

- ชี้ภาวะเสี่ยงที่ผู้กู้จะไม่สามารถชำระหนี้ได้
- ขณะที่เศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกอาจหยุดน่ิง
IMF ระบุประเทศต่างๆสนใจเข้ากองทุนฉุกเฉิน ชี้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นภัยคุกคามการระบบการเงินโลก และเสี่ยงที่ผู้กู้จะไม่มีความสามารถชำระคืนเงินกู้
.“เจซี เพนนีย์” จ่อยื่นล้มละลายพิษโควิด
เจซี เพนนีย์ ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ของสหรัฐ ซ่ึงมีสาขากว่า 850 แห่ง กำลังจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอพิ ทักษ์ทรัพย์ตามกฎหมายล้มละลาย หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้บริษัทต้องปิดห้างสรรพสินค้า 850 แห่งเป็นการชั่วคราว และส่งผลให้แผนฟื้นฟูกิจการต้องหยุดชะงักลง ทั้งนี้ เจซี เพนนีย์ ยังคงมีเงินสดเพียงพอที่จะอยู่รอดต่อไปในอีกหลายเดือน แม้บริษัทสูญเสียรายได้จากการปิดห้างสรรพสินค้าก็ตาม กระนั้นบริษัทกำลังพิจารณาที่จะยื่นขอล้มละลายเพื่อเป็นหนทางหนึ่งในการจัดการกับสถานะการเงินที่ไม่ยั่งยืน และเพื่อรักษาเงินสดไว้จากการชำ ระหนี้ซึ่งรวมถึงการจ่ายดอกเบี้ยประจำปีด้วย เจซี เพนนีย์ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองพลาโน รัฐเท็กซัส ยังไม่ได้ตัดสินใจในขั้นสุดท้ายว่าจะแก้ไขสถานะการเงินโดยขอให้เจ้าหนี้ผ่อนผันหนี้นอกกระบวนการศาลล้มละลายอย่างไร
สหรัฐเผยยอดค้าปลีกดิ่งหนัก 8.7%
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกทรุดตัวลง 8.7% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการดิ่งลงหนักที่สุดนับตั้งแต่ที่รัฐบาลเริ่มมีการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 35 และย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะร่วงลง 8.0% หลังจากลดลง 0.4% ในเดือนก.พ.ทั้งนี้ยอดค้าปลีกได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้มีการปิดร้านค้า ขณะที่ประชาชนอยู่แต่ในบ้านและลดการใช้จ่ายรวมทั้งลดการเดิน ทาง ซึ่งทำให้ยอดขายของสถานีบริการน้ำมันดิ่งลง
IMF ชี้เศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกอาจหยุดนิ่ง
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF)เปิดเผยมุมมองการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ว่ามีแนวโน้มหยุดนิ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปีจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 นายชางยอง รี ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชีย และแปซิฟิกของไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า รัฐบาลประเทศต่างๆในภูมิภาคควรใช้ประโยชน์จากนโยบายที่มีอยู่ทั้ง หมดเข้ามาสนับสนุนเศรษฐกิจในประเทศระหว่างที่ต้องเผชิญการแพร่ระบาด ขณะเดียวกันก็ต้องให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กไปพร้อมกันเพราะการแพร่ระบาดของไวรัสส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจมาก กว่าวิกฤตที่เคยเกิดขึ้นซึ่งทำให้การขยายตัวของภูมิภาคลดลงโดยขณะนี้มีประเทศในภูมิภาค 17 ประเทศที่แสดงความ สนใจกองทุนฉุกเฉินของไอเอฟเอ็ม
IMF ชี้โควิดเป็นภัยคุกคามระบบการเงินโลก
