

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (28 มิ.ย.) กลุ่มแคร์ (CARE) ที่เป็นรวมตัวกันของ นายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย จับมือกับ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล, นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช และ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เพื่อเป็นกลุ่มการเมืองใหม่ ได้ออกแถลงการณ์ของกลุ่มอย่างเป็นทางการ ว่าด้วยข้อเสนอ “ทางรอด” เพื่อให้คนไทยจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก้าวข้ามมหาวิกฤติครั้งนี้ โดยมีเนื้อหาระบุดังนี้
ประเทศไทยปราศจากผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 ในประเทศมา 34 วันแล้ว แต่ความเสียหายทางเศรษฐกิจยังคงเพิ่มพูนขึ้นทุกวัน เพราะธุรกิจต่างๆ ยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้ปกติเหมือนเดิม ต้องเผชิญกับภาวะที่ยอดขาย ลดลงอย่างมาก หรือยังไม่มีรายได้เลย ในขณะที่ต้นทุนการดำเนินกิจการเพิ่มขึ้น ตามเงื่อนไขระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และมาตรการป้องกันอื่นๆ ที่ได้ถูกกำหนดขึ้นมาใหม่
มาตรการเยียวยาของภาครัฐ มีข้อจำกัดทั้งในเชิงของความทั่วถึง และระยะเวลาที่สั้นอย่างมาก เช่น การเยียวยาผู้ว่างงาน 15 ล้านคน และเกษตรกร 10 ล้านคน ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อเดือน เพียง 3 เดือน ในขณะที่ประเมินกันว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกให้กลับมาสู่ภาวะปกตินั้นต้องใช้เวลาอีกอย่สงน้อย 3 ปี
ทั้งนี้ที่น่ากังวลอย่างยิ่งคือผู้ได้รับผลกระทบมีจำนวนมาก เห็นได้จากลูกหนีสถาบันการเงิน ท่ีขอความช่วยเหลือ จากมาตรการผ่อนปรนการจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นซึ่งมีมากถึง 16.3 ล้านราย โดยมีมูลหนี้สู้ถึง 6.84 ล้านล้านบาท หรือมากกว่า 1 ใน 3 ของสินเช่ือทั้งหมดในระบบ ในส่วนนี้มีธุรกิจท่ีขอผ่อนปรนหนี้มากถึง 1.148 ล้านราย โดยมีมูลหนี้ทั้งสิ้นประมาณ 2.98 ล้านล้านบาท และมีหนี้บุคคลอีก 15.22 ล้านคน มูลหนี้ 3.87 ล้านล้านบาท
โดยหนี้ 6.84 ล้านล้านบาทดังกล่าว ได้รับการผ่อนปรนเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เริ่มต้นจากเดือนเมษายน 2563 และแม้ว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 (ประมาณ 15.2 ล้านคน) โดยให้สถาบันการเงินมี มาตรการผ่อนปรนต่อไปถึง 31 ธันวาคม 2563 แต่ก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุพราะ SME กว่า 1 ล้านราย ที่เป็นผู้จ้างงานและผลิตสินค้าและบริการก็ยังอยู่ในสภาวะที่ยังคับขับมากขึ้นทุกวัน
กลุ่มแคร์เห็นว่า ประชาชนกว่าสิบล้านคนและธุรกิจกว่าล้านรายคาดหวังว่า เขาจะสามารถกลับมาทำงานได้ เหมือนเดิมภายในเร็ววัน และธุรกิจนับล้านรายเหล่านั้น หวังว่าจะสามารถสร้างยอดขายได้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนการระบาดของโรค COVID-19 โดยเร็ว เพราะ “สายป่าน” ที่สะสมเอาไว้ได้ใช้ไปจนหมดแล้ว แต่อนาคตกลับยังดูมึดมนอย่างยิ่งเพราะการเปิดเศรษฐกิจกระทำอย่างกระท่อนกระแท่น ประชาชนไม่มั่นใจในการใช้ชีวิตตามปกติ แม้แต่การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ซึ่งหมายถึงประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน การรบหรือการสงคราม) ก็ยัวคงอยู่
