ลดราคา ทางด่วน สิงหาคมนี้เหลือ 50 บาท

ลดราคา ทางด่วน ทางด่วนขั้นที่ 2
“สุริยะ” เดินหน้าลดภาระประชาชน มั่นใจภายในสิงหาคมนี้ ลดราคา ทางด่วน ขั้นที่ 2 ลงเหลือเฉลี่ยไม่เกิน 50 บาทต่อคันต่อเส้นทาง

“สุริยะ” เดินหน้าลดภาระประชาชน มั่นใจ ภายในสิงหาคมนี้ ลดราคา ทางด่วน ขั้นที่ 2 จากเดิมจ่ายเฉลี่ย 90 บาทต่อคันต่อเส้นทางลดราคา ทางด่วน เหลือเฉลี่ยจ่ายไม่เกิน 50 บาทต่อคันต่อเส้นทางด้านการทางพิเศษฯยอมเฉือนเนื้อ ลดส่วนแบ่งรายได้จาก 60/40 ลง-ขยายสัมปทาน ด่วนขั้นที่ 2 พร้อมเดินหน้าลุยสร้างทางด่วน 2 ชั้น “งามวงศ์วาน-พระราม 9” แก้ปัญหาจราจร

  • “สุริยะ” เดินหน้าลดภาระประชาชน สิงหาคม 67 นี้ ลดค่าทางด่วนขั้นที่ 2 
  • ลงเหลือเฉลี่ยจ่ายไม่เกิน 50 บาทต่อคัน จากเดิมจ่ายเฉลี่ย 90 บาท
  • ด้านการทางพิเศษฯ ลุยสร้างทางด่วน 2 ชั้น “งามวงศ์วาน-พระราม 9” แก้ปัญหาจราจร

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้รายงานถึงผลการศึกษาลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางผ่าน ทางด่วน พิเศษของประชาชน กลับมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว ซึ่งผลการศึกษาทำให้พบว่า รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมสามารถที่จะ ลดราคา ทางด่วน ให้กับประชาชนที่ใช้ทางด่วน ขั้นที่ 2 ลงได้ จากเดิมหากเดินทางจากงามวงศ์วานถึงพระราม 9 จะเสียค่าผ่านทางเฉลี่ยที่ 90 บาทต่อคันตลอดสายจะเหลือสูงสุดไม่เกิน 50 บาทต่อคันตลอดสาย และ ต่ำสุดที่ 25 บาทต่อคัน ทันที ซึ่งราคาค่าผ่านทางที่ปรับลดลงได้นั้นตามขั้นตอนกระทรวงคมนาคมคาดว่าจะเกิดเป็นรูปธรรมปฎิบัติได้จริงได้ภายในสิ้นเดือน ส.ค.67 นี้ อย่างแน่นอน

.เฮ! ลดราคา ทางด่วน เหลือ 50 บาท

สำหรับสาเหตุที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ กทพ. และ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือสนข.ไปศึกษาร่วมกัน โดยให้หารือกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทาน ทางด่วน ในพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ เกี่ยวกับแนวทางการปรับ ลดราคา ค่าผ่านทางลง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ประชาชน เนื่องจากปัจจุบันประชาชนที่เดินทางด้วย ทางด่วน สายยาวจากทางทิศเหนือ กทม. มายังทิศใต้นั้น โดยเฉลี่ยจะเสียค่า ทางด่วน 100 บาทกว่าๆ ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง จึงมีนโยบายให้ กทพ. ไปหารือเพื่อหาแนวทางลดค่าใช้จ่ายประชาชน

ทั้งนี้ เบื้องต้นจากการหารือร่วมกันในทางออก ทางกลุ่มบริษัทที่รับสัมปทาน ทางด่วน ได้ยอมที่จะปรับ ลดราคา ค่า ทางด่วน ลง ในขั้นที่ 2 เส้นทางจากงามวงศ์วาน-พระราม 9 ลงเหลือเฉลี่ย 50 บาทต่อคันตลอดสาย จากเดิมที่ประชาชนจะเสียค่าผ่านทางเฉลี่ย 90-100 กว่าบาทต่อคน

โดยการปรับค่าผ่านทาง ลดราคา ดังกล่าว ทาง กทพ.จะต้องปรับลดส่วนแบ่งรายได้ที่ กทพ. ได้รับจากเอกชนลง จากเดิมที่ กทพ./เอกชน ได้รับในสัดส่วน 60/40 ก็ปรับลด ซึ่งจะปรับลงเหลือสัดส่วนเท่าใดนั้นทาง เอกชน และ กทพ. จะสรุปร่วมกันอีกครั้ง ซึ่งการปรับ ลดราคา ส่วนแบ่งรายได้นั้นจะทำให้กทพ. มีรายได้ลดลงทันที

