ลงทุน ไทย ไตรมาสแรกขอบีโอไอ 724 โครงการ 2.28แสนล้าน

ลงทุน ไทย บีโอไอ ไตรมาสแรก
ตัวเลขขอรับการส่งเสริมการลงทุน

บีโอไอ เผยยอดขอรับการส่งเสริมการ ลงทุน ใน ไทย ไตรมาสแรก ปี 2567 มีคำขอรับการส่งเสริม 724 โครงการ เงิน ลงทุน  228,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 สะท้อนศักยภาพของ ไทย พร้อมเดินหน้า เข้าสู่ปีทอง แห่งการลงทุน

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า  ทิศทาง การ ลงทุน ใน ไทย ยังมีแนวโน้มที่ดี และเติบโต อย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสแรก การส่งเสริมการ ลงทุน เพิ่มสูงขึ้น ในทุกขั้นตอน

ยื่นขอรับการส่งเสริม ลงทุน ใน ไทย ไตรมาสแรก 724 โครงการ

ทั้งการขอรับ การส่งเสริม การอนุมัติ ให้การส่งเสริม การออกบัตรส่งเสริม และเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนโครงการ และเงินลงทุน โดยในส่วนของ ตัวเลขการขอรับ การส่งเสริมการลงทุน ในไตรมาสแรก  ปี 2567 มีจำนวน 724 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94

เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน มูลค่า เงิน ลงทุน รวม 228,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 สะท้อนถึง ศักยภาพของประเทศไทย และความเชื่อมั่น ของนักลงทุน

ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผล จากการที่รัฐบาลไทย เดินหน้า บุกดึงการลงทุน จากกลุ่มบริษัทชั้นนำทั่วโลก

การแก้ไข ปัญหาการค้า และการลงทุน อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง รวมทั้ง การประกาศ มาตรการส่งเสริมการลงทุน ด้าน ต่าง ๆ ของ บีโอไอ

นอกจากนี้ ยังได้รับ แรงผลักดัน จากกระแส การย้ายฐาน การผลิต เพื่อลดความเสี่ยง จากปัญหา ความขัดแย้ง ทางภูมิรัฐศาสตร์

กลุ่ม 5 อุตสาหกรรม ลงทุน ใน ไทย สูงสุด

อีกทั้งมีการ ลงทุน จำนวนมาก ในอุตสาหกรรมใหม่ หรือเทคโนโลยีใหม่ ตามเทรนด์โลก เช่น กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน

กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มพลังงานหมุนเวียน และกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่

เพื่อรองรับการขยายตัวของ AI และการเปลี่ยนผ่าน ไปสู่ดิจิทัลขององค์กรต่าง ๆ เป็นต้น

กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเงิน ลงทุน สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 77,194 ล้านบาท

รองลงมาได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วน 21,328 ล้านบาท ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 17,672 ล้านบาท ดิจิทัล 17,498 ล้านบาท เกษตรและแปรรูปอาหาร 13,278 ล้านบาท ตามลำดับ

ทั้งนี้สำหรับ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีเงินลงทุนสูงสุด ส่วนใหญ่ เป็นการ ลงทุน ในกิจการ ผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Printed Circuit Board: PCB)

กิจการผลิต เซมิคอนดักเตอร์ ต้นน้ำ (Wafer Fabrication) ชนิดซิลิคอน คาร์ไบด์ สำหรับ Power Electronics และ กิจการผลิต ผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และเครื่องใช้ไฟฟ้า อัจฉริยะ

สำหรับ การลงทุน โดยตรง จากต่างประเทศ (FDI) ยังคงขยายตัว อย่างต่อเนื่อง มีโครงการ ยื่นขอรับ การส่งเสริม จำนวน 460 โครงการ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 130 มูลค่า

เงินลงทุน รวม 169,322 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16

ลงทุน ไทย บีโอไอ BOI
การขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทยไตรมาสแรกปี 2567

เปิด 5 ประเทศ ลงทุน ในไทยสูงสุด

โดยประเทศ เขตเศรษฐกิจ ที่มีมูลค่า การขอรับ การส่งเสริมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์ 42,539 ล้านบาท จีน 34,671 ล้านบาท ฮ่องกง 26,573 ล้านบาท

ไต้หวัน 19,960 ล้านบาท และออสเตรเลีย 17,248 ล้านบาท ตามลำดับ

ทั้งนี้ มูลค่า การลงทุน ของสิงคโปร์ ที่สูงขึ้น เกิดจาก การลงทุน ขนาดใหญ่ ของบริษัท สิงคโปร์ที่มีบริษัทแม่ เป็นสัญชาติจีน ในกิจการผลิต แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB)

