ไทยร่วมลงนาม Nexus โอนเงินผ่านมือถือได้ทันทีใน 4 ประเทศ

ไทยร่วมโครงการ Nexus ประกอบด้วยไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และ อินเดีย โอนเงินหากันได้ผ่านแอปท้องถิ่น
ไทยร่วมโครงการ Nexus ประกอบด้วยไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และ อินเดีย โอนเงินหากันได้ผ่านแอปท้องถิ่น

ไทยร่วม 4 ชาติเปิดทางให้ประชาชนจำนวน 1,700 ล้านคนสามารถโอนเงินผ่านมือถือได้ผ่านโครงการ Nexus กลุ่มแรกประกอบด้วยไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์และอินเดียผ่านแอปท้องถิ่นของแต่ละประเทศแต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะเริ่มต้นเมื่อไร

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับธนาคารกลางในภูมิภาค และ ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements: BIS) ประกาศความสำเร็จในการออกแบบบริการ และ กระบวนการทำงานเพื่อรองรับการเชื่อมโยงบริการโอนเงินระหว่างประเทศแบบพหุภาคี สำหรับผู้ใช้บริการรายย่อย (ภายใต้โครงการ Nexus ระยะที่ 3)

นอกจากนี้ ธปท. ร่วมกับธนาคารกลางประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินเดีย ในฐานะสมาชิกกลุ่มแรก ลงนามข้อตกลงเข้าร่วมโครงการ เน็กซัส ระยะที่ 4 (อินโดนีเซียเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์) และ มุ่งหวังว่าจะมีประเทศอื่น ๆ เข้าร่วมในภายหลัง โดยการดำเนินการของโครงการระยะที่ 4 จะเป็นการจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อผลักดันให้การเชื่อมระบบการชำระเงินของประเทศสมาชิกเป็นไปตามแผนงาน เพื่อเตรียมเปิดให้บริการต่อไป

โครงการดังกล่าว เป็นการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินแบบทันที (instant payment) ของแต่ละประเทศใ นลักษณะพหุภาคี (multilateral payment linkage) ผ่านระบบกลางที่ประเทศต่าง ๆ สามารถเข้ามาเชื่อมได้ทันที

สำหรับ ธปท. ได้เข้าร่วมโครงการนี้ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้การชำระเงินระหว่างประเทศมีความสะดวก ต้นทุนต่ำ ปลอดภัย และ โปร่งใส ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่จะใช้บริการ

Mr. Agustín Carstens, BIS General Manager กล่าวว่า “โครงการเน็กซัส จะเป็นโครงการแรกของ BIS Innovation Hub (BISIH) ที่ธนาคารกลาง และ ผู้ให้บริการระบบการชำระเงินจะร่วมเดินหน้าตามแผนงานด้วยกัน โดยความสำเร็จ ในการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินของโครงการเน็กซัส จะทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศมีค่าบริการที่เหมาะสม สอดคล้องกับแนวทางของกลุ่ม G20 และ เป็นไปตามเจตนารมณ์ ในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของระบบการชำระเงิน โดยเมื่อการเชื่อมต่อระยะแรกสำเร็จ โครงการเน็กซัส จะช่วยเอื้อประโยชน์ต่อการทำธุรกรรมการโอนเงินระหว่างประชาชนใน 5 ประเทศ ที่มีประชากรรวมกันกว่า 1.7 พันล้านคน ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และต้นทุนต่ำ”

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า “ธปท. มีความยินดีที่ได้ร่วมผลักดันโครงการเน็กซัส มาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้ประชาชน โดยเฉพาะแรงงานที่อยู่ต่างประเทศได้รับประโยชน์ในวงกว้างจากการแก้ไขปัญหาในการทำธุรกรรมการโอนเงินระหว่างประเทศ ด้วยการเชื่อมต่อ ระบบการชำระเงินที่รวดเร็วของประเทศต่าง ๆ ให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน ทั้งนี้ แม้ว่าโครงการ เน็กซัส จะริเริ่มจากภายในภูมิภาคอาเซียน แต่ เน็กซัส มีจุดมุ่งหมายในการขยายบริการให้ครอบคลุมทั่วโลกต่อไปในอนาคต”

ขณะที่ รายงานข่าวจากสิงคโปร์ระบุว่า แถลงการณ์ของ BIS ไม่ได้ระบุว่าระบบการชำระเงินใหม่จะเริ่มใช้งานเมื่อใด

บทสรุป โครงการ Nexus

  1. ระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนใหม่: ประเทศสิงคโปร์ , อินเดีย , มาเลเซีย , ไทย และ ฟิลิปปินส์ ได้ตกลงกันจัดตั้งองค์กรใหม่ชื่อ Nexus Scheme Organisation (NSO) เพื่อพัฒนาระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนแบบทันทีทันใด
  2. การเชื่อมต่อระบบชำระเงิน: เน็กซัส จะเป็นระบบที่มาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่างระบบชำระเงินภายในประเทศกับระบบข้ามพรมแดน แทนที่จะต้องสร้างการเชื่อมต่อแบบเฉพาะกับแต่ละประเทศ
  3. ข้อดีของ Nexus: เน็กซัส จะช่วยให้การโอนเงินข้ามพรมแดนเร็วขึ้น ถูกลง และ ปลอดภัยมากขึ้น เมื่อเทียบกับการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือ ตัวแทนรับส่งเงิน
  4. ขนาดตลาดการโอนเงินข้ามพรมแดน: การโอนเงินข้ามพรมแดนผ่านช่องทางธนาคาร มีมูลค่ารวมกว่า 150 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2022 ขณะที่ การโอนเงินแบบ real-time มีมูลค่าเพียง 195 พันล้านดอลลาร์
  5. ความคาดหวังของ BIS: BIS คาดว่า เน็กซัส จะช่วยให้ประชาชน และ ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเข้าถึงบริการการโอนเงินข้ามพรมแดนได้ง่าย และ ถูกลง

โดยสรุป เน็กซัส จะเป็นระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนแบบทันทีทันใดที่แรกของโลก ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนและธุรกิจขนาดเล็กสามารถโอนเงินข้ามประเทศได้อย่างสะดวกและคุ้มค่ามากขึ้น

https://www.bot.or.th/en/news-and-media/news/news-20240701.html

https://www.straitstimes.com/business/singaporeans-will-be-able-to-instantly-send-money-from-mobile-phones-to-four-other-asian-countries

https://thejournalistclub.com/news-inflation-ecomomic-travel-export