ททท. งัดดิจิทัลพลิกโฉมอุตฯท่องเที่ยวครบ 3 เสาหลัก“ดีมานต์-ซัพพลาย-องค์กร” ใช้ฐาน EA บิ๊กเชนจ์ 5 เรื่อง ปี’68เตรียมสร้างความฮือฮาเปิดตัวโปรเจ็กต์แรกของโลก “TATAI” ใน ITB Berlin 2025 เบอร์ลิน
นายกิตติพงษ์ ประพัฒน์ทอง รองผู้ว่าการด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.จัดทำแผนยุทธศาสตร์ปี 266-2570 มุ่งเน้นนำดิจิทัล วิจัย และพัฒนา เป็น 3 เสาหลักใช้ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทย ได้แก่ 1.ด้านกระตุ้นตลาด หรือ Demand 2.ด้านพัฒนาสินค้าทางการท่องเที่ยวหรือ Supply side 3.ขับเคลื่อนองค์กรสู่ให้เป็น high Performance ให้มีความทันสมัยจะต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาจัดการ
ปูพรมทำมาแล้ว 2-3 ปีเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานองค์กรด้วย “EA : Enterprise architecture หรือการบรูณาการ เทคโนโลยี (IT) เข้ากับธุรกิจอย่างเป็นระบบตั้งแต่ในระดับสถาปัตยกรรมไปจนถึงโร้ดแมฟองค์กรผลักดันให้ดำเนินการตามนโยบายและวิสัยทัศน์ทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
ภารกิจ ททท.ด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา คือแผนระยะยาวทำให้เกิดการเชื่อมโยงของ “ระบบ IT :information technology กับธุรกิจหลักขององค์กร (Cor business) ขับเคลื่อนตาม “วิสัยทัศน์ สถาปัตยกรรมองค์กร” จะเปลี่ยนผ่านกระบวนการทำงานองค์กรด้วยข้อมูลการใช้ทรัพยากรดิจิทัลร่วมกันอย่างสมบูรณ์ ทำให้มีข้อมูลคุณภาพ ครอบคลุมความต้องการสำหรับ การวิเคราะห์ ตัดสินใจ และวางแผนด้านการตลาด สินค้า บริการ จัดการองค์กร เพื่อนำประเทศไทยสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และความปลอดภัยจากจรกรรมข้อมูลต่าง ๆ จากไซเบอร์
มุ่งสู่องค์กรดิจิทัลอย่างสมบูรณ์โดยมีเป้าหมายระยะยาวปรับเปลี่ยนมุ่งสู่ 5 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.เป็นองค์กรอัตโนมัติ Office Automation 2.เป็นศูนย์กลางข้อมูลดิจิทัล และนวัตกรรม 3.เป็นองค์กรที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big DATA และการใช้ข้อมูลอย่างมีธรรมาภิบาล (DATA Governance) 4.มีโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายน่าเชื่อถือ มีสมรรถนะสูง และรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการสนับสนุนให้เกิดการทำงานได้ทุกที่หรือ Hybride Workplace เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดพลังงาน และอื่น ๆ 5.เป็นองค์กรที่มีความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศหรือ Cyber Security
ปี 2568 จะมีไฮไลต์นำ ททท.ก้าวสู่องค์กร “ศูนย์กลางข้อมูลดิจิทัล และนวัตกรรม” โดยใช้เทคโนโลยีซึ่งปัจจุบันไปไกลและรวดเร็วมาก เมื่อมีสถาปัตยกรรมองค์กร (EA) แล้วก็ยังทำให้ข้อมูลที่มีอยู่สามารถเชื่อมโยง เรียนรู้ เข้าใจกัน ด้วยระบบการจัดงานของ AI ตั้งเป้าหมายให้เป็น Generative AI นำเสนอแพลตฟอร์มแรกของประเทศและโลกด้านการท่องเที่ยว
โดย ททท.วางแผนจะเปิดตัวโครงการ TAT-AI (ท้าทาย) ในงานมหกรรมท่องเที่ยวโลก ITB Berlin 2025 ต้นเดือนมีนาคม 2568 วางแผนจะทำให้เป็นถังข้อมูลมั่นใจ
ททท.มีอยู่มากที่สุดในเมืองไทยที่เก็บสะสมมาตลอด 65 ปี ทั้งข้อมูลเชิงลึกจากงานวิจัย การจดจำจากการเข้าร่วมงานในประเทศและทั่วโลก นิตยสาร อสท.สิ่งเหล่านี้มีประโยชน์และคุณค่ากับองค์กร จึงจะสร้างแพลตฟอร์มที่มีความรวดเร็วทั้ง ข้อมูล ไฟล์ภาพ อินโฟกราฟฟิก และอีกมากมาย
