“นายกฯ เศรษฐา” เร่ง ดาต้าเซ็นเตอร์

นายกฯ เศรษฐา ดาต้าเซ็นเตอร์
นายกฯ เศรษฐา เร่ง ดาต้าเซ็นเตอร์

“นายกฯ เศรษฐา” เร่ง ดาต้าเซ็นเตอร์ สั่ง กพช.-บีโอไอ ทำข้อมูลมาตรการ เศรษฐา สนับสนุนพลังงานสะอาด Direct – PPA เสนอที่ประชุม กพช.วันที่ 18 มิ.ย.นี้

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้สั่งการในที่ประชุม ครม.ว่าเนื่องจาการนักลงทุนต่างชาติมีความสนใจการลงทุนดาต้าเซนเตอร์ในประเทศไทยจำนวนมาก
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้สั่งการในที่ประชุม ครม.ว่าเนื่องจาการนักลงทุนต่างชาติมีความสนใจการลงทุนดาต้าเซนเตอร์ในประเทศไทยจำนวนมาก

นาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดเผย ภายหลัง การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)วันนี้ (11 มิ.ย.) ว่า ได้สั่งการ ในที่ประชุม ครม. ว่า เนื่องจาก การนักลงทุนต่างชาติ มี ความสนใจ การลงทุน ดาต้าเซนเตอร์ ในประเทศไทย จำนวนมาก

ซึ่ง การลงทุน ดาต้าเซนเตอร์ เป็น การลงทุน ที่นักลงทุน ต้องการใช้ไฟฟ้าพลังงานสะอาด จำนวนมาก ซึ่ง นโยบาย ที่สำคัญ คือ ของ ไทย คือการส่งเสริมนโยบายไฟพลังงานสะอาด โดยตรง เพื่อการลงทุน (Direct PPA)

ทั้งนี้ ได้ สั่งการให้ กระทรวงพลังงาน และ สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ไป หารือ กัน ถึงการทำโนยบาย นี้

ให้มีความชัดเจน โดย ให้เสนอเข้าสู่ การประชุม คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันที่ 18 มิ.ย.นี้

กพช. เห็นชอบให้รับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นแล้ว

ก่อนหน้านี้ ใน การประชุม กพช. ใน เดือน มี.ค.ปี 2566 กพช. เห็นชอบ ให้ รับซื้อไฟฟ้าพลังงาน ทดแทน เพิ่มขึ้นดังกล่าว

เพื่อ นำมา เปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงาน ทดแทน เพิ่มขึ้นรวม 3,668.5 เมกะวัตต์ จาก ปัจจุบัน ที่เพิ่ง เปิดรับซื้ออยู่ 5,203 เมกะวัตต์ ใน โครงการ รับซื้อไฟฟ้า จาก พลังงานหมุนเวียน ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 – 2573 สำหรับ กลุ่มโรงไฟฟ้าประเภท ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565

ทั้งนี้ การเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น 3,668.5 เมกะวัตต์ นั้น จะมาจากโซลาร์ฟาร์ม 2,632 เมกะวัตต์ จากรอบแรกที่รับซื้อ 2,368 เมกะวัตต์, พลังงานลม 1,000 เมกะวัตต์ จากรอบแรกรับซื้อ 1,500 เมกะวัตต์, ก๊าซชีวภาพ 6.5 เมกะวัตต์

รอบแรกไม่มีผู้ผ่านคุณสมบัติ และขยะอุตสาหกรรม 100 เมกะวัตต์ จากรอบแรกเปิดรับ 200 เมกะวัตต์ แต่มียอดรับซื้อที่ 100 เมกะวัตต์ จึงจะเพิ่มอีก 30 เมกะวัตต์ รวมเป็น 130 เมกะวัตต์

กูเกิ้ล รอนโยบายไฟพลังงานสะอาด

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้ มีความสำคัญมาก เพราะ เอกชนรายใหญ่ๆ ระดับโลก ต้องการ ทราบความชัดเจนเรื่อง การส่งเสริม นโยบายไฟฟ้าพลังงานสะอาด โดยตรง เพื่อการลงทุน (Direct PPA) ก่อนที่จะตัดสินใจ ว่า จะ มาลงทุนในไทย หรือไม่ เช่นที่ ผ่านมา กูเกิ้ล (Google ) ได้ แจ้ง เงื่อนไข กับ ประเทศไทยว่า เรื่อง นี้ จะ มีผล ต่อการตัดสินใจ เรื่องการลงทุนในต่างประเทศ ที่กูเกิ้ลจะต้องตัดสินใจ ภายใน สิ้นปีนี้

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ ได้สั่งการให้ พิจารณา ให้ทัน ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่ง หาก ทำได้ช้า มี นโยบาย เปิด ส่งเสริม เป็นการ ทั่วไปไม่ได้ ก็ อาจจะทำเป็น sandbox ไปก่อนโดย ให้ทดลองทำ ในแต่ละโครงการไป เช่นเดียวกับ ที่รัฐบาลมาเลเซีย ได้เปิดดำเนินการเป็น sandbox

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ชลน่าน ดีเดย์ 24 มี.ค.นี้ เปิด Safety Phuket Island Sandbox

ข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์ข้อมูล(อังกฤษ: data center) เป็นพื้นที่ที่ใช้จัดวางระบบประมวลผลกลางและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร โดยมากผู้ใช้งานหรือลูกค้าจะเชื่อมต่อมาใช้บริการผ่านระบบเครือข่ายที่มาจากภายนอก Data Center จึงเปรียบได้กับสมองขององค์กรนั่นเอง การออกแบบ Data Center นั้น โดยมากจะมีหลักการออกแบบโดยคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ต่างๆดังนี้ อาทิเช่น

ความมีเสถียรภาพ , ความพร้อมใช้งาน , การบำรุงรักษา , ความเหมาะสมในการลงทุน , ความปลอดภัย , การรองรับการขยายในอนาคต

เนื่องจาก ศูนย์ข้อมูลส่วนใหญ่ ต้องให้บริการตลอดเวลา ไม่มีวันหยุด เสถียรภาพ ของศูนย์ข้อมูล จึงเป็นสิ่งที่ต้องออกแบบ และ ก่อสร้างให้ได้อย่างถูกต้อง ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อน ว่าสิ่งที่อยู่ในศูนย์ข้อมูล คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ แม่ข่าย (Server) , เครื่องประมวลผลขนาดใหญ่ (Main frame) , เครื่องบันทึกข้อมูล (Storage) , อุปกรณ์เครือข่าย (Network switch) , ข่ายสายสัญญาณ (Data cabling system) และ อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