ล้ม “มิน อ่อง ลาย” คืนประชาธิปไตยสู่เมียนมา กลับมาเจิดจ้าเวทีโลก

ล้ม “มิน อ่อง ลาย” คืนประชาธิปไตยสู่เมียนมา กลับมาเจิดจ้าเวทีโลก สหรัฐฯ จีน รัสเซีย ประสานไทยเป็นตัวกลางหนุนชนกลุ่มน้อย

  • ประชาชนชาวเมียนมาประสงค์
  • จะมีรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง
  • ร่วมกันพัฒนาประเทศออกจากความยากจน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์การสู้รบกันระหว่างชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่ประมาณ 11 กลุ่ม กับ นายพล มิน อ่อง ลาย ผู้นำเผด็จการของรัฐบาลเมียนมาร์ (พม่า) รุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนมีแนวโน้มว่า ที่สุดชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ จะผลักดันให้ นายพล มิน อ่อง ลาย ต้องล่าถอยออกจากประเทศไปจนได้ 

รายงานจากรัฐบาลไทย แจ้งว่า บรรดาประเทศที่เข้าไปมีบทบาทสำคัญกับพม่า และนายพลมิน อ่อง ลาย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็คือ สหรัฐฯ จีน และรัสเซีย ได้ขอเข้าหารือกับผู้นำรัฐบาลไทย โดยพยายามอย่างหนักที่จะขอให้ไทยเข้าไปเป็นตัว กลางในการหารือกับชนกลุ่มน้อยทุกกลุ่มซึ่ง 3 ประเทศยักษ์ใหญ่คาดว่า จะสามารถล้มนายพลมิน อ่อง ลาย สำเร็จ 

โดยเหตุที่ไทยมีเขตติดต่อกับพม่ามากที่สุดถึง 2,000 กว่ากิโลเมตร และมีความสนิทชิดเชื้อกับชนกลุ่มน้อยที่เคยร่วมกันสร้างเป็นรัฐกันชนเพื่อไม่ให้พม่าเข้ารุกรานชายแดนไทยได้นั่นเอง

ทั้งนี้ จีนแจ้งว่า พวกเขาไม่ได้ให้การสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์แก่พม่า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหนมานานแล้ว และได้พยายามเปิดการเจรจาเพื่อไกล่เกลี่ยระหว่างกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า(MNDAA) กับกองทัพของนายพล มิน อ่อง ลาย แล้ว แต่ก็ล้มเหลวทั้งสองครั้ง ขณะที่รัสเซียยอมรับว่าให้ความช่วยเหลือพม่าก็เฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงเท่านั้น 

การหารือเพื่อให้รัฐบาลไทยเป็นตัวกลางเจรจากับชนกลุ่มน้อยทั้งหลายซึ่งมีทั้ง MNDAA กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติ และประชาชนชาวพม่า ร่วมมือกันขับไล่กองบัญชาการกองทัพออกไป โดยหาก MNDAA และประชาชนชาวพม่า ประสงค์

จะมีรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง และร่วมกันพัฒนาประเทศออกจากความยากจน และความล้าหลังเป็นผลสำเร็จ ประเทศยักษ์ใหญ่เหล่านี้จะให้การสนับสนุน และยอมรับพม่าให้กลับมาเจิดจ้าบนเวทีโลกได้ หลังจากอยู่ในวังวนของสงคราม และ อำนาจมืดของเผด็จการทหารมาหลายทศวรรษ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการตอบรับอย่างไม่เป็นทางการจากรัฐบาลไทยในรอบแรกแล้ว แต่เพื่อให้แน่ใจ จำเป็นต้องรอให้สถานการณ์ทุกอย่างสุกงอมก่อน อย่างไรก็ตาม การตอบรับอย่างไม่เป็นทางการนี้เป็นไปเพื่อไม่ให้คนไทย และ การค้าขายตามชายแดนไทย-พม่าเกิดความเสียหาย หรือชะงักงันขึ้น 

“ถ้าทำให้พม่ากลับมาเป็นชาติที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจได้ ก็จะยิ่งเกิดประ โยชน์ทั้งแก่ไทย และ ประเทศในภูมิภาคนี้ เพราะพม่ามีประชากรใกล้ๆกับไทยคือ 60 ล้านคน ของไทยเรามีประมาณ 68 ล้านคน รวมๆกัน ไทยกับพม่า อาจร่วมกันสร้างตลาดที่มีผู้บริโภคสูงถึง 130 – 140 ล้านคนได้ จะพลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับโลกทีเดียว” เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทำเนียบรัฐบาลไทยกล่าว

ถ้าร่วมมือกันได้ด้วยดี ประเทศไทยสามารถผ่องถ่ายการลงทุนหลายประเภทที่บางครั้งอาจทำไม่ได้ในประเทศไทยไปยังพม่าให้ได้รับประโยชน์ร่วมกันได้ด้วย ยิ่งพม่ายังมีทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ได้นำมาใช้อีกมาก ก็ยิ่งเป็นที่น่าสนใจของต่างชาติมากเท่านั้น