IMF ยังคาดการณ์ว่า หนี้สินทั่วโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 13% แตะระดับ 96.4% ของGDP ปี 63 ซ่ึงอยู่ที่ระดับ 87 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ นายวิเตอร์ กาสปาร์ ผู้อำนวยการกิจการการคลังของ IMF กล่าวว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหนี้สินเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากมาตรการทางการคลังที่กำหนดขึ้นเพื่อสู้โรคระบาดโดยประเทศต่างๆ ได้ใช้มาตร การทางการคลังรวมกันถึงประมาณ 8 ล้านล้านเหรียญเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดและความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยมีกลุ่ม G20 เป็นผู้นำ เขายังระบุว่าโรคระบาดนี้เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อเสถียรภาพการเงินโลก ขณะที่ระบบการเงินโลกอยู่ในภาวะตึงตัวรวดเร็วจนอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อตลาดการเงินโลก ทั้งยังทำให้ตลาดการเงินผันผวน ต้นทุนการกู้ยืมพุ่งสูง และมีสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดการระดมทุนขนาดใหญ่ก็ตกอยู่ในภาวะตึงตัวเช่นกัน น่ันสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงที่ผู้กู้ยืมไม่สามารถชำระหนี้ได้และสร้างแรงกดดันต่อธนาคารพาณิชย์จนส่งผลให้ตลาดสินเชื่อตกอยู่ในภา วะชะงักงัน”
IMF คาดเศรษฐกิจโลกจะหดตัว 3%
IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้ จะหดตัว 3%เพราะวิกฤตการณ์ในปีนี้แตกต่างจากวิกฤตการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และทำให้ IMF ได้รับคำร้องขอความช่วยเหลือฉุกเฉินจากประเทศสมาชิกมากเป็นประวัติการณ์ โดยมีสมาชิกกว่า 90 ประเทศ จากทั้งหมด 189 ประเทศที่เรียกร้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ในปีนี้ ส่วนสหรัฐ เศรษฐกิจจะติดลบ 5.9% ในกลุ่มสหภาพยุโรป ติดลบ 7.5% เยอรมนี ติดลบ 7.0% ฝร่ังเศส ติดลบ 7.2% ส่วนอิตาลี ร่วงลงหนักสุด ติดลบ 9.1% อังกฤษ ติดลบ 6.5% ญี่ปุ่นติดลบ 5.2% แคนาดา ติดลบ 6.2% ส่วนจีนขยายตัว 1.2% และอินเดียขยายตัว 1.9%
เวิลด์แบงก์เตือนอย่าให้อินเดียติดโควิด-19
นายจูเนด อาห์หมัด ผู้อำนวยการธนาคารโลก (World Bank) ประจำอินเดีย ออกมาเตือนว่า อินเดียจะกลายเป็นศูนย์กลางของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ได้ เพราะทั่วโลกจะรับมือไม่ไหว ทั้งนี้ จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในอินเดียมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 423 ราย และมียอดรวมผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 12,456 ราย ณ วันที่ 17 เม.ย.ที่ผ่านมา นายอาหมัด ยืนยันว่า รัฐบาลอินเดียจะต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ต่อไป แม้จะมีผู้ประท้วงจำนวนมากให้เร่งเปิดเมือง และห้ามการขยายเวลาที่รัฐบาลส่ังล็อคดาวน์ไปจนถึงวันที่ 3 พ.ค.จากเดิมที่จะส้ินสุดในวันที่ 21 เม.ย.นี้ นายอาห์หมัด ยังแสดงความเห็นว่า ทั่วโลกจำเป็นต้องยอมให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงเพื่อให้ภาคสาธารณสุขได้พักฟื้น และใช้กลไกทางการเงินการคลังในการปกป้องภาคส่วนต่างๆในประเทศ และคุ้มครองประชาชน
“อาเบะ”เตรียมแจกเงิน 100,000 เยน
