เปิดมุมมอง “ลักขณา ปันวิชัย” ไขข้อสงสัย Soft Power

เห็นผู้คนถกเถียงกันมากเรื่อง Soft Power ว่า มันคืออะไร เป็นสินค้า หรือ บริการ เถียงกันจนเลยเถิดไปไกลว่า มันคือ ความรัก 

ปล่อยให้เถียงกันต่อไปเรื่องนี้อาจกลายเป็นข้อโต้เถียงที่ว้าวุ่นเหมือนเงินดิจิทัลอีก

เพื่อให้ได้คำตอบชัวร์ๆ เข้าใจได้ง่ายๆ ย่าขอยกคำอธิบายของ“เจ้าหล่อน” นามว่า ลักขณา ปันวิชัย หรือ แขก คำผกา” นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักจัดรายการ นักวิเคราะห์ และ นางแบกอึ่งไข่ ผู้มี “ปาก” เป็น “นักฆ่า” 

มีความรู้สูงกว่านักการเมืองหลายคนที่พร่ำบอกตัวเองว่าเก่งกว่าใครในโลกา เป็น “อาวุธ” สำหรับการตอบโต้ในทุกประเด็นที่เห็นว่า มันไม่ถูกต้อง 

ด้วยเพราะเธออาจจะอ่านเยอะ เรียนเยอะ มีใบปริญญาโทจากเกียวโต และ มีเซลล์สมองเกือบเท่าไอซ์สไตล์ พกติดตัวไว้ตลอด

ลักขณา ปันวิชัย นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักจัดรายการ นักวิเคราะห์

คุณแขก ทำให้ย่าคิดถึงสมัยสาวๆเมื่อสัก 40 ปีที่แล้ว มีกลุ่มนักข่าว-นักหนังสือพิมพ์หญิงที่ทรงอิทธิพล และสร้างความยำเกรงให้แก่น้องๆในวงการและ นักการเมืองจนได้รับสมญานามว่า “เจ๊” กันหลายคน แต่ก็ยังไม่มี เจ๊ คนใดทำสถิติ ฟาดหัว ฟาดหาง และเตะผ่าหมากผู้คน ได้เท่ากับเธอคนนี้…ขอยืนยัน!

เธอพูดในรายการ #In her Eyes ถึงการผลักดันนโยบาย Soft power ว่า เป็นอีกหนึ่งในนโยบายเรือธงของรัฐบาลที่พยายามจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ระบบเศรษฐกิจไทย 

ลักขณา ปันวิชัย นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักจัดรายการ นักวิเคราะห์

ด้วยการแจกแจงว่า นโยบายเรือธงของรัฐบาลชุดนี้มี เรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นด้วยการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต , 30 บาท plus ,Soft power ที่ตีคู่ไปกับ One family One soft power เพื่อยกระดับศักยภาพครัวเรือน และรายได้ปีละ 200,000 บาทเป็นอย่างน้อย เช่น

ในหนึ่งครอบครัว มีกัน 5 คน แต่คุณสามารถสร้าง 1 คนในครอบครัวนี้ ให้เป็น เชฟ เป็นนักดนตรี ศิลปิน ดีไซเนอร์ คนทำเบเกอรี่ สบู่ และหรืออะไรก็ตามแต่ที่ทำให้คุณมีรายได้ที่ไม่ใช่จากอาชีพเดิมๆ เช่น ทำนา ทำสวน เป็นครู รปภ. หรือ สอบเข้านายดาบตำรวจให้ได้ เป็นต้น

ลักขณา ปันวิชัย นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักจัดรายการ นักวิเคราะห์

แต่เมื่อมีการถกเถียงกันมากว่า รัฐบาลโง่รึเปล่าวะ ซ้ำยังหาว่าไม่เข้าใจคำว่า Soft power ด้วย “คุณหมอเลี้ยบคงขี้เกียจจะไปเถียงด้วย แกก็เลยบอกว่า มันก็เหมือนความรักแหละ แต่ละคนอาจนิยามเรื่องความรักไม่เหมือนกัน ถามว่าความรักมีอยู่จริงไหม ก็ต้องรอให้มันปรากฏต่อตัวเรา เราจึงจะเข้าใจและเชื่อว่า ความรักมีจริง ก็เหมือน Soft power …

โจเซฟ ไนน์  ยังเขียนไว้เลยว่า อำนาจ กับความรัก เหมือนกัน เพียงแต่มันช่างตวงวัดไม่ได้จนกว่าเราจะมีประสบการณ์

ฉนั้น อย่ามาเถียงกันดีกว่าว่าใครถูกผิด เพราะแต่ละคนก็จะนิยามเรื่องนี้แตกต่างกันออกไป โดยไม่มีที่สิ้นสุด เพราะพอกำหนดนิยาม คุณก็ว่าไม่ใช่ พอบอกว่า แล้วแต่คุณ ก็บอกว่า ถ้าไม่มีนิยาม จะนำไปปฏิบัติได้ไง…มันก็วนกัน  เป็นวงกลมอยู่อย่างนี้

ลักขณา ปันวิชัย นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักจัดรายการ นักวิเคราะห์