และที่สพคัญ คือการท่องเที่ยวจากต่างประเทศก็ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเริ่มต้นเมื่อใดหากมองในทิศทางบวกมากท่ีสุดตามท่ีรัฐบาลเคยแถลงไว้ว่า รัฐบาลจะอนุญาตให้นักธุรกิจจากต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 1,000 คนต่อวัน ซึ่งหากเร่ิมตั้งแตววันที่ 1 ตุลาาคม 2563 เป็นต้นไป ก็หมายความว่า 1 ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยไม่ถึง 100,000 คน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ ภาวะปกติที่ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยถึง 10 ล้านคนเราจะสญูเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติถึง 170,000 ล้านบาทต่อเดือน
ภายใต้สภาวการณ์ดังกล่าว จึงมีการคาดการณ์โดยภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องว่า คนไทยอาจตกงานได้มากถึง 5-7 ล้านคน นอกจากนั้นนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษาจะว่างงานอีก 400,000 คน มีข่าวต่อเนื่องว่า บางธุรกิจปิดโรงงาน และย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทย และบางธุรกิจ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์จะปลดคนงานเพราะยอดขาย รถยนต์ตกต่ำ อีกทั้งยังต้องปรับตัวกับแนวโน้มใหม่ของอุตสาหกรรมที่หันมาผลิตรถไฟฟ้ามากขึ้น ทำให้เร่งทดแทน แรงงานคนโดยการใช้หุ่นยนต์แทน ซึ่งทำให้พนกังานโดยเฉพาะวัยกลางคนเสี่ยงตกงานอีกนับหมื่นคน
ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 นั้น มีคนไทยตกงานประมาณ 1.4 ล้านคน ดังนั้นมหาวิกฤตเศรษฐกิจรอบนี้จึงมีแนวโน้มรุนแรงมากกว่า 4 เท่าตัว ในปี 2540 เราเห็นการล่มสลายของสถาบนัการเงินและภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ความรุนแรงอยู่ในวงนวงจำกัด และกระทบคนรวยเป็นส่วนสำคัญ จึงมีวลี “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” แตครั้งนี้ชนชั้นกลางและคนยากจนหลายสิบล้านคนตลอดจนธุรกิจ SME เป็นล้านราย มีความเสี่ยงท่ีจะถูกฟ้องล้มละลาย เพราะจ่ายหนี้สินคืนธนาคารไม่ได้
ความเดือดร้อนของประชาชนและธุรกจิจะปรากฏให้เห็นอย่างกว้างขวางตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ มาตรการของรัฐไม่เพียงพอและขาดเอกภาพ 1. มาตรการเยียวยาประชาชน 25 ล้านคน โดยจ่ายเงินชดเชยเดือนละ 5,000 บาท ใกล้สิ้นสุดลงแล้วโดยคนไทย กลุ่มนี้ยังไม่สามารถบอกตัวเองได้ว่า อนาคตของตนจะเป็นอย่างไร
2. มาตรการสินเชื่อผ่อนปรนช่วยเหลือ SME ที่เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินวงเงิน 500,000 ล้านบาท ปัจจุบันกู้ผ่านเพียง 82,701 ล้านบาทหรือเพียง 16.5% ของวงเงิน โดยมี SME ที่ได้รับการช่วยเหลือเพียง 51,991 ราย จากจำนวนSME ซึ่งเป็นลูกกนี้ของสถาบันการเงินที่มีปัญหากว่า 1.1 ล้านราย นอกจากนั้นยังมีธุรกิจ หรือ SME ซึ่งไม่ได้เป็นลูกค้าของสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบ แต่ไม่สามารถขอรับความช่วยเหลือ อีกจำนวนมาก
3. โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท ของรัฐบาลกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติโดยมีการเสนอ โครงการมากถึง 46,411 โครงการ มลูค่า 1.448 ล้านล้านบาท แต่โครงการที่เสนอเข้ามานั้นไม่มีความชดัเจนว่าจะสามารถนำพาประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศไปในทิศทางที่ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี และเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืนในระยะยาว เพราะเป็นโครงการที่ไม่มียุทธศาสตร์ และขาดเอกภาพทางความคิด เนื่องจากเป็น การนำเสนอโครงการจากหน่วยงานต่างๆของรัฐ ด้วยความเร่งรีบดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าจะเป็นมาตรการท่ีไร้พลัง ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน และเป็นการ “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ”
