แผนการสร้างโรงงานของ Tesla (เทสลา) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกยกเลิกเนื่องจากขาดทุนและสู้การการแข่งขันจากคู่แข่ง ค่ายจีนไม่ได้ แม้ว่า เทสลา จะให้ความสนใจลงทุนในไทย แต่กลายเป็นการลงทุนในสถานีชาร์จแบตแทน
นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวว่า การตัดสินใจของบริษัท เทสลา ที่จะยกเลิกแผนการ สร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย เป็นผลมาจากการขาดทุนทางธุรกิจและการแข่งขันจากจีน
เขาเปิดเผยว่า “เทงกู ซาฟรูล อาซิส” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุน การค้า และอุตสาหกรรม ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของเทสลาโดยตรง
“ซาฟรูล” ได้รับข้อมูลล่าสุดแล้ว เนื่องจาก เทสลา กำลังเผชิญกับภาวะขาดทุนและไม่สามารถแข่งขันกับ EV จากจีนได้
“นี่คือแถลงการณ์โดยตรงที่เราได้รับ ไม่ใช่จากการรายงานของสื่อ” นายกรัฐมนตรี มาเลเซีย กล่าวกับ สื่อมวลชนหลังจากเปิดตัวแนวปฏิบัติด้านการบริหาร และ การกำกับดูแลสำหรับหน่วยงานตามกฎหมายของรัฐบาลกลางที่นี่เมื่อวันที่ 9 ส.ค.
เขากำลังตอบคำถามเกี่ยวกับ รายงานที่ระบุว่า Tesla ได้ระงับแผนการส ร้างโรงงานในสามประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อมุ่งเน้นไปที่การตั้งสถานีชาร์จ
แม้ว่า เทสลา จะแสดงความสนใจ ในประเทศไทยในช่วงแรก แต่ “อันวาร์” ตั้งข้อสังเกตว่า แผนการของบริษัท สำหรับมาเลเซียยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น
ปัจจุบัน Tesla ดำเนินการสำนักงานขาย และ โชว์รูมในประเทศไทยและมาเลเซีย
รายงานจากสำนักนายกรัฐมนตรีของไทย เมื่อเดือนมีนาคม ระบุว่า เทสลา กำลังเจรจากับรัฐบาลไทยเพื่อสร้างโรงงานผลิตในประเทศ โดยประเทศไทยเสนอโรงงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 100 เปอร์เซ็นต์
ภายหลังจากมีรายงานการยกเลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุน การค้า และ อุตสาหกรรม ของมาเลเซียชี้แจงว่า กระทรวงไม่เคยประกาศอย่างเป็นทางการว่า Tesla จะเปิดโรงงานในมาเลเซีย
“เทงกู ซาฟรูล อาซิส” เขากล่าวว่า เทสลา ไม่เคยประกาศ แผนการสร้างโรงงานในประเทศเลย และรายงานเกี่ยวกับโรงงานดังกล่าว ไม่ได้อิงตามแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของเทสล่า แต่เป็นการอ้างแหล่งข่าว ที่ไม่เปิดเผยชื่อ
โรงงาน BYD ในไทยเดินสายการผลิตแล้ว
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา BYD ผู้ผลิตรถยนต์ EV แบรนด์จีน ได้จัดงานเฉลิมฉลองการเปิดโรงงานในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้ง เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น Dolphin ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าคันที่ 8 ล้าน ของบริษัท โรงงานแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 948,000 ตารางเมตร และ มีขั้นตอนการผลิตหลัก 4 ขั้นตอน ได้แก่ การตัด, การเชื่อม, การทาสี และการประกอบ
โรงงานในระยองของ BYD มีศักยภาพในการผลิตสูงสุดประมาณ 150,000 คันต่อปี โดย นอกจากรุ่น Dolphin ยังผลิตรถรุ่น Atto 3, Seal และ Sealion อีกด้วย การลงทุนในโรงงานนี้มีมูลค่าประมาณ 486 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 30ม000 ล้านบาท
นอกจากนี้ BYD ยังมีแผนที่จะลงทุนเพิ่มเติมในประเทศไทย เป็นจำนวนประมาณ 30,000 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต
จ่อตั้งโรงงานประกอบที่อินโดนีเซีย
ส่วนในประเทศอินโดนีเซีย BYD ได้ใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ทางภาษีของรัฐบาลอินโดนีเซียในการนำเข้ารถยนต์รุ่นต่างๆ เช่น Dolphin, Atto 3 และ Seal และยังมีแผนที่จะตั้งโรงงานประกอบในจังหวัดชวาตะวันตก
BYD ได้ประกาศว่าจะลงทุนประมาณ 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างโรงงานที่สามารถผลิตรถยนต์ได้ถึง 150,000 คันต่อปี โดยโรงงานนี้จะตั้งอยู่ใกล้สนามบินและท่าเรือหลัก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
รัฐบาลอินโดนีเซียมีนโยบายลดภาษี 50% สำหรับผู้ผลิต EV ต่างชาติ ที่สามารถผลิตรถยนต์ในประเทศ ตามจำนวนที่กำหนดไว้
แต่ เทสลา เผชิญกับความท้าทาย เนื่องจาก ไม่สามารถรับประกันการผลิตในประเทศ ทำให้ เทสลา ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว ส่งผลให้ เทสลา มีข้อเสียเปรียบในการแข่งขันกับ BYD
https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/china-s-byd-pulls-ahead-of-tesla-in-indonesia-s-ev-market
https://thejournalistclub.com/hyundai-ev-invest/