ธุรกิจรับจัดงานแต่งงาน เฟื่องฟู รับ กฎหมายสมรสเท่าเทียม

ธุรกิจรับจัดงานแต่งงาน กฎหมายสมรสเท่าเทียม

ผ้าสีรุ้งปลิวไสวไปทั่ว LGBTQIA+ โบกสะบัดความเท่าเทียมทางเพศทั่วไทยทันทีที่ สภาสูง หรือที่ประชุมวุฒิสภา ผ่าน กฎหมายสมรสเท่าเทียม ธุรกิจรับจัดงานแต่งงาน เตรียมรับทรัพย์

LGBTQIA+ ทั่วไทยเฮลั่น กฎหมายสมรสเท่าเทียม ผ่าน

ขั้นตอนต่อไปจะส่งพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ไปให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งกฎหมายสมรสเท่าเทียม จะมีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน

สาเหตุที่ต้องให้เวลา 120 วัน จึงมีผลบังคับใช้ ก็เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ เตรียมการ ปรับระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับนี้ เช่นกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจดทะเบียนสมรส เป็นต้น

สาเหตุที่ต้องมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ก่อนอื่นต้องยอมรับก่อนว่า ในยุคปัจจุบัน สังคมโลกยอมรับความแตกต่างของมนุษย์ ทั้งลักษณะทางกายภาพ รสนิยม และเพศ ไม่ได้จำกัดมีเฉพาะเพศชาย และเพศหญิง เท่านั้น แต่ยังมีความแตกต่างออกไป และยอมรับเพศที่แตกต่างอย่างเท่าเทียม ว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ที่จะเลือกเพศเองได้ หากจิตใจพร้อมที่จะอยู่ในภาวะเพศสภาพแบบใด และทางการแพทย์ก็ยอมรับเรื่องนี้

ธุรกิจรับจัดงานแต่ง กฎหมายสมรสเท่าเทียม
กลุ่มLGBTQ+ เฉลิมฉลอง

ทำความรู้จัก LGBTQIA+

ก่อนอื่นมาทบทวน คำว่า LGBTQIA+ ก่อนว่าคืออะไร และแต่ละตัวอักษรย่อมาจากอะไร บางท่านอาจได้ยินบ่อยๆ แต่อาจจะยังไม่แน่ใจนักว่าคืออะไรกันแน่

LGBTQIA+ คือ กลุ่มบุคคล ที่มีความหลากหลายทางเพศ

 L ย่อมาจาก Lesbian คือ ผู้หญิงที่ชอบผู้หญิง  

G ย่อมาจาก Gay คือ ผู้ชายที่ชอบผู้ชาย

B ย่อมาจาก Bisexual คือ กลุ่มที่รักได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง

T ย่อมาจาก Transgender คือ กลุ่มคนข้ามเพศ จากเพศชายเป็นเพศหญิง หรือเพศหญิงเป็นเพศชาย 

Q ย่อมาจาก Queer คือ กลุ่มคนที่พึงพอใจ ต่อเพศใดเพศหนึ่ง โดยไม่ได้จำกัด ในเรื่องเพศ และความรัก

I ย่อมาจาก Intersex คือ ผู้ที่เกิดมาพร้อมคุณสมบัติทางกายภาพ ของฮอร์โมนหรือพันธุกรรม มีอวัยวะทั้งเพศชายและเพศหญิงรวมกัน หรือที่เรียกเป็นภาษาไทยว่า เพศกำกวม

A ย่อมาจาก Asexual คือ กลุ่มคนที่ไม่ให้ความสำคัญเรื่องเพศ หรือไม่รู้สึกโรแมนติก

+ ย่อมาจาก plus คือ ความหลากหลายที่อาจจะมีนอกเหนือจากกลุ่มข้างต้น

กฎหมายสมรสเท่าเทียม ส่งผลดี ต่อ LGBTQIA+ อย่างไร

ที่ผ่านมามี “คู่ชีวิต” ที่อยู่ด้วยกันมา แต่ไม่เข้านิยามของการเป็นสามีและภรรยาที่ระบุในกฎหมาย ที่หมายถึงและยอมรับเฉพาะ เพศหญิง กับเพศชาย ในฐานะ “คู่สมรส” เท่านั้น

