TCP รวมพลังลงมือปฏิบัติ เปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero

กลุ่มธุรกิจ TCP ปลุกพลังอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ลงมือหนุนประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero เพื่อวันที่ดีกว่า

  • เปลี่ยนพันธสัญญาเป็น “ลงมือปฏิบัติ”
  • เปลี่ยนวิธีทำธุรกิจ “เป็นตัวเราที่ดีกว่าเดิม”
  • “ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า”

นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า  กลุ่มธุรกิจ TCP โจทย์ของเราไม่ได้มองการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero เท่านั้น แต่ต้องการรวมพลังภาคส่วนต่างๆ เปลี่ยนพันธสัญญาไปให้ถึงการ “ลงมือปฏิบัติ” เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง มากกว่านั้นคือการสร้าง “อัตราเร่ง” โดยจากนี้ต้องมีความชัดเจนในการเดินทางไปสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ รวมถึงประเทศไทยที่ประกาศเป้าหมาย Net Zero ในปี 2065” 

 กลุ่มธุรกิจ TCP มีวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero สำหรับธุรกิจ คือ การเปลี่ยน mindset เปลี่ยนวิธีทำธุรกิจ “เป็นตัวเราที่ดีกว่าเดิม” เราไม่ได้แข่งกับคนอื่นแต่เป็นการแข่งกับตัวเอง เราพยายามมองหาจุดร่วมระหว่างสิ่งที่จะต้องเปลี่ยนและตัวเราว่าจะพาตัวเองไปในทิศทางไหน โจทย์คือทำอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตไปได้ ควบคู่กับการลดผลกระทบเชิงลบและเพิ่มผลกระทบเชิงบวกให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ภายใต้เป้าหมายใหญ่ “ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า” โดยมีเป้าหมายย่อยและแผนงานรองรับ รวมถึงประเมินผลการทำงานและปรับทิศการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อการเปลี่ยนผ่าน

ทั้งนี้กลุ่มธุรกิจ TCP ได้เดินหน้า “ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า” ให้ความสำคัญกับการปลุกพลังห่วงใยสิ่งแวดล้อม (Caring) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลัก โดยได้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ได้แก่ เศรษฐกิจหมุนเวียน: ภายในปี 2024 ตั้งเป้าพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งการลดความหนาของกระป๋องอะลูมิเนียม การลดน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วและขวดพลาสติกเพื่อลดการใช้ทรัพยากร

ความเป็นกลางทางคาร์บอน: ตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 จากทุกกระบวนการทำงานในธุรกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ และการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน: ตั้งเป้าลดการใช้ทรัพยากรน้ำ และคืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติและชุมชนให้มากกว่าน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต (Net Water Positive) ภายในปี 2030

ผู้สื่อข่าวรายงานว่านเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศอันดับที่ 9 จาก 180 ประเทศทั่วโลกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น ทั้งภาคอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว เกษตรกรรม และกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จึงมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ นอกจากนี้ ยังมีกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ ระดับโลกที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นอีกบททดสอบหนึ่งสำหรับภาคธุรกิจ เปลี่ยนจากการดำเนินการโดยสมัครใจไปสู่ข้อกำหนดที่เป็นทางการร่วมกัน

ทั้งนี้ รายงานล่าสุดของธนาคารโลก (2022) แนะนำทางออกให้ไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจหรือ GDP เติบโตขึ้น 1.2% จากปีฐาน หรือเพิ่มขึ้น 0.1-0.2% ต่อปีภายในปี 2030 และมีโอกาสสร้างงานได้ถึง 160,000 ตำแหน่ง