สื่อปลาดิบเกาะติด แบนเกาหลี คนไทย หันไปเที่ยวจีน-ญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น

สื่อญี่ปุ่นเกาะติด แบนเกาหลี
สื่อญี่ปุ่นเกาะติด แบนเกาหลี


กระแส แบนเกาหลี ของนักท่องเที่ยวไทย ยังเดินหน้าร่วมแคมเปญกัน อย่างต่อเนื่อง ในโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ ส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว จีน และ ญี่ปุ่น

สื่อญี่ปุ่น ได้รายงาน ถีงแคมเปญนี้ด้วยว่า นักท่องเที่ยวไทย ได้เข้าร่วม แคมเปญคว่ำบาตร เกาหลีใต้ที่ กำลังแพร่กระจายในโซเชียลมีเดีย โดยแสดงความสนใจ ในการเดินทางไปญี่ปุ่น และ จีนมากขึ้น แทนที่ จะไปท่องเที่ยว เยือนเกาหลีใต้

ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่ง มาจากการตรวจคนเข้าเมือง ที่เข้มงวดขึ้น ของเกาหลีใต้ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ กับนักท่องเที่ยวชาวไทย

จากต้นตอของปัญหา แม้นักท่องเที่ยวชาวไทย จะได้รับการอนุมัติ การขอวีซ่าล่วงหน้าออนไลน์ ผ่านระบบ K-ETA แล้วก็ตาม แต่พอเดินทางไปถึงเกาหลีใต้กลับถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองปฏิเสธไม่ไห้เข้าประเทศ

ส่งผลให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าเครื่องบิน ค่าโรงแรมที่จองไว้ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการจองล่วงหน้า รวมไปถึงการเสียเวลาการเดินทาง

ทางเกาหลีใต้ ให้เหตุผลว่า มาตรการนี้จำเป็นเพื่อจัดการ กับปัญหา จำนวนแรงงานไทย ที่เข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ K-ETA ซึ่งเป็นระบบอนุญาติ การเดินทางออนไลน์ ที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่า สามารถใช้เพื่อเข้าประเทศเกหลีใต้ เพื่อการท่องเที่ยว ไปเยี่ยมญาติ ร่วมงาน หรือประชุม เป็นต้น

Eve Khokesuwan (อีฟ โคกสุวรรณ) แม่บ้านจากจังหวัดกาฬสินธุ์ วัน 42 ปี กล่าวกับสื่อญี่ปุ่น ว่า “ฉันไม่อยากไปเกาหลีอีกแล้ว เพราะการเดินทางครั้งนั้นเครียดที่สุดในชีวิต”

แฮชแท็ก “แบนเกาหลี” เริ่มแพร่กระจาย บนโซเชียลมีเดีย ตั้งแต่ ไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ซึ่งเน้นถึง ปัญหาการถูกปฏิเสธเข้าประเทศ และ ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถเรียกคืนได้

จากข้อมูลขององค์การการท่องเที่ยวเกาหลีใต้ ระบุว่า จำนวนคนไทย ที่เดินทางไปเยือนเกาหลีใต้ ในช่วงสี่เดือนแรกของปีนี้ ลดลงถึง 21% เหลือเพียง 119,000 คน
ซึ่งในปี 2019 ที่ผ่านมา ก่อนเกิดโควิด -19 นักท่องเที่ยวชาวไทย มีจำนวน ตัวเลข สูงถึง 572,000 คน ที่เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ของเกาหลีใต้


นายยุทธชัย สุนทรรัตนเวช อุปนายก สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (TTAA) กล่าวว่า เขาได้ยินการแบนเกาหลีใต้ เมื่อหลายเดือนก่อน แต่นี่เป็นครั้งแรก ที่เห็นผลกระทบจากตัวเลขที่เกิดขึ้น

นักท่องเที่ยวไทยที่เดินทาง ไปเกาหลีใต้ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่ได้เกิดจากแคมเปญแบนเกาหลี เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นผลมาจากสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย และ ประสบการณ์ที่น่าสนใจในจีน และ ญี่ปุ่น ซึ่งมีการเดินทางที่สะดวกและค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าด้วย

จีน และ ญี่ปุ่นมีเสน่ห์มากขึ้น สำหรับนักท่องเที่ยวไทย เพราะสามารถเดินทางเข้าได้ โดยไม่ต้องขอวีซ่า และ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และ วัฒนธรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจ

TTAA คาดการณ์ว่า ปีนี้จะมีคนไทยเดินทางไปจีนถึง 1.2 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 693,818 คนในปี 2019 นอกจากนี้ การเดินทางไปญี่ปุ่นยังมีความคุ้มค่า และ น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง

ส่วนการเดินทางไปจีนมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าไปเกาหลี อาทิ ทัวร์จีน จำนวน 4 วัน ราคาประมาณ 22,000 บาท แต่เที่ยวเกาหลีใต้ ในรูปแบบเดียวกัน กลับ มีค่าใช้จ่ายถึง 30,000 บาท

ก่อนเกิดโควิด-19 ทางการเกาหลีใต้ เริ่มอนุญาตให้พลเมืองไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถพำนักในประเทศได้นานถึง 90 วัน หากได้รับการอนุมัติล่วงหน้าผ่านระบบ K-ETA

อย่างไรก็ตาม การอนุมัติล่วงหน้านี้ ส่งผลให้คนไทยบางกลุ่มเดินทางไปเกาหลีใต้เพื่อหางานทำ และ พำนักอยู่นานเกินกว่า 90 วัน โดยได้รับรายได้สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยถึงสามถึงสี่เท่า

รัฐบาลเกาหลีใต้ระบุว่าการทำงานผิดกฎหมายเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม และ มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมอาชญากรรม ทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองต้องเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบนักท่องเที่ยวไทยที่ถือวีซ่า K-ETA

ข้อมูลจากรัฐบาลเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2023 ชี้ว่ามีคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศอย่างผิดกฎหมายถึง 157,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นสามเท่าจากปี 2015 โดยตั้งแต่ปี 2016 คนไทยเป็นกลุ่มชาวต่างชาติที่พำนักในเกาหลีใต้อย่างผิดกฎหมายมากที่สุด

ขณะที่ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเกาหลีใต้ยังคงไม่เห็นผลกระทบที่ชัดเจนจากการแบนเกาหลี

“เราไม่ได้รับข้อมูลมากนักเกี่ยวกับการลดลงของนักท่องเที่ยวไทย” ผู้จัดการสมาคมบริษัทท่องเที่ยวเกาหลีกล่าว

แต่ทางเกาหลีใต้ ก็ได้เริ่มดำเนินการเชิงรุก ด้วยการประกาศวีซ่าใหม่ที่เรียกว่า วีซ่า  “Hallyu”  เพื่อดึงดูดผู้ที่ชื่นชอบวัฒนธรรมป๊อปเกาหลีให้กลับมาเยือนประเทศอีกครั้ง และ อยู่ในประเทศได้นานถึงสองปี

https://asia.nikkei.com/Business/Travel-Leisure/Ban-Korea-movement-drives-Thai-tourists-to-China-Japan

https://inmykorea.com/what-is-the-k-eta

https://thejournalistclub.com/south-korea-more-chinese-visitors-thai-tourists-stay-away/