แต่ในความเป็นจริง ยังมี “คู่ชีวิต” ที่เป็นเพศอื่น เช่น ผู้ชายใช้ชีวิตร่วมกับคู่รักที่เป็นผู้ชาย หรือ ผู้หญิงที่ใช้ชีวิตร่วมกับคู่รักที่เป็นผู้หญิงด้วยกัน แต่กลับไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายเหมือนคู่สามีภรรยา เช่น สิทธิในมรดก สิทธิในการรับบุตรบุญธรรม สิทธิของการรักษาพยาบาล ของคู่สมรส สำหรับข้าราชการ หรือสิทธิในระบบประกันสังคม เป็นต้น

ธุรกิจรับจัดงานแต่งงาน กฎหมายสมรสเท่าเทียม

กฎหมายสมรสเท่าเทียม ให้สิทธิ์ LGBTQIA+ 5 ประเด็นสำคัญ

  • สิทธิในการหมั้น แต่งงาน และหย่าร้าง คู่สมรสจะได้รับสิทธิตามกฎหมาย ในการหมั้น หรือแต่งงาน ซึ่งสามารถ จดทะเบียนสมรส ในไทย และใช้สิทธิ คู่สมรสได้อย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับคู่สมรสชายหญิง รวมถึงการหย่าร้าง ทั้งโดยสมัครใจหรือ ฟ้องหย่า ก็มีสิทธิ ได้รับความคุ้มครอง เช่นกัน
  • สิทธิในการเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรม คู่สมรสสามารถรับบุตรบุญธรรม ของคู่สมรสอีกฝ่ายเป็นบุตรบุญธรรมของตนได้ ต่างจากเดิมที่กลุ่ม LGBTQIA+ จะสามารถเป็นผู้ปกครอง บุตรบุญธรรม ได้เพียงคนเดียว
  • สิทธิในการดูแลชีวิตของคู่สมรสตามกฎหมาย คู่สมรสมีสิทธิในการลงนาม ยินยอมให้รักษาพยาบาล อีกฝ่ายได้ในฐานะคู่สมรส และเป็นผู้ตัดสินใจแทน เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีสิทธิรับประโยชน์และสวัสดิการ จากรัฐในฐานะ คู่สมรส และสิทธิผู้รับประโยชน์ทดแทนตามสิทธิ์ประกันสังคม
  • สิทธิในการรับมรดกจากคู่สมรส คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้อง คู่สมรสจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีมรดก และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต โดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ คู่สมรสจะถือเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิตได้ตามกฎหมาย
  • สิทธิในการจัดการทรัพย์สินหรือสินสมรสร่วมกัน คู่สมรสจะมีสิทธิในการบริหารจัดการ สินสมรสร่วมกันตามกฎหมาย รวมถึงการถือครองอสังหาริมทรัพย์
สมรสเท่าเทียม จัดงานแต่ง

กฎหมายสมรสเท่าเทียมในต่างประเทศ

ประเทศแรก ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม คือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่อนุญาตให้บุคคลเพศเดียวกัน มีสิทธิ์สมรสกันได้  รวมถึง การหย่าร้าง และรับบุตรบุญธรรมในปี 2544

ประเทศที่ 2 คือ ประเทศเบลเยี่ยม ที่ประกาศใช้กฎหมายเพศเดียวกันสมรสกันได้ ในปี 2547

ตามมาด้วยประเทศ สเปน, แคนาดา, แอฟริกาใต้, นอร์เวย์, สวีเดน, โปรตุเกส, ไอซ์แลนด์, อาร์เจนตินา, เดนมาร์ก, อุรุกวัย, นิวซีแลนด์, ฝรั่งเศส, บราซิล, สหราชอาณาจักร, ลักเซมเบิร์ก, สหรัฐอเมริกา,ไอร์แลนด์, โคลอมเบีย, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ออสเตรเลีย, ไต้หวัน, ออสเตรีย, เอกวาดอร์, คอสตาริกา, สวิตเซอร์แลนด์, ชิลี, สโลวีเนีย, เม็กซิโก, คิวบา, อันดอร์รา, เอสโตเนีย, กรีซ, เนปาล และ ประเทศไทย

ซึ่งประเทศไทย ถือเป็นชาติแรก ของอาเซียนที่มีร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม  และเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชีย ต่อจากไต้หวัน และ เนปาล คาดว่าจะมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ออกมาอีกหลายประเทศ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์

