รัฐบาลกระทุ้ง งบลงทุน 5แสนล้านบาท เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

งบลงทุน 5แสนล้านบาท ปี2567
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ครม.เห็นชอบแนวทางทำงบประมาณแบบรายจ่ายเพิ่มเติม แทนการโอนงบประมาณ หวั่น ใช้ งบลงทุน ปี 2567 ที่เหลืออยู่ 5แสนล้านบาท ไม่ทันภายใน 5 เดือน

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ แนวทาง การจัดทำ งบประมาณและ ปฏิทิน งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปี งบประมาณ 2567

รัฐบาลกระทุ้งเต็มที่ งบลงทุน 5แสนล้านบาท ภายใน 5 เดือน

สืบเนื่องจาก งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 วงเงินงบประมาณ รายจ่าย 3.48 ล้านล้านบาท 

ซึ่งตามปีงบประมาณ 2567 ผ่านไปแล้ว 7 เดือน ยังเหลือเวลาอีกแค่ 5 เดือน นับจากเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน กันยายน ปี 2567

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ได้ร่วมกับ สำนักงบประมาณ ประเมินตัวเลข ออกมาว่า งบประมาณ 3.48 ล้านล้านบาทนั้น ผ่านมา 7เดือนใช้จ่ายไปแล้ว ประมาณ 1.75 ล้านล้านบาท คิดเป็น 50.61% ของงบประมาณ ทั้งหมด

จึงเหลือ งบประมาณ อีกครึ่งหนึ่ง  ประมาณ 1.75 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ จะเป็นทั้งงบรายจ่ายประจำ งบลงทุนผูกพัน ที่ต้องจ่ายแน่ๆ ไม่ใช่งบลงทุนใหม่ประมาณ 1.25 ล้านล้านบาท

ส่วนงบลงทุน จริงๆ ของปีงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2567 จะเหลือจำนวน 500,000 ล้านบาท กับเวลา ที่เหลืออยู่ 5 เดือน และ นโยบายของรัฐบาล ต้องการ ให้มีเม็ดเงินใหม่ กระจายเข้าไปใน ระบบเศรษฐกิจ อย่างทั่วถึง

ถ้าดำเนินการตามปกติ ไม่มีการแก้ไข จะใช้ไม่ทัน แน่นอน ถ้าจะดำเนินการ เพื่อให้ใช้งบประมาณเพื่อการลงทุน 500,000 ล้านบาท ได้ทัน ขยับเพื่อให้ เม็ดเงินไหล ลงไปในพื้นที่จริงๆ เข้าไปในระบบเศรษฐกิจจริงๆ จะมี 2 วิธีการ คือ

การปรับลด งบประมาณ จากหน่วยจ่ายงบประมาณ ที่ใช้งบไม่ทัน หรือหมดความจำเป็น นำงบประมาณ ดังกล่าว ไปให้แก่หน่วยงาน งบประมาณอื่นๆ คือเกลี่ย ไปให้ กับหน่วยอื่นๆ

จะทำได้ โดยการออกพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย เท่านั้น ถ้าเลือกวิธีนี้ สำนักงบประมาณ รายงานว่า จะเสียเวลา ประมาณ 2 เดือน และทุกอย่าง จะต้อง หยุดชะงัก งบประมาณรายจ่าย ที่ใช้ปกติ จะต้องถูกแช่แข็งไว้

ห้ามใช้จ่าย จนกว่า จะแล้วเสร็จ ดังนั้น จะเป็นอุปสรรคทันที สมมุติเงินลงทุน 500,000 ล้านบาท ต้องการโยกไปใช้ใน โครงการ ที่เป็นนโยบายรัฐบาล เช่น โยกงบประมาณไป 150,000 ล้านบาท

ถ้าใช้ พระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย ในส่วนของงบประมาณอีก 350,000 ล้านบาท จะต้องหยุดชะงัก ทันที ดังนั้น สำนักงบประมาณ จึงเสนอว่า แทนที่จะใช้ วิธีการออกพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย

ขอให้ใช้วิธี ออกพระราชบัญญัติรายจ่ายเพิ่มเติมงบประมาณประจำปี2567 แทน เช่น จะโอนงบประมาณเท่าไหร่ ให้เสนอรายจ่าย เพิ่มเติมเท่าๆกัน ซึ่งจะเป็นผล ทำให้งบประมาณรวม ทั้งหมด ที่ใช้ในปี 2567 จะอยู่ที่ 3.48 ล้านล้านบาทเท่าเดิม

เพียงแต่ ถ้าใช้วิธีการออกพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย จะเสียเวลา และเป็นอุปสรรค ถ้าใช้วิธีการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประจำปี จะทำได้รวดเร็ว และ ไม่ทำให้ส่วนอื่นชะงักงัน ครม.จึงเห็นชอบ ตามแนวทางที่ สำนักงบประมาณ เสนอมา

รัฐบาลไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : “ก้าวไกล” แซะรัฐงบประมาณปี 67 “งบที่ควรมี-ดันตัด งบที่ควรตัด-ดันมี”