

- “ชาย เอี่ยมศิริ” นั่งซีอีโอใหม่ ลั่นปี’66 พร้อมลุยสร้างความสำเร็จ 4 เรื่อง
- ดันรายได้โตเพิ่ม 40%-เคลียร์แผนฟื้นฟูกิจการเพิ่มทุนหาสินเชื่อนำการบินไทยออกจากแผนเร็วกว่ากำหนดปี’67
- เคลียร์แผนเพิ่มทุนหาสินเชื่อ-ลุยเช่าฝูงบินใหม่เพิ่มที่นั่งรับท่องเที่ยวโลกโต-รอขายทิ้ง 22 ลำ
นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหนาที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในฐานะคนทำงานอยู่การบินไทยมานานกว่า 38 ปี กระทั่งได้รับคัดเลือกเป็นซีอีโอได้ตั้งทีมทำงานระยะเร่งด่วนเเข้ามาเสริมทัพปี 2566 ตั้งเป้าหมายจะนำความสำเร็จด้วยการ “สร้างความมั่นใจ” ให้กับแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนำการบินไทยก้าวสู่ความยั่งยืนกลับมาผงาดเป็นสายการบินแห่งชาติในตลาดโลกให้ได้อีกครั้ง เพราะอุตสาหกรรมการบินหลังสถานการณ์โควิด-19 แอร์ไลน์สนานาชาติรายอื่น ๆ ยังคงมองการบินไทยเป็นคู่แข่งอยู่ตลอดเวลาด้วยศักยภาพรอบด้าน
เมื่อได้เข้ามารับตำแหน่งซีอีโอคนใหม่อย่างเป็นทางการจะเดินหน้าสร้างความสำเร็จในปี 2566 ให้ปรากฏชัดเจน 4 เรื่องหลัก ประกอบด้วย
เรื่องที่ 1 จะสร้างรายได้การบินไทยติบโตเพิ่มขึ้นอีก 40 % จากปี 2565 ซึ่งทำรายได้ไว้รวมที่ 90,000 ล้านบาท รายได้ตามเป้าหมายใหม่จะมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
ปัจจัยแรก- เพิ่มที่นั่งฝูงบินอีก 17 ลำ จะทำให้มีฝูงบินเบื้องต้น 58 ลำโดยใช้ 3 ช่องทาง คือ 1.ปรับปรุงเครื่องบินเก่าที่มีอยู่ในฝูงนำการปรับปรุงใช้ใหม่เป็นแอร์บัส A330 กับ 777-200ER รวม 8 ลำ 2.เช่าดำเนินการ(ไม่ได้ซื้อ) เครื่องบินแอร์บัสA350 รวม 6 ลำ และ 3.เจรจาเช่าเครื่องลำตัวกว้าง 3 ลำ จะทยอยรับมอบได้สิ้นปี 2566 ตามขั้นตอนการนำเครื่องบินเข้าฝูงโดยทยอยยื่นให้ทางกระทรวงคมนาคมอนุมัติ จากนั้นจึงยื่นจดทะเบียนแล้วนำมาใช้บริการผู้โดยสารต่อไป
ปัจจัยที่ 2- พร้อมกับเพิ่มจำนวนที่นั่งเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน (capicity) ด้วยฝูงบินทั้งหมดตลอดปีนี้ 58 ลำ (ปัจจุบัน 49+กำลังเข้ามาใหม่ 9 ลำ) ควบคู่กับการบริหารจัดการต้นทุนด้วยกาปรับปรุงโครงสร้างบุคลากรซึ่งทำมาตั้งแต่แรกที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการคือลดลดบุคลากรลงครึ่งหนึงจากเดิมกว่า 30,000 คน ปัจจุบันเหลือประมาณ 15,000 คน พร้อมทั้งใช้ศักยภาพทำตลาดการขายตั๋วโดยสารอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ปัจจัยที่ 3- ขยายเครือข่ายเส้นทางบินในต่างประเทศ ทั้งระยะใกล้(shorthaul) และบินไกลข้ามทวีป(Intercontinental) ตั้งเป้าเพิ่มอัตราการบบรทุกผู้โดยสารเฉลี่ย(Cabin factor) เกิน 80%