LGBTQIA+ กลุ่มกำลังซื้อสูงของโลก 4.7 ล้านล้านเหรียญ

ข้อมูลจาก LGBT Capital ระบุว่า โดยทั่วไปประชากร LGBTQIA+ อยู่ที่ประมาณ 5-10% ของประชากรทั้งหมด และกลุ่มผู้บริโภค LGBTQIA+ ได้รับการยอมรับมากขึ้น และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

LGBT Capital ระบุว่า อำนาจการใช้จ่าย โดยรวมทั่วโลกของฐานผู้บริโภค LGBTQIA+ จะอยู่ที่ประมาณ 4.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือประมาณ 172 ล้านล้านบาท จากชาว LGBTQIA+ ที่นับตั้งแต่ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีประมาณ 388 ล้านคนทั่วโลก

สำหรับประเทศไทย คาดว่ามีชาว LGBTQIA+  ประมาณ 3.7 ล้านคน  มีอำนาจการใช้จ่ายอยู่ที่ 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 954,980 ล้านบาทต่อปี

จัดงานแต่ง จดทะเบียนสมรส

กฎหมายสมรสเท่าเทียม หนุน ธุรกิจรับจัดงานแต่งงาน

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า กฎหมายสมรสเท่าเทียม นอกจากจะช่วย ยกระดับด้านความเท่าเทียมทางเพศ ของคนไทยแล้ว ยังจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจอีกด้วย โดยเฉพาะธุรกิจบริการในหลากหลายสาขา

ข้อมูลจากการศึกษา ของสถาบันด้านการวิจัย The William Institute ในสหรัฐอเมริกา พบว่า  หลังจากที่สหรัฐฯ บังคับใช้ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ทั่วประเทศ ในช่วงปี 2558-2562 สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้ถึง 3,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 139,574 ล้านบาท (เทียบอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1เหรียญสหรัฐต่อ 36.73 บาท) ช่วยสร้างการจ้างงาน ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้น  45,000 ราย

บรรยากาศในประเทศไทย ก็คงไม่แตกต่าง กันมากนัก คงมีคู่รัก LGBTQIA+ ที่รอวัน กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้ เตรียมจัดงานแต่งแบบจัดเต็ม จดทะเบียนสมรส ท่องเที่ยวฮันนีมูน เฉลิมฉลองกันอย่างชื่นบาน เหมือนได้เป็นผู้พิชิต รับชัยชนะที่ร่วมกันต่อสู้มายาวนาน

ดังนั้น ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กับการจัดงานแต่งงาน ทั้ง ธุรกิจสตูดิโอถ่ายภาพ(พรีเว็ดดิ้ง) ธุรกิจเช่าชุดแต่งงาน ธุรกิจรับจัดงานแต่งงาน ของไทยจะเติบโตอย่างมากแน่นอน

ไทยเป็นจุดหมายปลายทาง นักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQIA+ จากทั่วโลก

นอกจากนี้ยังถือเป็นโอกาส ของประเทศไทย ที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQIA+  สร้างบรรยากาศดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ให้เป็นสวรรค์และจุดหมายปลายทาง ภาครัฐต้องคำนึงถึง การอำนวยความสะดวก ในด้านการจดทะเบียนสมรสของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะในเรื่องเอกสาร วีซ่า

ระยะเวลาในการดำเนินการ และสนับสนุนให้ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องใน การจัดงานแต่งงานมีมาตรฐานและคุณภาพ เพื่อสร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่ดีให้กับคู่รักต่างชาติ  จะช่วยประชาสัมพันธ์ ให้ไทย เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของคู่รัก LGBTQIA+ จากทั่วโลก 

นอกจากนี้ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ยังส่งผลดีต่อ ธุรกิจประกันภัยและธุรกิจทางการเงิน คู่รัก LGBTQIA+  สามารถทำประกันชีวิตให้กัน และสามารถเป็นผู้รับผลประโยชน์ หรือสร้างความมั่นคงในฐานะครอบครัว เช่น  การกู้เงินเพื่อซื้อบ้านร่วมกัน การถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัยจะขายดีขึ้น มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น

อ้างอิงรวมไปถึง ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กับความบันเทิงและนันทนาการ  เช่น ละครซีรีส์วาย เป็นต้น

อ้างอิง

รัฐบาลไทย

The William Institute

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

LGBT Capital

วุฒิสภา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : นายกฯ เศรษฐา เปิดกระหึ่ม PrideMonth จัดทั่วไทย 20 จังหวัดมิ.ย.67