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า มีความคืบหน้ามากขึ้นที่นายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จะอนุมัติมาตร การแจกเงินชาวญี่ปุ่นคนละ 100,000 เยน (926 ดอลลาร์)ให้ครอบคลุมประชาชนทุกคนโดยไม่คำนึงถึงรายได้เพื่อบรร เทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นายอาเบะได้สั่งให้เจ้าหน้าที่หางบประมาณรองรับแผนดังกล่าว ด้วยการปรับตัวเลขงบประมาณพิเศษที่รัฐบาลกำลังจัดทำ ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังนายอาเบะถูกพรรคร่วมรัฐบาลกดดันให้ยกระดับมาตรการคุ้มครองเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาด โดยก่อนหน้านี้ นายอาเบะดูค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับการแจกเงินช่วยเหลือให้ทุกคน
“กูเกิล” ชะลอจ้างงานตลอดปี 63
อัลฟาเบท อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ประกาศชะลอการจ้างงานในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปีนี้ หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโฆษณาของบริษัท นายซันดาร์ พิชัย ซีอีโอกูเกิล แจ้งการตัด สินใจนี้กับพนักงานผ่านทางอีเมล โดยนอกจากจะชะลอการจ้างงานแล้ว บริษัทยังมีแผนจะปรับลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ เช่น การลงทุนในศูนย์ข้อมูลและเครื่องจักร โฆษกของกูเกิลได้ออกมายืนยันเรื่องนี้ พร้อมเสริมว่าบริษัทจะยังจ้างงานในส่วนของงานด้านกลยุทธ์ แต่ลดจำนวนการจ้างงานลง และจะอบรมพัฒนาทักษะต่างๆให้กับพนักงานที่ได้รับการจ้างงานแล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มงาน นอกจากอัลฟาเบท อิงค์ แล้ว ก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟ คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์ แวร์รายใหญ่ที่สุดของโลก ก็ได้หยุดการสรรหาบุคลากรบางส่วนเช่นกัน
สายการบินสหรัฐแห่เข้าโครงการอุ้มพนักงาน
สายการบินรายใหญ่ และ กระทรวงการคลังสหรัฐ ได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นที่จะให้ความช่วยเหลือทาง การ เงินแก่อุตสาหกรรมการบิน ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวว่า “เรายินดีกับข่าวที่สายการบินรายใหญ่จำนวนมากต้องการเข้าโครงการสนับสนุนเงินเดือน” โดยระบุว่าโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการช่วยเหลือมูลค่า 2.2 ล้านล้านเหรียญที่สภาคองเกรสอนุมัติเมื่อไม่กี่สัป ดาห์ที่ผ่านมา โครงการนี้จะเสนอเงิน 25,000 ล้านเหรียญ เพื่อช่วยเหลือสายการบินโดยสารโดยตรงเพื่อให้สายการบินยังคงสามารถจ่ายเงินเดือน และ สวัสดิการให้กับลูกจ้างได้ในเดือนต่อๆไป สายการบินที่แสดงความต้องการขอรับความช่วยเหลือผ่านโครงการนี้มี 10 สายการบิน รวมถึง อเมริกันแอร์ไลน์ เดลต้าแอร์ไลน์ และยูไนเต็ดแอร์ไลน์
IMF ไฟเขียวแผนผ่อนปรนหนี้ให้ 25 ประเทศ
คณะกรรมการบริหารของ IMF ได้อนุมัติแผนผ่อนปรนหนี้ให้ 25 ประเทศสมาชิกโดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นางคริสตาลินา จอร์จีวา ผู้อำนวยการ IMF ระบุในแถลงการณ์ว่า “สิ่งนี้จะให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่สมาชิกที่ยากจน และมีความเสี่ยงที่สุดเพื่อบรรเทาภาระหนี้ที่มีอยู่กับ IMF ในระยะเวลาเบื้องต้น 6 เดือน และจะช่วยให้ประเทศเหล่านี้นำทรัพยากรทางการเงินที่แทบจะไม่เพียงพอนี้ไปใช้สนับสนุนความพยายามทางการแพทย์ฉุกเฉินและการบรรเทาสถานการณ์อื่นๆที่จำเป็น”
