“นิด้าโพล” เผยประชาชน ไม่ค่อยพอใจการทำงานรัฐบาล 9 เดือน ของ “เศรษฐา “

นิด้าโพล
"เศรษฐา ทวีสิน”

“นิด้าโพล” เปิดผลสำรวจประชาชน ไม่ค่อยพึงพอใจการทำงานรัฐบาล 9 เดือน ของ “เศรษฐา ทวีสิน” ระบุความก้าวหน้าไม่มี แต่เชื่อว่าจะยังอยู่ในตำแหน่งนายกฯ ต่อ

  • ระบุความก้าวหน้าไม่มี
  • แต่เชื่อว่าจะยังอยู่ในตำแหน่งนายกฯ ต่อ

วันที่ 9 มิถุนายน 2567 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ขอถามบ้าง … 9 เดือน รัฐบาลนายกฯ เศรษฐา” ซึ่งทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

ซึ่งกระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ในรอบ 9 เดือน

โดย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจาก บัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล”

มีการ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

ความพึงพอใจ

ทั้งนี้ จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำงานของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ในรอบ 9 เดือน พบว่า

1.ร้อยละ 34.35 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ เพราะ การบริหารจัดการในเรื่องต่าง ๆ มีความล่าช้า และ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างไปจากเดิม

2.ร้อยละ 31.69 ระบุว่า ไม่พอใจเลย เพราะ ไม่มีความก้าวหน้าในการทำงานและไม่สามารถทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้

3.ร้อยละ 25.19 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ เพราะ มีความพยายามผลักดันนโยบายต่าง ๆ ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น และเห็นผลงานที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา

4.ร้อยละ 7.40 ระบุว่า พอใจมาก เพราะ มีความตั้งใจในการทำงาน ช่วยเหลือประชาชน ทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น และร้อยละ 1.37 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความเชื่อมั่นของประชาชน

ต่อรัฐบาลนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ในการแก้ไขปัญหาของประเทศ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.95 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย เพราะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น ผลงานยังไม่ชัดเจน แก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ

นอกจากนี้ ในส่วนที่รองลงมา ร้อยละ 35.04 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น เพราะ การทำงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ แก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด

ส่วน ร้อยละ 22.14 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น เพราะ มีประสบการณ์ในการทำงาน มีทักษะด้านการบริหาร สามารถทำให้ประเทศพัฒนาขึ้นได้ ร้อยละ 5.42 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก เพราะ รัฐบาลมีความตั้งใจในการแก้ไขปัญหา มีการบริหารที่ดีสามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้ และร้อยละ 1.45 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อถามถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นกับรัฐบาลนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ภายในระยะเวลา 2 เดือน

โดยพบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 43.44 ระบุว่า นายกฯ เศรษฐา ยังคงอยู่ในตำแหน่งเหมือนเดิม

รองลงมา ร้อยละ 15.65 ระบุว่า พรรคร่วมรัฐบาลยังคงเหมือนเดิม ร้อยละ 15.50 ระบุว่า จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 10.92 ระบุว่า จะมีการยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 10.46 ระบุว่า จะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี แต่ยังคงมาจากพรรคเพื่อไทย

สำหรับอีก ร้อยละ 6.56 ระบุว่า จะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี โดยนายกฯ คนใหม่จะมาจากพรรคฝ่ายค้าน

ขณะเดียวกันนั้น ร้อยละ 6.11 ระบุว่า จะมีการสลับขั้วทางการเมือง เปลี่ยนรัฐบาล ร้อยละ 4.58 ระบุว่า จะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี

และนายกฯ คนใหม่จะมาจากพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบัน ร้อยละ 3.21 ระบุว่า สส. ฝ่ายรัฐบาลจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.05 ระบุว่า จำนวนพรรคร่วมรัฐบาลจะลดลง

ทั้งนี้ อีกจำนวนกว่า ร้อยละ 2.60 ระบุว่า จำนวนพรรคร่วมรัฐบาลจะเพิ่มขึ้น และ สส. ฝ่ายรัฐบาลจะมีจำนวนลดลง ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 12.67 ระบุว่า ไม่ตอบ / ไม่สนใจ

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง  ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79   

เพศ-อายุ

และ มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ส่วน ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.26 นับถือศาสนาพุทธ

สำหรับอีก ร้อยละ 3.28 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.46 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ขณะที่ ตัวอย่าง ร้อยละ 35.65 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.60 สมรส และร้อยละ 2.75 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 20.61 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.50 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า

ระดับการศึกษา

อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 9.39 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า  ร้อยละ 28.40 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 6.10 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ขณะเดียวกัน ตัวอย่าง ร้อยละ 9.08 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.18 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.15 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ

นิด้าโพลยังระบุอีกว่า ตัวอย่างร้อยละ 11.76 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.65 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน

ซึ่ง ร้อยละ 20.38 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.80 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

รายได้เฉลี่ย

นอกจากนี้ ตัวอย่าง ร้อยละ 21.45 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.63 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 33.05 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.76 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท

ขณะที่ ร้อยละ 4.05 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.20 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 7.86 ไม่ระบุรายได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ผลงาน ชัชชาติ รอบ 2 ปี นิด้าโพล สำรวจ ได้ “ค่อนข้างดี”

: เว็บไซต์ นิด้าโพล