ในแง่พื้นที่ เงินลงทุน ส่วนใหญ่ อยู่ในพื้นที่ ภาคกลาง มีมูลค่า 97,651 ล้านบาท จาก 300 โครงการ รองลงมา ได้แก่ ภาคตะวันออก 95,112 ล้านบาท

ภาคเหนือ 17,665 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7,849 ล้านบาท ภาคใต้ 7,045 ล้านบาท และภาคตะวันตก 2,885 ล้านบาท ตามลำดับ

นอกจากนี้ การขอรับ การส่งเสริม ตามมาตรการ ยกระดับอุตสาหกรรม ไปสู่ Smart และ Sustainable Industry ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจ มากขึ้นเป็นลำดับ ในไตรมาสแรก ปี 2567 มีคำ ขอรับการ ส่งเสริมจำนวน 105 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36

และมีมูลค่าเงินลงทุน รวม 5,713 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 ส่วนใหญ่ เป็นการลงทุน ด้านการประหยัดพลังงาน และการใช้ พลังงานทดแทน

รองลงมาคือ ด้านการปรับเปลี่ยน เครื่องจักรและการนำ ระบบอัตโนมัติ มาใช้ในสาย การผลิต

สำหรับการอนุมัติ ให้การส่งเสริม การลงทุน ไตรมาสแรก ปี 2567 มีจำนวน 785 โครงการ เงินลงทุน รวม 254,928 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6

โดยประโยชน์ ของโครงการเหล่านี้ คาดว่าจะทำให้ มูลค่าส่งออกของประเทศ เพิ่มขึ้นกว่า 600,000ล้านบาท/ปี

มีการใช้ วัตถุดิบ ในประเทศ ไทย ประมาณ 240,000 ล้านบาท/ปี คิดเป็น สัดส่วน ประมาณ ร้อยละ 50 ของมูลค่า วัตถุดิบทั้งหมด

และเกิดการจ้างงาน คนไทยประมาณ 50,000 ตำแหน่ง

สำหรับ การออกบัตรส่งเสริม ซึ่งเป็นขั้นตอน ที่ใกล้เคียงการลงทุนจริง มากที่สุด เพิ่มขึ้นมาก เช่นเดียวกัน โดยมี จำนวน 647 โครงการ เงินลงทุนรวม 256,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 107

โอกาสทองของ ไทย การ ลงทุน อุตสาหกรรมเป้าหมาย

สำหรับจังหวะเวลานี้ มีความสำคัญ และเป็นโอกาสทอง ของประเทศ ไทย ในการดึงการลงทุน อุตสาหกรรม เป้าหมายใหม่ ๆ เพื่อวางรากฐาน เศรษฐกิจไทย ในระยะยาว

เราเชื่อว่าประเทศไทย มีศักยภาพที่จะเป็น ศูนย์กลางการลงทุน ของภูมิภาค

ด้วยความโดดเด่น ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะ ด้านโครงสร้าง พื้นฐาน ความเสถียรของไฟฟ้า และความพร้อม ด้านพลังงานสะอาด ซัพพลายเชน ที่แข็งแกร่ง

คุณภาพของ บุคลากร สภาพแวดล้อมที่ดี ปัจจัยที่เอื้อสำหรับ การเข้ามาทำงานและอยู่อาศัย ของผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญ ต่างชาติ

รวมทั้ง มาตรการสนับสนุน จากภาครัฐ ในไตรมาสแรกนี้ มีการลงทุน สำคัญเกิดขึ้น ในไทยหลาย โครงการ ไม่ว่าจะเป็น ยานยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ต้นน้ำ ดาต้าเซ็นเตอร์ ขนาดใหญ่

รวมทั้ง โครงการ ผลิตเอนไซม์ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ซื่งเป็นโครงการไบโอรีไฟเนอรี่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน

สิ่งเหล่านี้ เป็นเครื่องพิสูจน์ ความพร้อมของ ไทย สำหรับการสร้างฐาน อุตสาหกรรมแห่งอนาคต และทำให้เห็นว่า ประเทศไทย สามารถตอบโจทย์ การลงทุน ในทิศทางใหม่ๆ ที่สอดคล้อง กับเทรนด์โลก ได้เป็นอย่างดี

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ธอส.-บีโอไอ หนุนผู้ประกอบการอสังหาฯสร้างบ้านราคาไม่เกิน1.5ล้าน