ต่างชาติเทขายหุ้นในตลาดหุ้นเกาหลีใต้หนัก
สำนักงานกำกับดูแลการเงินของเกาหลีใต้ (FSS) เปิดเผยว่า นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นในตลาดหุ้นเกาหลี ใต้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมี.ค.เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดทั่วโลก FSS ระบุว่า มูลค่าการขายหุ้นสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ อยู่ที่ 13.5 ล้านล้านวอน (ประมาณ 11,100 ล้านเหรียญ)ซึ่งเป็นสถิติการเทขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงเทขายหุ้นในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ต่อเนื่อง โดยมูลค่าตลาดหุ้นเกาหลีใต้หายไปแล้วทั้งสิ้น 3.2 ล้านล้านวอน (2,600 ล้านเหรียญ) ส่วนมูลค่าซื้อหุ้นสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในเดือนมี.ค.อยู่ที่ 7.4 ล้านล้านวอน (6,100 ล้านเหรียญ)
นักลงทุนสหรัฐถือครองหุ้นในตลาดหุ้นเกาหลีใต้มากที่สุดถึง 197.5 ล้านล้านวอน (162,000 ล้านเหรียญ) คิดเป็นสัดส่วน 42.1% ของยอดการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติทั้งหมด รองลงมาคือนักลงทุนอังกฤษ 36 ล้านล้านวอน (29,500 ล้านเหรียญ) ลักเซมเบิร์ก 30 ล้านล้านวอน (24,600 ล้านเหรียญ) และสิงคโปร์ 25.9 ล้านล้านวอน (21, 300 ล้านเหรียญ)
เกาหลีใต้เผยยอดส่งออกร่วง 18.6%
สำนักงานศุลกากรเกาหลีใต้ (KCS) เปิดเผยว่า เกาหลีใต้มียอดส่งออกลดลง 18.6% ในช่วง 10 วันแรกของเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายปี สู่ระดับ 12,200 ล้านเหรียญ โดยได้รับแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รายงานระบุว่า ยอดส่งออกชิปหน่วยความจำปรับตัวลดลง 1.5% และยอดส่งออกยานยนต์ลดลง 7.1% ขณะที่ยอดส่งออกไปยังประเทศจีนปรับตัวลดลง 10.2% เทียบรายปี และยอดส่งออกไปยังสหรัฐปรับตัวลดลง 3.4% ส่วนยอดนำเข้าในปรับตัวลดลง 13% เทียบรายปี แตะที่ 14,600 ล้านเหรียญ
ขุนคลังอังกฤษคาด GDP Q 2 ทรุด 30%
นายริชี ซูนัค รมว.คลัง อังกฤษ คาดการณ์ว่า GDP ของอังกฤษในไตรมาส 2/63 จะทรุดตัวลง 25-30% อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นายซูนัค แสดงความเห็นดังกล่าวในระหว่างการหารือร่วมกับเจ้าหน้า ที่กระทรวงการคลังเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะที่บรรดาสมาชิกของคณะรัฐมนตรีอังกฤษได้ผลักดันให้มีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในเดือนหน้า ข้อมูลจากสำนักงานด้านสา ธารณสุข และการดูแลสังคมของอังกฤษ ระบุว่า ข้อมูล ณ วันที่ 17 เม.ย.ที่ผ่านมา ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในอังกฤษอยู่ที่ 99,516 ราย
EU ไฟเขียวงบเทาผลกระทบโควิด-19
กระทรวงคลังสหภาพยุโรป(EU) ได้ให้ความเห็นชอบการจัดสรรงบประมาณวงเงิน 500,000 ล้านยูโรเพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆในยุโรปที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นภายหลังการประชุมที่ยืดเยื้อที่กรุงบรัสเซลส์ แม้ว่าวงเงินดังกล่าวจะต่ำกว่าที่ธนาคารกลางยุโรปได้ผลักดันไว้ก็ตาม โดย อิตาลี มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 สูงสุดอยู่ที่ 21,645 ราย สเปน 19,130 ราย ฝรั่งเศส 17,167 ราย