ค้าปลีก สิงคโปร์ ติดลบเพราะสินค้าราคาแพงคนแห่ซื้อของต่างประเทศ

ค้าปลีก สิงคโปร์​ ติดลบ
ค่าเงินสิงคโปร์แข็งค่าขึ้น ผนวกสินค้าและบริการมีราคาแพง ทำให้ชาวสิงคโปร์เดินทางไปช้อปปิ้งต่างประเทศมากขึ้น

ค่าเงินสิงคโปร์ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ผนวกกับสินค้า และ บริการที่มีราคาแพง แม้ ท่องเท่ียว จะกลับมาอีกครั้ง หลังจากได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด -19 แต่ สิงคโปร์ กลับเลือกที่จะออกไปซื้อของ ช้อปปิ้ง ยังประเทศเพื่อนบ้านแทน เพราะมีราคาถูกกว่า แถมยังได้เที่ยว ส่งผลให้ธุรกิจ ค้าปลีก มีตัวเลขติดลบ

สำนักข่าว สเตรทไทม์ รายงานว่า สมาคมผู้ค้าปลีกแห่ง สิงคโปร์ (SRA) ได้เปิดเผยตัวเลขค้าปลีกในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไม่สดใสนัก ค้าปลีก ส่วนใหญ่รายงานผลการดำเนินการติดลบ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา

ขณะที่ในเดือนมีนาคม ก่อนหน้ารายได้เพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกัน ปีก่อนหน้า เพิ่มเพียงเล็กน้อย จากคอนเสิร์ต Taylor Swift 

อย่างไรก็ตามยอดค้าปลีก ที่ลดลง ในเดือนกุมภาพันธ์ ลดลง 1% ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า การซื้อลดลง แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยว จะฟื้นตัวก็ตาม

ยอดขายที่ซูเปอร์มาร์เก็ต และ ร้านสะดวกซื้อ สินค้าสันทนาการ เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในครัวเรือน รวมถึงอุปกรณ์เทคโนโลยี ลดลง เมื่อเทียบเป็นรายเดือน

นักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า การลดลงโดยรวมแบบเดือนต่อเดือน เป็นผลมาจากเทศกาลตรุษจีนในเดือนกุมภาพันธ์

SRA  ระบุด้วยว่า ขณะนี้ผู้ค้าปลีก กำลังพยายามจูงใจผู้บริโภคให้มา ช้อปปิ้งออนไลน์ และ ผ่านทาง โซเชียล มีเดีย หรือ มีส่วนร่วม กับลูกค้าขาประจำ ผ่านกิจกรรม และ เวิร์กช็อป อย่างไรก็ตาม ความพยายามดังกล่าว หมายถึง การต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติม และโดยทั่วไปแล้วไม่ได้ผล

ทั้งนี้ เหตุผลหลัก ๆ ของผลกระทบค้าปลีก  น่าจะได้รับผลกระทบ จากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับ ค่าเงินสกุลหลัก ๆ  โดย ทางรัฐบาลสิงคโปร์ ได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือ ดำเนินการนโยบายหลัก มากกว่าการใช้อัตราดอกเบี้ย  โดยปล่อยให้ค่าเงินแข็งตัวขึ้น เพื่อรับมือกับแรงกดดันด้านราคา ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อ ที่ถีบตัวสูงขึ้น 

“มูลค่าที่เพิ่มขึ้นของสกุลเงินของเรา รวมกับความชอบในการเดินทางของสิงคโปร์ ทำให้ผู้บริโภคมองหาทางเลือกที่ถูกกว่า โดยเฉพาะในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ มาเลเซีย” SRA กล่าว

SRA ได้ตั้งข้อสังเกตุว่า ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือ วันหยุดนักขัตฤกษ์  ชาวสิงคโปร์จำนวนมาก ได้เดินทางข้ามพรมแดนไปยัง เมืองยะโฮร์บาห์รู ประเทศมาเลเซีย แบบไปเช้าเย็นกลับ เพื่อไปช้อปปิ้ง และใช้บริการที่โน่น ซึ่งมีราคาถูกกว่ามาก

ตัวอย่างเช่น การทำเล็บมือ และ เล็บเท้า ที่ยะโฮร์ ค่าบริการเพียง 35 ดอลลาร์ แต่ที่สิงคโปร์สูงถึง 80-120 ดอลลาร์

ค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น ยังกระตุ้นให้ชาวสิงคโปร์ ใช้เวลาวันหยุดมากขึ้น และ พวกเขามีแนวโน้มที่จะกันรายได้ไว้ใช้จ่าย ในต่างประเทศ แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเกิดขึ้นก็ตาม” SRA กล่าว

 Allison Chew วัย 46 ปี  กล่าวว่า ในหนึ่งปีเธอเดินทางไปต่างประเทศ 3-4 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้ง ได้ช้อปปิ้งสิ่งของและสินค้าที่จำเป็น และ สินค้าเทคโนโลยี กลับบ้าน 

“การรับประทานอาหารในสิงคโปร์มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ และที่สำคัญกว่านั้น มันไม่ได้มอบประสบการณ์แบบเดียวกับที่คุณจะได้รับเมื่อเดินทางเพื่อทำความเข้าใจถึงที่มาและวัฒนธรรมของสิงคโปร์” เธอกล่าว

ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน กล่าวเสริมว่า หากการใช้จ่ายไปกับอาหารราคาแพงในสิงคโปร์ในปริมาณเท่ากัน เธอสามารถไปเที่ย วช่วงสุดสัปดาห์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เลย

“ในทำนองเดียวกัน หากใช้เงินดอลลาร์ ต่อดอลลาร์ อาหารยุโรปในสิงคโปร์ ก็สามารถซื้ออาหารที่ดีกว่าได้หลายมื้อในยุโรป ดังนั้นเงินของคุณจึงไปต่อ” เธอกล่าว

Ivan Chua ผู้บริหารฝ่ายไอทีวัย 48 ปี กล่าวว่า การซื้อสินค้าในต่างประเทศของเขาถูกกว่าถึง 15-30%  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอคืนภาษี เขาจึงเดินทางไปช้อปปิ้งต่างประเทศปีละครั้งสองครั้ง

Chua กล่าวด้วยว่า การเดินทางไปต่างประเทศ หมายความว่า จะต้องมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น จากค่าใช้จ่ายตั๋วเครื่องบิน ค่าโรงแรม แต่ไม่ใช่ปัญหาเ พราะได้วางแผนการช้อปปิ้งรวมไว้อยู่แล้ว ทุกวันนี้คนสิงคโปร์ ส่วนใหญ่จะไปเที่ยวพักผ่อนอย่างน้อย ปีละหนึ่งถึงสองครั้ง

https://www.straitstimes.com/business/more-people-in-s-pore-prefer-cheaper-buys-overseas-adding-pressure-to-soft-retail-sector

เปิดประวัติ ลอว์เรนซ์ หว่อง นายกสิงคโปร์ รับต่ำแหน่ง 15 พ.ค.นี้