.ขยายสัมปทาน-ลดส่วนแบ่งรายได้

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ซึ่งนอกจากการปรับลด ส่วนแบ่งรายได้ ที่ กทพ. จะได้รับลดลง เพื่อแลกกับการลดค่าผ่านทางแล้วนั้น ในการการศึกษาและเจรจาร่วมกัน ยังมีแนวทางที่ทาง กทพ.จะต้องขยายสัญญา สัมปทาน ทางด่วน ขั้นที่ 2 ออกไปด้วย จากเดิมสัญญาสิ้นสุด 30 ต.ค.78 ส่วนที่จะขยาย สัมปทานออกไปอีก เป็นระยะเวลาเท่าใดนั้น ยังไมไ่ด้ข้อยุติในระยะเวลา

สุริยะ ลดราคาค่าทางด่วน ทางด่วน
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม

สำหรับรายละเอียด ในการเจรจาร่วมกันกับเอกชนนั้นจะต้องได้ข้อสรุปใน 2 เดือน คือ เดือน มิ.ย.67 หากได้ข้อสรุปที่ชัดเจนตามไทม์ไลน์ และขั้นตอนต่อไปทางคณะกรรมการบอร์ด กทพ.จะต้องมีมติเห็นชอบตามผลการศึกษาเพื่อลดค่าใช้จ่ายก่อน หลังจากนั้นเสนอไปยังคณะกรรมการตามมาตรา 43 เพื่อให้เห็นชอบการแก้ไขสัญญาตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน

หลังจากนั้นเสนอให้อัยการสูงสุดได้เห็นชอบในร่างสัญญาที่มีการปรับเปลี่ยน ก่อนกลับมายังบอร์ด กทพ. อีกครั้งเพื่ออนุมัติก่อนเสนอมายัง กระทรวงคมนาคม และเสนอไปยังคณะกรรมการร่วมทุนรัฐและเอกชน (PPP) เห็นชอบก่อนกลับมายังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอไปยัง ครม. อนุมัติเห็นชอบต่อไป ซึ่งตามไทม์ไลน์คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ส.ค.67 นี้ ซึ่งจะทำให้สามารถจัดเก็บค่าผ่าน ทางด่วน ขั้นที่ 2 ที่มีการปรับลดลงในอัตราใหม่ได้

.ลุยสร้างทางด่วน 2 ชั้น  

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า และเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรบน ทางด่วน ทางกระทรวงคมนาคมจะยังคงเดินหน้านโยบายที่จะสร้าง โครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (งามวงศ์วาน-พระราม 9) หรือ (Double Deck) ต่อเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษศรีรัช ช่วงงามวงศ์วาน-พญาไท-พระราม 9 ระยะทางประมาณ 17 กม. โดยเฉพาะต่างระดับพญาไท ซึ่งประสบปัญหาการจราจรอย่างหนักเข้าขั้นวิกฤตทั้งในและนอกช่วงเวลาเร่งด่วน

ทั้งนี้ เนื่องจากมีปริมาณจราจรเฉลี่ยกว่า 400,000 คันต่อวัน ในขณะที่เส้นทางมีความจุประมาณ 300,000 กว่าคันต่อวัน ทำให้ต้องรับภาระด้านการจราจรทั้งหมดจากความต้องการเดินทางในแนวตะวันออก-ตะวันตก และแนวเหนือ-ใต้บนโครงข่ายทางพิเศษในพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในและชั้นกลาง 

“ ทางด่วน 2 ชั้น จะเป็นการแยกจราจรบริเวณจุดทางแยกให้ชัดเจน แก้ปัญหาจราจรตรงจุดแบบเบ็ดเสร็จ ตรงต่างระดับพญาไท (แยกตัว Y) โดยโครงการจะยกระดับซ้อนบนทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2 ) มีขนาด 4 ช่องจราจร(2 ช่องจราจรต่อทิศทาง)

มีด่านเก็บค่าผ่านทาง 2 แห่ง คือ ด่านประชาชื่น และด่านมักกะสัน มีทางขึ้น 3 แห่ง ได้แก่งามวงศ์วาน (ขาเข้าเมือง), บางซื่อย่านพหลโยธิน (ขาเข้าเมือง), อโศก (ขาเข้าเมือง)

มีทางลงสู่ทางด่วน 4 แห่งได้แก่ งามวงศ์วาน (ขาออกเมือง) บางซื่อ ย่านพหลโยธิน (ขาออกเมือง) มักกะสัน (ขาออกเมือง) อโศก (ขาออกเมือง)” นายสุริยะ กล่าว

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) 

คมนาคมปิ๊งลดค่าทางด่วนช่วยประชาชน