กรุงปารีส เตรียมเปิด มหาวิหารนอเทรอดาม ให้เยี่ยมชมธันวาคม

กรุงปารีส เตรียมเปิด มหาวิหารนอเทรอดาม ให้เยี่ยมชมธันวาคม
กรุงปารีส เตรียมเปิด มหาวิหารนอเทรอดาม ให้เยี่ยมชมธันวาคม


มหาวิหารนอเทรอดาม สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยสถาปัตยกรรมโกธิกยุคกลางที่งดงาม อายุเกือบ 900 ปี เตรียมเปิดใหม่เดือนธันวาคมนี้ 

เตรียมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้งในเดือนธันวาคม ที่จะถึงนี้ หลังจากรัฐบาลฝรั่งเศสบูรณะจากเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่เมื่อปี 2019 เป็นเวลา 5 ปี 

นอกจากการบูรณะยอดแหลมอันเป็นเอกลักษณ์ ทางกรุงปารีส ยังได้ประกาศแผนการปรับปรุงบริเวณโดยรอบของมหาวิหารนอเทรอดามด้วยงบประมาณ 50 ล้านยูโร ให้เป็นโอเอซิสสีเขียวอันเงียบสงบ
 

นอกจากโครงการนี้แล้ว องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทางกรุงปารีสยังได้มีแผนการบูณะสาถนที่ทางประวัวิศาสตร์ เช่น ถนนชองป์ เอลิเซ่ และ จัตุรัสคองคอร์ด หรือ ปลัส เดอ ลา กงกอร์ (Place de la Concorde) ถูกออกแบบใหม่ที่มุ่งลดปริมาณการจราจรบริเวณประตูชัย และทางเดินสีเขียวที่เชื่อมต่อสถานที่สำคัญของเมืองหลวงของฝรั่งเศส

มหาวิหารนอเทรอดาม ตั้งอยู่บนเกาะ อีล เดอ ลา ซิเต้ กลางแม่น้ำแซน เริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1163 ในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 และสร้างเสร็จในปี 1345 เคยได้รับความเสียหายและถูกปล่อยปละละเลยในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส และนำไปสู่การบูรณะครั้งใหญ่ระหว่างปี 1844-1864

มหาวิหารนอเทรอดามไดเขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกใน ปี 1991 แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกไปเยี่ยมชมมหาวิหาร 13 ล้านคน เฉลี่ยวันละ 35,000 คน

ตัวอาคารมีความสูงวัดถึงยอดอยู่ที่ 69 เมตร กว้าง 69 เมตร ยาว 128 เมตร ภายในและภายนอกอาคารประดับประดาด้วยประติมากรรม และหน้าต่างกระจกสี และถูกยกย่องเป็น “อัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมโกธิกยุคกลาง” 

เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสหลายอย่างเกิดขึ้นในมหาวิหารแห่งนี้ เช่น การสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิของนโปเลียน โบนาปาร์ต 

มหาวิหารนอเทรอดามกับการเกิดใหม่อีกครั้ง

ในวันที่ 8 ธันวาคมนี้ถือเป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของกรุงปารีส ซึ่งถือเป็นการเติมเต็มคำปฏิญาณของประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ที่ให้ไว้หลังจากเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่เมื่อปี 2019 เป็นเวลา 5 ปี แม้ว่ายอดแหลมของมหาวิหารและหลังคากรอบไม้โอ๊กจะได้รับการบูรณะให้กลับคืนสู่สภาพเดิมก่อนเกิดเพลิงไหม้แล้ว แต่แผนการพัฒนาพื้นที่รอบ ๆ กำลังนำเสนอสิ่งใหม่ๆ เช่นกัน

กับโครงการที่มุ่งสู่อนาคตที่จะสร้างพื้นที่สีเขียวจำนวน 1,800 ตารางเมตร และปลูกต้นไม้ 160 ต้น ตามข้อมูลจากการแถลงข่าวนายกเทศมนตรีแอนน์ อิดัลโก

อิดัลโก กล่าวว่า การออกแบบใหม่นี้จะผสานธรรมชาติและแม่น้ำแซนเข้ากับพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ และ เน้นย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย “เพื่อเน้นย้ำมหาวิหารที่สวยงามของเราให้ดีขึ้นและทำให้มีความยุติธรรม ขณะเดียวกันก็เคารพประวัติศาสตร์ของมหาวิหารด้วย”