ตามที่ นายกรกฏ ชาตะสิงห์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บมจ.การบินไทย กล่าวว่า ปี 2565 การบินไทยทำอัตราการบรรทุกผู้โดยสารรวมได้สูงถึง 85% หลังจากไทยและทั่วโลกเปิดประเทศเริ่มกรกฎาคม 2566 เที่ยวบินจากทางยุโรป ออสเตรเลีย ดีมาก ปี 2566 ความต้องการเดินทางหรือดีมานต์หดตัวเล็กน้อย ทำให้อัตราพักเฉลี่ยไม่น้อยกว่า80 %
ซึ่งปัจจุบันการบินไทยมีส่วนแบ่งผู้โดยสารจากในเที่ยวบิน 1.ตลาดยุโรป 40 % 2.ตลาด เอเชียเหนือ 30-35 % กรณีสาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดประเทศ การบินไทยเร่งเปิดบินแล้ว 5 เมืองหลัก ด้วยจำนวนเที่ยวบินในแต่ละสัปดาห์ ด้แก่ ปักกิ่ง 3 เที่ยว เซี่ยงไฮ้ 4 เที่ยว กวางโจว คุนหมิง เฉินตู จากเดิมเคยบินรวม 8 เมือง แต่ตอนนี้จะบิน 5 เมือง เน้นเพิ่มความถี่เป็นหลัก ก็จะเท่ากับยุโรป ภายในต้นเดือนมีนาคม 2566 จะเพิ่มึวามถี่เที่ยวบินเข้าสู่จีน เป็น สัปดาห์ละ45 เที่ยวขึ้นไป เช่นเดียวกับการทยอยเพิ่มความถี่เที่ยวบินญี่ปุ่น
และ 3.เอเชียใต้ การบินไทยมีส่วนแบ่งผู้โดยสาร 10% ในเส้นทาง อินเดีย บังกลาเทศ กับตะวันออกกลาง ที่จะเป็นพื้นที่เชื่อมเครือข่ายเส้นทางบินต่อไปยังจุดบินอื่น ๆ
เรื่องที่ 2 จะนำการบินไทยทำผลการดำเนินงานดีกว่าในแผนฟื้นฟูกิจการเดิมเคยระบุปี 2565 จะติดลบหรือขาดทุนประมาณ 6,500 ล้านบาท แต่ผลการดำเนินงานที่จะประกาศภายในปลายเดือนกุมภาพันธ์ นี้ เป็นตัวเลขที่ดีกว่าในแผนอย่างแน่นอน เป็นรายได้จากการบินโดยตรง (Aero) 90% และกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบิน (Non Aero) อีกประมาณ 10% ( ประมาณปีละ 10,000 ล้านบาท) จากครัวการบิน บีการขนสัมภาระกระเป๋าผู้โดยสารสนามบิน โดยไม่รวมบริการขนส่งสินค้าทางอากาศ (cargo)
ผลจากการหารือร่วมกับหลายฝ่ายแนวโน้มในอุตสาหกรรมการบินโลก ทางฝั่งดีมานต์หรือผู้โดยสาร เติบโตโดยไม่ทีปัญหา แต่ฝั่งซัพพลายหรือการเพิ่มฝูงบินของสายการบินต่าง ๆกำลังเผชิญปัญหาเพราะเครื่องบินในตลาดมีจำนวน้อย รวมทั้งต้นราคาน้ำมันเครื่องบินสูง ราคาขายตั๋วเครื่องบินจึงต้องขยับสูงตามต้นทุนจริงในแต่ละเส้นทางบิน
เรื่องที่ 3 จะนำการบินไทยออกจากแผนฟื้นฟูกิจการให้ได้เร็วกว่ากำหนด อาจจะขยับจากเดิมระบุจะออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้ในปลายปี 2567 แล้วจากนั้นต้นปี 2568 จะนำการบินไทยกลับเข้าไปเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใหม่อีกครั้ง ตามเงื่อนไขอย่างถูกต้อง โดยสามารถทำกำไรให้ได้เล็กน้อย ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก

โดยได้เดินหน้าทำตามแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทยตอนนี้ดำเนินการได้เข้าเป้าหมาย 70-80 % แผนการขายหุ้น PO กับการแปลงหนี้เป็นทุน (Hair cut) มีดังนี้
