พาณิชย์ เผย เงินเฟ้อไทย ส.ค. 67 สูงขึ้น 0.35%

เงินเฟ้อ
พาณิชย์ เผย เงินเฟ้อไทย ส.ค. 67 สูงขึ้น 0.35%


พาณิชย์ เผย เงินเฟ้อไทย ส.ค. 67 สูงขึ้น 0.35% ปัจจัยสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร จากฝนตกหนักและอุทกภัย

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนสิงหาคม 2567 เท่ากับ 108.79 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมพาณิชย์ เผย เงินเฟ้อไทย ส.ค. 67 สูงขึ้น 0.35% 2566 ซึ่งเท่ากับ 108.41 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นในอัตราชะลอตัวที่ร้อยละ 0.35 (YoY)

โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้า ในกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะผักสดและผลไม้สด เนื่องจากสถานการณ์ฝนตกหนักและอุทกภัยในบางพื้นที่เพาะปลูก ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง รวมถึงข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และอาหารสำเร็จรูป อาทิ กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวราดแกง และอาหารตามสั่ง ราคาปรับสูงขึ้นเช่นกัน ขณะที่สินค้ากลุ่มพลังงาน (แก๊สโซฮอล์ ค่ากระแสไฟฟ้า) ราคาปรับลดลง สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก

ดัชนีเศรษฐกิจการค้า
ดัชนีเศรษฐกิจการค้า เดือน ส.ค.2567

เงินเฟ้อของไทยต่ำเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน

อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนกรกฎาคม 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทย สูงขึ้นร้อยละ 0.83 ซึ่งยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 10 จาก 128 เขตเศรษฐกิจ ที่ประกาศตัวเลข และต่ำเป็นอันดับ 2 ในอาเซียนจาก 8 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สปป.ลาว)

หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.68 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน กลุ่มสิ่งที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด กลุ่มค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (แชมพู สบู่ถูตัว ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว ครีมนวดผม) และกลุ่มเสื้อผ้า

อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ราคาสูงขึ้น อาทิ น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน ค่าเช่าบ้าน ค่ารถรับส่งนักเรียน ค่าแต่งผมบุรุษและสตรี และเครื่องถวายพระ เป็นต้น เงินเฟ้อพื้นฐาน (เงินเฟ้อทั่วไป เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก) สูงขึ้นร้อยละ 0.62 (YoY) เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนกรกฎาคม 2567 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.52 (YoY)

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนสิงหาคม 2567 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.07 (MoM) ตามการสูงขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.79 ปรับสูงขึ้นตามราคาอาหาร

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เฉลี่ย 8 เดือน (มกราคม – สิงหาคม) ของปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สูงขึ้นร้อยละ 0.15 (AoA)  

อัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายน 2567 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกันยายน 2567 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2567 โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่

(1) ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศที่กำหนดเพดานไม่เกิน 33 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน

(2) ผลกระทบจากอุทกภัยทำให้ราคาผักสดและผลไม้สดปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากแหล่งเพาะปลูกในบางพื้นที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเป็นผลกระทบระยะสั้น และ

(3) สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจจะส่งผลกระทบให้เกิดความไม่แน่นอนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ รวมถึงต้นทุนค่าขนส่งทางเรือปรับตัวเพิ่มขึ้น

เงินเฟ้อ
ค่าใช้จ่ายครัวเรือน

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง

ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง ได้แก่

(1) ค่ากระแสไฟฟ้าภาคครัวเรือนอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อนหน้าตามมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ

(2) ฐานราคาน้ำมันดิบดูไบในตลาดโลกในปีก่อนหน้าที่อยู่ระดับสูง ประกอบกับราคาน้ำมันดิบดูไบในปัจจุบันมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ หรืออาจจะลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะขยายตัวระดับต่ำ และ (3) การลดราคาสินค้าและการแข่งขันในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีกในประเทศ และการค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ ทำให้สินค้าจำนวนมากปรับลดราคาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.0 – 1.0 (ค่ากลาง ร้อยละ 0.5) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

กระทรวงพาณิชย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ดาวโจนส์ปิดร่วงแรง 422 จุด ตื่นตระหนกเงินเฟ้อสูงเกินคาด