โครงการ TAT-AI เฟสที่ 1 จะบริการแบบเดียวกับ CHAT GPT เพราะบริษัทที่ร่วมงานกับ ททท.ทำกับ google ด้วย โดยจะใช้ข้อมูลเชิงลึกผสานเข้ากับเทคโนโลยีจะสามารถ “ตอบข้อมูลเชิงลึก” ตอบสนองผู้ใช้บริการได้เหนือความคาดหมาย เช่น จะไปเที่ยวเชียงใหม่ ข้อมูลในแพลตฟอร์มจะบอกรายละเอียดได้มากกว่าข้อมูลพื้นฐานทั่วไป โดยจะมีข้อมูลอนาคตรวมอยู่ด้วย ต่อไปก็อาจจะไม่ต้องใช้เว็บไซต์ ททท.อีกต่อไปแล้ว
นายกิตติพงษ์ กล่าวว่า เครื่องมือดิจิทัลกับแพลตฟอร์ม TAT-AI จะสร้างประโยชน์มากมายในอนาคตกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ อย่างมหาศาล
เรื่องที่ 1 ตอบโจทย์สำคัญที่สุดเรื่อง “การตัดสินใจก่อนการเดินทาง” ของนักท่องเที่ยว befor Jouney
เรื่องที่ 2 จะใช้งานวิจัยสร้างผลสัมฤทธิ์ให้ ททท.ตามเป้าหมายในการนำรายได้ท่องเที่ยวเข้าประเทศให้ได้ 3.4 ล้านล้านบาท ซึ่งจะกลับมาเป็นข้อมูลในถังแพลตฟอร์ม TAT-AI ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันได้ทำวิจัยต่อเนื่องทุกปี เกี่ยวกับ “พฤติกรรมนักท่องเที่ยวใช้จ่ายเงิน” เพื่อนำมาวิเคราะห์กระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ปี 2568 จะขยายผลนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพองค์รวม Health & Wellness ส่วนที่ 2 นักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBTQ+ ซึ่งเป็นซับเซ็ตของตลาดลักชัวรี่ ส่วนที่ 3 วิจัยเมืองน่าเที่ยวซึ่งเป็นด้านซัพลลายไซด์ต้องการให้พัฒนาในรูปแบบใด
ส่วนเครือข่ายพันธมิตรของ ททท.ทำต่อเนื่องด้วยการลงนามข้อตกลงความเข้าใจ MOU และ LOI :Letter of intent กับทุกแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวออนไลน์ (Online Tourism Agent :OTA) เช่น Agoda Traveloka และอีกหลายแบรนด์ ททท.ต้องการได้มากที่สุดจาก OTA คือข้อมูลเชิงลึกเรื่องพฤติกรรมของลูกค้าต้องการเลือกเส้นทางเป้าหมายที่ใด นับจากนี้เป็นต้นไปจะขอให้ฟรอนท์ไลน์ส่งมอบข้อมูลให้ ททท.โดยเปรียบเทียบข้อมูลก่อน-ระหว่าง-หลัง ลงทุน
สำหรับพันธมิตรในไทย สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ BDI :Big Data Institute ทำงานร่วมกันมานานแล้ว ขณะนี้เริ่มเห็นผลแล้ว ททท.มีข้อมูลจากหลายหน่วยงานมาบูรณาการร่วมกันกับ บมจ.ท่าอากาศยานไทย กระทรวงมหาดไทย นำบรรจุไว้บน Travel Link มีกราฟฟิกการเดินทาง และเชื่อมโยงกับที่พัก เส้นทางท่องเที่ยว จึงทำให้เห็นภาพกว้าง
นายกิตติพงษ์ กล่าวว่า ปี 2568 การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลท่องเที่ยวจะชูโครงการ “short VDO” เน้นเพิ่มความถี่มากที่สุด เพราะคอนเทนท์ ททท.แข็งแรงอยู่แล้ว จึงต้องเน้นความถี่ให้คนได้เห็น ดังนั้นโซเชียลมีเดียที่จะลงทุนคือ TikTok โดยสร้าง #แฮชแท็ก สร้างคอนเทนท์ใส่แพลตฟอร์มช็อตวิดีโอ เพื่อให้ผู้คนเข้ามาค้นหาแล้วในอนาคตก็จะเป็นแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์
ขณะนี้กำลังหารือกับทางทีมสารสนเทศการตลาด TikTok จากนั้นอาจจะขยายต่อไปยัง Youtube ช่วยทำให้เกิดมิติ สีสัน ต่อจากด้านสื่อสารการตลาด ททท.สร้างเจนเนเรชั่นใหม่ ๆ สนับสนุนอย่างเต็มที่ ปัจจุบันมีโซเชียลครบทั้ง TikTok Youtube X Instagram แล้วนำคอนเทนท์ที่ผลิตสร้างเพิ่มความถี่เข้าถึงคนให้ได้มากที่สุดทำให้การท่องเที่ยวไทยเติบโตอย่างทรงพลังในตลาดโลก
เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ททท.-TAGTHAi ชูแพลตฟอร์มท่องเที่ยวชาติปี’68 บูม 5 Must Do