The Journalist Club สัมภาษณ์พิเศษ “ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสภาพัฒน์

The Journalist Club สัมภาษณ์พิเศษ “ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)หรือ สภาพัฒน์

The Journalist Club สัมภาษณ์พิเศษ “ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสภาพัฒน์ หลากหลายมิติเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต

รวมถึงเรื่องการค้าการลงทุน การปรับโครงสร้างการผลิต ความเสี่ยง จุดเปราะบาง การลดความเหลื่อมล้ำ มาตรการทางภาษี ความแข็งแรงของฐานะทางการคลัง งบประมาณของประเทศ มีหลายมิติที่น่าสนใจ

เลขาธิการสภาพัฒน์ เริ่มต้นฉายภาพเศรษฐกิจไทยว่า ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยเติบโตน้อยเนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะปีที่ผ่านมามีผลกระทบจากภาวะสงครามที่มีการรบกัน ซึ่งประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกมาก ทำให้เศรษฐกิจปี 2566 ขยายตัว 1.9% ขณะที่ปี 2565 ขยายตัว 2.5% ส่วนปี2567นี้ สภาพัฒน์ประมาณการว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 2.2-3.2%

The Journalist Club สัมภาษณ์พิเศษ “ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสภาพัฒน์ หลากหลายมิติเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต

สำหรับการส่งออกปีที่ผ่านมาเริ่มขยายตัวได้ดีขึ้นช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค.2566 ส่งผลให้การส่งออกไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ขยายตัวได้ 4.6% ส่งสัญญาณว่าการค้าโลกปรับตัวดีขึ้น โดย 3 ไตรมาสก่อนหน้านั้นติดลบมาโดยตลอด ส่งผลให้ทั้งปี 2566 การส่งออกขยายตัว -1.7%

อย่างไรก็ตามแม้ว่าการส่งออกจะปรับตัวดีขึ้น แต่การใช้กำลังการผลิตไม่ได้ขยับตัวขึ้นตาม สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่  59.06% ต่ำกว่าปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 62.76% ล่าสุดเดือนม.ค.ที่ผ่านมาการใช้กำลังการผลิตเริ่มปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบหลายเดือน โดยมาอยู่ที่ 60%

“ผมมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องในปีนี้ ค่ากลางอยู่ที่ 2.7% แม้จะมีความเสี่ยงเยอะทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ  ถ้าไม่มีอะไรมาช็อกแรงๆจะขยายตัวได้ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวเริ่มเข้ามาจำนวนมาก”เลขาสภาพัฒน์กล่าว

The Journalist Club สัมภาษณ์พิเศษ “ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสภาพัฒน์ หลากหลายมิติเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต

นอกจากนี้สินค้าไทยสำหรับการส่งออก ด้านอิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เทคโนโลยีก็เปลี่ยนไป ตัวสำคัญคือชิปคอนโทรล นายกรัฐมนตรีจึงพยายามให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) พยายามดึงโรงงานผลิตชิปเข้ามาลงทุน เพราะเป็นต้นน้ำที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆหลายกลุ่ม เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ก็ต้องใช้ชิปเหมือนกัน

การดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศมีการแข่งขันกันสูง ทุกประเทศต่างแย่งกันและให้สิทธิประโยชน์กันอย่างเต็มที่ ไม่ใช่เฉพาะแค่มาตรการทางภาษี ของไทยจึงต้องใช้เงินจากกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเข้ามาสนับสนุนนักลงทุนด้วย ในต่างประเทศเช่นเยอรมัน และญี่ปุ่น ก็ทำแบบเดียวกันและออกกฎหมายมารองรับ

The Journalist Club สัมภาษณ์พิเศษ “ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสภาพัฒน์ หลากหลายมิติเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต

สำหรับเงินกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเริ่มต้นไว้ที่ 10,000 ล้านบาท และในปี 2567 นี้จะเพิ่มเข้าไปอีก 16,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการดึงนักลงทุนกลุ่มผลิตชิปเข้ามา

“ในช่วง 3-4 ปีนี้ ถ้าไม่มีเหตุการณ์ช็อกเกิดขึ้น ใช้เวลาช่วงนี้ดึงนักลงทุนเข้ามา เช่น การตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จะใช้เวลาประมาณ 1ปีครึ่งในการตั้งโรงงานและเริ่มผลิตได้  เศรษฐกิจไทยจะโตมากกว่านี้ อยู่ที่ประมาณ 3%กว่า แต่ถ้าต้องการให้เศรษฐกิจโตได้ในระดับ 5-6% จะต้องปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อการส่งออก ทั้งภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานมากขึ้น”

The Journalist Club สัมภาษณ์พิเศษ “ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสภาพัฒน์ หลากหลายมิติเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต

การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน ระบบการศึกษาจะต้องเปิดสายช่าง และอาชีวะมากขึ้น เพราะภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการมากขึ้น ส่วนผู้ที่จบสายบริหาร ไม่ผิดอะไร เพียงแต่ต้องทำกิจการของคนรุ่นใหม่ ที่สำคัญคือ ทัศนคติในการทำงาน

“ความสำเร็จไม่ได้มาจากการทำงานแบบสบายๆ แต่มาจากการลงทุนลงแรงอยู่กับมันเต็มที่ ต้องมุ่งมั่นที่จะทำ ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ความสำเร็จไม่ได้มาง่ายๆเหมือนดูในคลิป ชีวิตจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น ที่ผ่านมาจะเห็นว่าสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จมีประมาณ 1% เท่านั้น ที่เป็นยูนิคอร์น ทำธุรกิจแล้วอยู่ได้”