รัฐมีหน้าที่ช่วยให้ประชาชนและธุรกจิก้าวข้ามวิกฤติเศรษฐกจิหลัง COVID-19 แคร์ยืนยันแน่วแน่ว่า เป็นหน้าท่ีของรัฐบาลท่ีต้องช่วยให้ประชาชนและธุรกิจสามารถก้าวข้ามวิกฤติเศรษฐกิจหลัง COVID-19 ไปให้ได้ โดยไม่ทอดทิ้งใครเปรียบเสมือนกับการสร้างสะพานเพท่อให้คนไทยทุกคน สามารถก้าวข้ามทั้งเหวสุขภาพที่เพิ่งผ่านพ้นมา และเหวเศรษฐกิจที่อันตรายกว่ามาก
แนวทางหลักคือ การสนับสนุนจากภาครัฐที่ต้องให้เวลาอย่างเพียงพอกับประชาชนและธุรกิจประมาณ 4 ปี เพท่อฟื้นฟูและปรับตัวเพื่อเข้าสู่ภาวะ New Normal หลังจากวิกฤติ COVID-19 ผ่านพ้นไปแล้ว และพลิกสถานการณ์จากปัจจุบันที่ประชาชนกำลังไร้ความหวัง และเศรษฐกจิไทยกำลังรอวันตาย
ข้อเสนอของแคร์
แคร์ขอเสนอให้รัฐบาลสนับสนุน “สินเช่ือผ่อนปรนวงเงิน 2 ล้านล้านบาท คิดดอกเบี้ย 2% ต่อปี
ปลอดการชำระเงินต้นเป็นเวลา 4 ปี” (โดยธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยก้ผู่านธนาคารพาณิชย์ที่ดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี) และรัฐบาลรับความเสี่ยงของความเสียหายจากการปล่อยกู้ดังกล่าวเกือบทั้งหมด (ซึ่งแตกต่างจากสินเชื่อ 500,000 ล้านบาท ในปัจจุบันที่เมื่อประเมินในรายละเอียดแล้ว รัฐบาลจะรับใช้ความเสียหายให้เพียงประมาณ 30%) โดยขยายขอบเขตให้ SME ที่ไม่ใช่ลูกหนี้สถาบันการเงินได้รับการสนับสนุนสินเชื่อดังกล่าวด้วย
หากมีความเสียหายจากการปล่อยกู้รัฐบาลสามารถออกเป็นพันธบัตรให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ซื้อท่ีดอกเบี้ย0.01% ต่อปี ระยะเวลาใช้คืน 100 ปี เพื่อชดใช้ความเสียหายท่ีอาจเกิดขึ้นจากหนี้เสียให้กับสถาบันการเงินในอนาคต
มาตรการ “อัดฉีด SME 2 ล้านล้าน ลดดอก ปลอดต้น 4 ปี ” จะช่วยให้ SME นับล้านรายสามารถ กลับมาดำเนินธุรกิจและยังจ้างพนักงานกว่า 10 ล้านคนต่อไปได้ ช่วยให้ประชาชนกว่า 10 ล้านคน ไม่ต้องพักชำระหนี้ และเปิดโอกาสให้SME มีเวลาเพียงพอที่จะวางแผนปรับตัว ปรับต้นทุน เพิ่มการลงทุน หรือแม้กระทั่งปรับเปลี่ยนธุรกิจไปทพธุรกิจประเภทอื่นๆ ก็ได้
วิกฤติสุขภาพและวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ เป็นวิกฤติทั่วโลก ทำให้กำลังซื้อทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ ถดถอยลงอย่างมาก (ประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกสินค้าและบริการมากถึง 68% ของจีดีพี) ดังนั้นเมื่อเทียบกับภาวะ ปกติที่มีNPL ประมาณ 3-4% จึงมีความเป็นไปได้ว่า NPL จะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว
แต่การให้เวลาท่ีเพียงพอกับธุรกิจในการปรับตัวและหลีกเลี่ยงการปลดพนักงาน และการรอให้ สถานการณ์ท่ัวโลกคลี่คลายไปในทิศทางท่ีดี เช่น การค้นพบวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ย่อมจะช่วยลดความเสียหายดังกล่าว ต่างจากการดำเนินนโยบายแบบ “ค่อยเป็นค่อยไป” ในปัจจุบันซึ่งจะไม่สามารถยับยั้งความเสียหายทางเศรษฐกิจที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกวันได้เลย
แคร์คิดเคลื่อนไทย 28 มิถุนายน 2563