1.ต้องรอทางกระทรวงการคลังตัดสินใจในฐานะผู้ถือหุ้นเดิมถึงแนวทางเรื่องราคาที่ evaluation ขณะนี้ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน เมื่อเพิ่มทุนเสร็จเรียบร้อยแล้วกระทรวงการคลังจะถือหุ้นโดยตรงรวมทั้งหมด 33% + กับมีหน่วยงานรัฐอื่นถือร่วมด้วย 10 %
2.การแปลงหนี้เป็นทุน (hair cut) รวม 24.5% ในราคาขายมูลค่า 2.54 บาท/หุ้น ส่วนหุ้นที่เหลือจะใช้สิทธิซื้อได้มากกว่านั้นก็ได้ ตัวอย่าง หากยังมีเหลืออยู่ 5,000 ล้านบาท ก็สามารถใช้สิทธิ์ตามาสัดส่วนที่ถืออยู่ ซึ่งทางผู้บริหารการบินไทยเข้าใจเป็นอย่างดีในหลักการดำเนินธุรกิจหากการแปลงหนี้เร็ว เจ้าหนี้ก็เสียประโยชน์ เพราะไม่ได้ดอกเบี้ย
3.การหาสินเชื่อใหม่เข้ามาเพิ่ม มี 2วิธี คือ นำหลักทรัพย์ไปค้ำประกันกับการใช้เครดิตไลน์ กับทางสถาบันการเงิน(OD) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีกว่าแบบแรกเพราะหากไม่นำเงินมาใช้ก็จะไม่เสียดอกเบี้ย
ตามไทม์ไลน์ การบินไทยเคยกำหนดจะต้องหาสินเชื่อใหม่รวม 25,000 ล้านบาท แยกเป็น 1.เงินสดจากพันธมิตรเป็นสินเชื่อใหม่หรือ Term loan 13,000 ล้านบาท ซึ่งวันนี้ไม่ต้องการเงินสดมากนัก 2.เครดิตไลน์ 12,000 ล้านบาท
อีกทั้งตอนนี้การบินไทยมีปัจจัยสนับสนุนเชิงบวก ประกอบด้วย 1.ยังสภาพคล่องเงินสดอยู่ในมือกว่า 30,000 ล้านบาท จากเดิมปี 2564 มีเพียง 6,000 ล้านบาทเท่านั้น 2.ยังทรัพย์สินในประเทศมูลค่ารวมกว่า 12,000 ล้านบาท คือสำนักงานใหญ่การบินไทยถนนวิภาวดี และที่ดินอาคารครัวการบินสนามบินดอนเมือง กับสำนักงานขายในต่างจังหวัดที่ภาคเหนือ 2 แห่ง คือ เชียงใหม่ พิษณุโลก ส่วน “ต่างประเทศ” ยังมีสินทรัพย์เหลืออยู่ใน ลอนดอน จาร์กาต้า(อินโดนีเซีย) ปีนัง (มาเลเซีย) ฮ่องกง
เรื่องที่ 4 แผนการจัดหาฝูงบิน จะเดินหน้าทำคู่ขนานกัน 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 จัดหาฝูงบินระยะยาว 3-5 ปีหน้า ระหว่าง 2568-2570 โดยใช้กระบวนการ “เช่าซื้อ” จะได้ราคาถูกกว่า แต่กรณีที่บริษัทมีผลการดำเนินงานที่ดี แต่ถ้าบริษัทยังต้องระวังการใช้จ่ายก็จะใช้วิธีเช่าดำเนินการเพื่อให้ได้เครื่องเจนเนอเรชั่นที่สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาด
ส่วนที่ 2 เสนอขายฝูงบินที่ไม่สามารถใช้งานได้ เบื้องต้นมี 22 ลำ เช่น แอร์บัส A380 (อายุใช้งาน10-12ปี) 6 ลำ กับแอร์บัส A340 (อายุใข้งาน 17ปี) 4 ลำ และ โบอิ้งB777-200/300 (อายุใช้งาน 20 ปี) รวมกัน 12 ลำ ปัจตุบันBOOK VALUE ของรุ่นนี้แทบไม่เหลือแล้วต้องขายตามราคาจริงในตลาด ณ ขณะทำการขายจริง
เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza, www.facebook.com/penroongyaisamsaen