The Journalist Club สัมภาษณ์พิเศษ “ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสภาพัฒน์ หลากหลายมิติเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต

อย่างไรก็ตามตัวเลขการเติบโตของจีดีพีที่สูง ไม่ใช่ว่าทุกคนจะอยู่กันอย่างสบาย เพราะต้องดูเรื่องการกระจายรายได้ที่ดีด้วย ต้องเป็นระบบเศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างโอกาส ให้คนมีอาชีพ มีรายได้ ซึ่งประเทศไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาแม้ความเหลื่อมล้ำจะลดลงเรื่อยๆ แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ห่างกันอยู่ โดย 10ปีที่แล้ว คนระดับบน 10% กับคนระดับล่าง 40% ของประชากรทั้งหมดมีรายได้ต่างกันประมาณ 6-7 เท่า ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 5-6 เท่า ถ้าเทียบรายได้กลุ่มระดับบนและระดับล่างที่ 10% เท่ากัน จะมีความแตกต่างทางรายได้ที่ประมาณ 10 เท่า และตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (ปี2566-2570) เมื่อสิ้นสุดแผนกำหนดเป้าหมายความเหลื่อมล้ำไว้ที่ไม่เกิน 5 เท่า

“ภาคเกษตร เศรษฐกิจชุมชน ต้องทำให้เขามีรายได้ในระดับที่อยู่ได้ ระบบรัฐสวัสดิการในปัจจุบันยังกระจัดกระจาย คนหลายกลุ่มยังไม่อยู่ในระบบ ต้องทำให้เข้ามาอยู่ในระบบ มีความมั่นคงได้ในระดับหนึ่ง ภาคเกษตรมีจำนวนมากที่ไม่อยู่ในระบบสวัสดิการ จึงมีความเปราะบาง”

The Journalist Club สัมภาษณ์พิเศษ “ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสภาพัฒน์ หลากหลายมิติเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต

นอกจากนี้ประเทศไทยยังเผชิญกับหลายความเสี่ยง ทั้งเรื่องโครงสร้างของประชากร ที่คนเกิดน้อย คนสูงอายุมากขึ้น การจัดเก็บภาษีได้น้อยลง จากเดิมสัดส่วนรายได้จากภาษีกับงบประมาณของประเทศทั้งหมดจะอยู่ที่ 19-20% ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 13-14 % โดยมีคนที่อยู่ในฐานภาษีจำนวน 11 ล้านคน แต่ที่จ่ายภาษีจริงๆมีประมาณ 4 ล้านคน ส่วนที่เหลือหักลดหย่อนแล้ว รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี แรงกดดันทางการคลังจะมากขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าไม่ปรับโครงสร้างภาษี ทำงบประมาณแบบขาดดุลไปเรื่อยๆ ภาระหนี้จะเพิ่มขึ้น รายได้จะไม่พอจ่ายเงินต้น และดอกเบี้ย ก็จะเป็นปัญหามากขึ้น ถ้าเกิดวิกฤติขึ้นในช่วงที่ฐานะการคลังไม่แข็งแรงพอ จะเกิดปัญหาทันที  

The Journalist Club สัมภาษณ์พิเศษ “ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสภาพัฒน์ หลากหลายมิติเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต

อย่างไรก็ตามด้วยสถานะที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงฟื้นตัว แต่ประชาชนระดับล่างยังมีปัญหา จึงยังคงใช้มาตรการทางการคลังดูแลอยู่ โดยเฉพาะการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน อย่างไรก็ตามต้องใช้เท่าที่จำเป็น

ปัจจุบันมีคนที่ลำบากอยู่ในระบบ และรู้ตัวว่าเป็นใครแล้วจำนวน 15 ล้านคน ถ้าจะช่วยเหลือก็ควรพุ่งเป้าไปที่คนกลุ่มนี้ โดยอิงกับระบบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ถ้าจะช่วยคนกลุ่มอื่นก็ต้องดูเกณฑ์ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการออกแบบมาตรการ

The Journalist Club สัมภาษณ์พิเศษ “ดนุชา พิชยนันท์” เลขาธิการสภาพัฒน์ หลากหลายมิติเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต

เลขาธิการสภาพัฒน์มองว่า สิ่งที่จะเข้ามาช่วยทำให้ฐานะทางการคลังของประเทศแข็งแกร่งขึ้น คือประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ต้องดีขึ้น อาจจะต้องพิจารณาว่าจะขยับอัตราการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แวต เพิ่มขึ้นสัก 1% ไหม ในช่วงจังหวะเวลาและสถานะทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม

“ช่วงที่เริ่มเกิดโควิด-19 สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีของไทยกำหนดเพดานไว้ที่ 60 % แต่ขณะนั้นสัดส่วนจริงอยู่ที่ประมาณ 43% จึงมีช่องว่างรองรับสถานการณ์ไว้ประมาณ 16-17% ยังเอาเกือบๆไม่อยู่ ปัจจุบันขยับเพดานหนี้ต่อจีดีพีไปที่ 70% ยังมีช่องว่างรองรับอยู่ประมาณ 8-9 % เลขาธิการสภาพัฒน์กล่าว