้ชื่อ “เงินเติมพลังชีวิต” อัตราดอกเบี้ยคงที่ 1% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระ 10 ปี หรือผ่อนทั้งเงินและดอกเบี้ยประมาณ 500 บาทต่อเดือน และก้อนที่สองคือ “การเพิ่มทุน” เพื่อเสริมสภาพคล่องวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยคงที่ 1% ต่อปี เช่นเดียวกัน มีระยะผ่อนชำระ 10 ปี ผ่อนเงินและอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน โดยเงื่อนไขผู้กู้ต้องไม่เป็นเอ็นพีแอล ไม่ติดเครดิตบูโรและที่สำคัญ ต้องไม่มีวงเงินกู้คงค้างติดอยู่ในบัญชีกับธนาคาร เช่น หากกู้เงิน และผ่อนชำระหมดแล้ว ก็สามารถกู้เงินจากโครงการนี้ได้ เป็นต้น โดยคาดว่า วงเงินกู้ 100,000 บาท จะมีประชาชนมาขอใช้สินเชื่อมากที่สุด เพราะมีเงื่อนไขที่ผ่อนปรน เช่น หาบเร่แผงลอย ร้านค้าทั่วไปทั้งประเภทบุคคลและนิติบุคคลสามารยื่นเรื่องขอกู้ได้ทั้งหมด โดยตั้งเป้าหมายปล่อยให้แก่ไมโคร เอสเอ็มอีได้ประมาณ 500,000 ราย
นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขว่า จะต้องเข้าร่วมอบรมหรือพัฒนาทักษะปีละครั้ง จาก สสว.หรือหน่วยงานร่วมอื่น ๆ ก็ได้ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีการพัฒนาทางด้านทักษะและความรู้ด้านต่างๆ ด้วย และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องเป็นสมาชิกของภาครัฐและเอกชนอย่างใดอย่างหนึ่งภายใน 1 ปี เช่น เป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) หรือสมาชิกสมาพันธ์เอสเอ็มอีหรือสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ก็ได้
นายวีระพงศ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ สสว.ยังได้หารือกับกระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางจะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยในปีงบประมาณ2562 มีมูลค่าถึง 1.3 ล้านล้านบาท โดยจะมีการกำหนดให้ส่วนราชการต้องซื้อสินค้าจากเอสเอ็มอีในจังหวัดของตนเองก่อนเป็นอันดับแรกในสัดส่วน 30% ของวงเงินจัดซื้อจัดจ้าง หากไม่มีผู้ประกอบการในจังหวัดของตนเอง อนุญาตให้ไปซื้อจากจังหวัดอื่นได้ ซึ่งคาดว่า จะสร้างรายได้แก่ผู้ประ กอบการไม่น้อยกว่า400,000 ล้านบาท คาดว่ามาตรการนี้ จะเริ่มใช้ปีงบประมาณ2563 และยังมีมาตรการเพิ่มแต้มต่อ โดยส่วนราชการจะต้องใช้แต้มต่อกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เสนอราคาสูงกว่า ราคาต่ำสุดได้ 10% เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอสามารถแข่งกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้.
///////////