ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน กำลังถูกทดสอบว่า จะสามารถก้าวข้าม ”ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า” ได้หรือไม่
ผมขอเสนอว่า ก่อนที่รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแพรทองธาร ชินวัตร จะแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เราจำเป็นต้องมี “สัญญาประชาคม” เพื่อสร้างพื้นที่ร่วม (Common Ground) ความเข้าใจร่วม (Common Understanding) และเจตจำนงร่วม (Common Goals) ในการกำหนดอนาคตประเทศของประชาชนทุกภาคส่วน
สัญญาประชาคมชุดใหม่ ประกอบไปด้วย
1. ปรับ “กระบวนทัศน์การพัฒนา” จากการมุ่งสู่ความทันสมัยสู่การมุ่งสู่ความยั่งยืน บนหลักคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่จะเกิดประโยชน์สุข ความเป็นปกติสุข และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
2. กำหนด “เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์” เน้นความสามารถในการสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงในพลวัตโลก การมีส่วนร่วมและครอบคลุมทั่วถึง รวมถึงการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3. เปลี่ยน “โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทย” เน้นเศรษฐกิจที่เติบโตเชิงคุณภาพ สมดุล และทั่วถึง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน รวมถึงการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วม
4. ผนึก“ พลัง 3 ภาคส่วน” ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ร่วมขับเคลื่อนประเทศ
5. สร้าง “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ด้วยการสร้างรัฐที่น่าเชื่อถือ และพลเมืองที่ตื่นรู้
รูปธรรมของสัญญาประชาคมชุดใหม่นี้เริ่มจากการใช้ความกล้าหาญทางการเมืองในการปลดล็อคประเทศไทยผ่าน ”3 วาระวิกฤต“ (Critical Agenda)
1. ลดทอนความขัดแย้ง
2. กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย
3. ไม่ประนีประนอมกับคอร์รัปชัน*
*ตามที่ได้โพสต์ไปก่อนหน้านั้น
อ้างอิงข้อมูล : facebook
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : “แพทองธาร” จังหวะพิเศษแบกภารกิจเพื่อใคร