“ถ้าถาม แขก นะ Soft power มี 2 แบบ คือ แบบที่เป็น Organic กับ แบบที่รัฐบาลปั้นขึ้นมาเป็นสินค้า หรือ ไปหยิบเอาสิ่งที่เป็น Soft power โดย Organic มาต่อยอด ทำการส่งเสริมต่อ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ประเทศที่จะขาย Soft power ได้ ต้องเป็นประชาธิปไตย… 

เอาง่ายๆเลย ก่อนที่ Soft power จะมาเป็นสินค้า มันเป็นเรื่องเชิงคุณค่า เช่น ประเทศอเมริกา ให้คุณค่าแก่เสรีภาพของปัจเจกบุคคลสูงสุดในรัฐธรรมนูญ และเชื่อเรื่องความเสมอภาคของการเกิดมาเป็นคน ที่สามารถพัฒนาความสามารถของตัวเองภายใต้ความเชื่อเรื่อง American Dream” 

เหมือนอย่างที่ มิชเชล โอบาม่า พูดว่าพ่อฉันเป็นช่างประปา แต่ด้วยโอกาส ทางการศึกษาที่เรามี เราก็ใช้โอกาสทางการศึกษาที่พลเมืองทุกคนเข้าถึงให้เป็นประโยชน์ได้ ถ้าปราศจากการศึกษา ฉันก็อาจจะเป็นลูกช่างประปาที่ไม่ได้นั่งเป็นสุภาพสตรีหมายเลข 1 อย่างที่เห็น

ลักขณา ปันวิชัย นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักจัดรายการ นักวิเคราะห์

“อันนี้มันคือ ชุดคุณค่าในภาพที่สามารถส่งผ่านเข้าไปในหนังฮอลลีวูด หรือไปอยู่ในสินค้าต่างๆ และมันคือคำตอบว่า ทำไมคุณจึงซื้อสินค้านี้ ซื้อวรรณกรรมนี้ แผ่นเสียงนี้ ทำไมเราอ่านหนังสืออัตชีวประวัติเธอแล้ว เราจับใจ และนั่นคือ เหตุผลว่า ทำไมเราจึงถูกอเมริกันกลืน…

ประเทศไหนก็ตามที่ไม่สามารถครีเอทชุดคุณค่านี้ไว้กับตัวเองได้ ขั้นต่อไปคือการทำตัวสินค้าให้จับต้องได้ และไปต่อได้ในแบบคุณภาพของมัน” 

บางคนที่ซื้อผ้าไหม หรือผ้าครามไทย นั่นเพราะเขาตระหนักว่า มันมาจากการทำงานหนัก และเป็นความสามารถของคนทั้งหมู่บ้านที่เคยมีรายได้ต่ำขึ้นมาเป็นรายได้สองแสน เป็นต้น จากคนจน ไม่มีศักดิ์ศรี ต้องมาตระเวนขายลอตเตอรี่ในกรุงเทพฯ เขากลายเป็นคนสวย เป็นคนมีคุณค่าจากการมีทักษะผลิตผ้าครามออกมา เขาเป็นคนที่พัฒนาได้ ไม่ใช่ประเภท โง่ จน เจ็บ ที่วนหลูบกันอยู่อย่างนี้ 

ลักขณา ปันวิชัย นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักจัดรายการ นักวิเคราะห์

“ฉนั้น Soft power คือ ชุดคุณค่าที่คุณสามารถสร้างขึ้นมาในสังคมนั้นได้เช่น ชุดคุณค่าของไทยคือ เมืองที่หลากหลายทางวัฒนธรรม และผู้คน หรือ ต่อไปนี้ เราจะให้เด็กต่างด้าวได้เรียนหนังสือ ได้กรีนการ์ด ไม่ต้องถูกตราหน้าว่าเป็นคนต่างด้าว ให้สิทธิ LGBT สมรสเท่าเทียม และจะเป็นประเทศที่ชูธงเรื่องนี้ 

นั่นจะทำให้เกิดชุดคุณค่ากับเรื่องนี้ในประเทศไทย เช่น ดีไซเนอร์ไทย สัญชาติพม่า หรือ เด็กไทยใหญ่ชื่อ คำโหลง ได้ทุนไปทำเรื่องสิ่งทอจนเป็นดีไซเนอร์แล้ว คุณหมอพักตร์พิไล ทวีสิน  ใส่เดรสที่ออกแบบโดย คำโหลง เท่ากับเป็นชุดคุณค่าที่คนไทยครีเอทขึ้น และคนทั่วโลกยอมรับนับถือ วันนั้นแหละที่ Soft power ไทยจะเกิดขึ้น”คุณแขก มั่นใจ

ร่ายมาเสียยาวแบบนี้ ย่าขอเปรียบเปรยกับคนไทยที่ติดซีรีส์เกาหลีที่มีชุดคุณค่าแบบที่ประเทศไทยเราไม่มี หรือมีก็กระจัดกระจายไม่ได้รวบรวมมาเป็นหนึ่งเดียวเพื่อการต่อยอด ทั้งๆที่เริ่มทำมาพร้อมๆกันเมื่อ 20 ปีที่แล้ว

ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก Lakkana Punwichai

คอลัมน์คุณย่าขาซิ่ง