นิด้าโพล เผย ทักษิณไม่มีผลต่อ พรรคเพื่อไทย

nidapoll
การเคลื่อนไหวของทักษิณชินวัตร ถึงพรรคเพื่อไทย

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ “จากบทบาท ทักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา” ร้อยละ 40.61 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของ พรรคเพื่อไทย เลือกตั้งครั้งหน้า หวาดเสียวแทน

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้าโพล) เปิดเผยผล การสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “จากบทบาท ทักษิณ ถึง ฝันของนายกฯ เศรษฐา” ทำการสำรวจ ระหว่างวันที่ 9-11 เมษายน 2567 จากประชาชน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง

ทักษิณ เคลื่อนไหว ไม่ส่งผล พรรคเพื่อไทย

เป็นการสำรวจ เกี่ยวกับบทบาทของ ทักษิณ ชินวัตร และความเป็นไปได้ ที่ พรรคเพื่อไทย จะชนะในการเลือกตั้งในครั้งต่อไป การสำรวจ อาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูล ตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการ สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนด ค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็น ของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย จากความเคลื่อนไหว ของ ทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลตำรวจ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.61 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของ พรรคเพื่อไทย

รองลงมา ร้อยละ 33.21 ระบุว่า ส่งผลกระทบในทางลบ ต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 19.54 ระบุว่า ส่งผลกระทบในทางบวก ต่อคะแนนนิยมทางการเมืองของ พรรคเพื่อไทย และร้อยละ 6.64 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

nidapoll2
คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทย

ชาวบ้านไม่อิน พรรคเพื่อไทย ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ด้านความคิดเห็น ของประชาชน ต่อคำกล่าวที่ว่า พรรคเพื่อไทย เป็นพรรคผู้นำ ในการเปลี่ยนแปลง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.47 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย

รองลงมา ร้อยละ 18.85 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 17.94 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 15.73 ระบุว่า เห็นด้วยมาก และร้อยละ 8.01 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ ที่ พรรคเพื่อไทย จะชนะการเลือกตั้ง ในครั้งต่อไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.98 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย

รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ ร้อยละ 21.14 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้ ร้อยละ 12.82 ระบุว่า เป็นไปได้มาก และร้อยละ 3.82 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณา ลักษณะทั่วไป ของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ

ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่างร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ51.91เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตั

วอย่าง ร้อยละ 95.34 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.44 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.22 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่นๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 36.11 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.45 สมรส และร้อยละ 2.44 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 22.44 จบการศึกษาประถมศึกษา หรือต่ำกว่า ร้อยละ 38.24 จบการศึกษามัธยมศึกษา หรือเทียบเท่า

ร้อยละ 8.32 จบการศึกษาอนุปริญญา หรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.11 จบการศึกษาปริญญาตรี หรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.89 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.70 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.95 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.68 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ

ร้อยละ 11.07 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.11 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.46 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.03 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ขณะที่ตัวอย่าง ร้อยละ 22.90 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.40 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.94 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท

ร้อยละ 10.31 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.34 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 6.03 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.08 ไม่ระบุรายได้

ข้อมูลจาก ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  นิด้าโพล

“นิด้าโพล” ทำนายผลเลือกตั้ง เพื่อไทยอันดับ1 ก้าวไกลแลนด์สไลด์ กทม.