การออกแบบใหม่นี้ รวมถึงการเปลี่ยนพื้นที่จอดรถใต้ดิน ให้เป็นพื้นที่สำหรับผู้มาเยี่ยมเยือน พร้อมบริการ และ สิ่งอำนวยความสะดวก 

นอกจากนี้ ท่าเรือ ที่อยู่ติดกับแม่น้ำแซนจะได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยเปิดทางให้เดินเล่นเลียบแม่น้ำได้สะดวกขึ้น หอชมวิว จะให้ทัศนียภาพอันกว้างไกลของ เกาะอีลแซ็งต์หลุยส์ และ แม่น้ำแซน ซึ่งจะช่วยยกระดับประสบการณ์ของผู้เยี่ยมชมให้ดียิ่งขึ้น

โครงการนี้จะดำเนินการเป็น 2 เฟส โดยเฟสแรกจะเน้นที่ปาร์วิสและถนนโดยรอบ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2027 ส่วนเฟสที่สอง ซึ่งจะรวมถึงการปรับปรุงจัตุรัสฌอง-XXIII  เป็นสวนสาธารณะที่ตั้งอยู่ด้านหลังของมหาวิหารนอเทรอดาม และ บริเวณใกล้เคียงอื่นๆ มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2030


การเปลี่ยนแปลงจัตุรัสคองคอร์ด


จัตุรัสคองคอร์ด หรือ Place de la Concorde เป็นเสาโอเบลิสก์หินแกรนิตขนาดใหญ่จากประเทศอียิปต์ อายุกว่า 3,300 ปี ใจกลางกรุงปารีส จะได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ระหว่างปี 2026 – 2027

เจ้าหน้าที่กรุงปารีสได้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมกว่า 12 คน เพื่อวางแผนว่าจะอนุรักษ์ประวัติศาสตร์อันยาวนานของจัตุรัสนี้ไว้ได้อย่างไร ขณะเดียวกันก็ปรับให้จัตุรัสนี้สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความเขียวขจีที่ทันสมัยของเมือง คาดว่าจะมีพื้นที่สีเขียวมากขึ้นและการจราจรน้อยลง เนื่องจากการปรับปรุงครั้งนี้จะรักษาความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไว้กับการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบใหม่

การปรับปรุง หอไอเฟล กับข้อพิพาท

การปรับปรุงโฉมใหม่ของหอไอเฟลหลังมหกรรมโอลิมปิก ที่กรุงปารีส เป็นเจ้าภาพล่าสุด ไม่ได้ราบรื่นเสมอไป โดย “อานน์ อีดาลโก” และ  ”ราชิดา ดาติ” สองนักการเมืองหญิง ที่เสนอแนวคิดการปรับปรุงที่ค่อนข้างแตกต่าวกันและต่อสู้กันอย่างดุเดือด

โดย “อีดาลโก” เสนอให้คงห่วงโอลิมปิกไว้กับหอไอเฟลต่อไปหลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซึ่งสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม เธอโต้แย้งว่าห่วงดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของ “จิตวิญญาณแห่งการเฉลิมฉลอง” ของโอลิมปิกที่ปารีสที่ประสบความสำเร็จ และต้องการให้คงไว้จนถึงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งต่อไปที่ลอสแองเจลิสในปี 2028 อย่างน้อย

อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์กล่าวว่า “อีดาลโก” กำลังใช้หอไอเฟลเป็นป้ายโฆษณาทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของเธอก่อนการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีในปี 2026 ซึ่งคาดว่าเธอจะต้องเผชิญหน้ากับ “ดาติ”

ขณะที่ “ดาติ”  ได้ออกมาคัดค้านแผนดังกล่าวอย่างเปิดเผย โดยโต้แย้งว่าหอคอยแห่งนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการคุ้มครอง และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากไม่ได้ปรึกษาหารืออย่างเหมาะสม เธอได้กล่าวหา ว่า “อีดาลโก” ใช้หอไอเฟลเป็น “โปสเตอร์หาเสียงส่วนตัว” ในขณะที่ “อีดาลโก” โต้แย้งว่าห่วงโอลิมปิกเป็นเพียงเครื่องบรรณาการที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อความสำเร็จของโอลิมปิกที่กรุงปารีส

“ดาติ” ได้ยื่นคำขาดเพื่อผลักดันให้หอไอเฟลได้รับการจัดให้เป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์อย่างสมบูรณ์ 

https://shorturl.asia/sNV3G

https://thejournalistclub.com/economics-olympics-news/