ททท. MOU ท่องเที่ยว ภูฏาน ทำโมเดลทัวร์ยั่งยืน 2 ประเทศ 1 เส้นทาง

ลงนามข้อตกลง ไทย-ภูฏาน
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดตึกสันติไมตรีให้ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ลงนาม MOU กับประเทศภูฎาน ด้านการท่องเที่ยว แลกเปลี่ยนวิจัย วิชาการ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ผู้ว่าททท. ปลื้มนายกฯนำ MOU ท่องเที่ยว “ไทย- ภูฏาน ” เน้นแลกเปลี่ยนจุดแข็งด้านวิจัยวิชาการในโมเดล “ ท่องเที่ยว ธรรมชาติยั่งยืน” เล็งเปิด “2 ราชอาณาจักร 1 จุดหมายปลายทาง : Two Kingdom’s One Destination” กับ “Friends of Thailand-Bhutan” เพิ่มตลาดและเศรษฐกิจทัวร์ปลายปี67คึกคัก

ททท. ไทย-ภูฏาน
น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท.MOU กับทางภูฎาน เรียบร้อยแล้ว ประกาศนำร่องทำ Two Kingdom’s One Destination” กับ “Friends of Thailand-Bhutan”

นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดทำเนียบรัฐบาลต้อนรับนาย ดาโช เชริง โตบเกย์ นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักร ภูฏาน โดยร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจทางด้านการท่องเที่ยวระหว่าง ประเทศไทยกับภูฎาน เพื่อจับมือกันพัฒนาทั้งเรื่องวิชาการ วิจัย บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย

ฉบับที่ 1 บันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย และการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กับมหาวิทยาลัยแพทย์ เคเซอร์ เกียลโป ของ ภูฏาน และฉบับที่ 2 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทย – ภูฏาน

หลังการลงนาม MOU ทั้งสองฉบับเรียบร้อยทั้งด้านการท่องเที่ยวและสาธารณสุข จะช่วยส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว รวมถึงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและความร่วมมือด้านการศึกษาทางการแพทย์ ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขของไทยกับเคเซอร์ เกียลโปให้เกิดการทำงานกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นเป็นประโยชน์ที่จะต่อยอดและขยายกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ

ทั้งประเทศไทย และภูฏาน ต่างก็แสดงความมุ่งมั่น พร้อมทำงานเคียงข้างกัน โดยใช้จุดแข็งที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับ เรื่องความเชื่อมโยงการเดินทาง อำนวยความสะดวก ในการเคลื่อนย้ายสินค้า และประชาชนซึ่งถือเป็นตลาดสำคัญสร้างเศรษฐกิจให้ทั้งสองประเทศ แล้วไทยเองในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของภูฏาน จะสนับสนุนแบ่งปันความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น การดูแลสุขภาพ เกษตรกรรม และ เทคโนโลยี ด้วยความยินดีจะเรียนรู้จากแนวทางของภูฏานซึ่งโดดเด่นอย่างมากเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน กับความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเมืองไทย

ไทย-ภูฏาน
ผู้ว่าการ ททท.นำหน่วยงานหลักภาครัฐสานต่อความร่วมมือกับรัฐบาลภูฎานด้านการท่องเที่ยวครบวงจร

ผู้ว่าฯ ฐาปนีย์ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ ประกอบด้วย ด้านที่ 1 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือเป็นวาระสำคัญอย่างมากทั้งของไทยและภูฏาน ด้วยศักยภาพทางการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ ล้วนมีวัฒนธรรมแห่งวิถีชีวิตมายาวนาน ผนวกเข้ากับมีธรรมชาติความงามหลากหลาย จึงพร้อมจะเดินหน้าส่งเสริมโครงการ “2 ราชอาณาจักร

  • 1 จุดหมายปลายทาง : Two Kingdom’s One Destination” ส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น แล้วทั้งสองฝ่ายยังเล็งเห็นถึงความเป็นไปได้การจัดตั้งกลุ่ม “Friends of Thailand-Bhutan” เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไปในเร็ววันนี้ด้วย
  • ด้านที่ 2 การศึกษาและวิชาการ ทั้งสองฝ่ายยืนยันจะอำนวยความสะดวกร่วมแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรทางวิชาการ เสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน สร้างมิตรภาพที่ยั่งยืนระหว่างเยาวชนคนรุ่นใหม่มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนสิ่งที่ดีต่อกัน
  • ด้านที่ 3 พลังงานทดแทนของไทยและภูฏานก็พร้อมทำงานร่วมกัน มุ่งเน้นแบ่งปันความเชี่ยวชาญและแนวปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศ เพื่อให้สองประเทศบรรลุเป้าหมายเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน เช่น พลังงานไฟฟ้าจากพลังน้ำซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้วยกันทั้งคู่นั่นเอง
  • ด้านที่ 4 ความร่วมมือระดับภูมิภาค ซึ่งสำคัญกับความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลถึงความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเกี่ยวข้องกับด้านการค้าและความเชื่อมโยง ตามที่นายกรัฐมนตรีภูฏานได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมผู้นำ BIMSTEC ที่เลือกประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเดือนกันยายน 2567

ทางนายกรัฐมนตรีภูฏานได้กล่าวว่ารู้สึกเป็นเกียรติและยินดีที่ได้มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี พร้อมนำความปรารถนาดีจากราชวงศ์ และประชาชนชาวภูฏานที่มีต่อนายกรัฐมนตรี รัฐบาลและประชาชนชาวไทย การเดินทางมาครั้งนี้ทำให้เห็นว่าประเทศไทย และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ภูฏานพัฒนาไปอย่างมาก พร้อมขอบคุณรัฐบาลและประชาชนชาวไทยสำหรับความสัมพันธ์และความร่วมมือในการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจของภูฏาน โดยภูฏานนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 4 ถือว่าไทยเป็นคู่ค้าอันดับต้น ๆ รวมทั้งยังเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญด้วย ทั้งด้านท่องเที่ยวและการแพทย์กับชาวภูฏาน

นายกรัฐมนตรีภูฏาน กล่าวตอนท้ายว่า ได้ตอบรับการเข้าร่วมการประชุม BIMSTEC ที่ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดช่วงเดือนกันยายน 2567 ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี พร้อมกล่าวเชิญนายกรัฐมนตรีเยือนภูฏานด้วยเช่นกัน

เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ไทย-ภูฏาน เร่งเจรจา เอฟทีเอ เพิ่มการค้า 120 ล้านเหรียญสหรัฐ