บางจาก ยึด 2งานใหญ่แชร์ โมเดล รับมือ วิกฤต สภาพภูมิอากาศ

บางจาก วิกฤต สภาพภูมิอากาศ 22
บางจาก ใช้เวที 2 งานใหญ่ ปลุกกระองค์กร รัฐ เอกชน บุตคล และทุกเครือข่ายพันธมิตร แชร์โมเดลขับเคลื่อนแผนรวมพลังกันรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศในไทยและทั่วโลก เริ่มทำแล้ว 4 เรื่อง

บิ๊ก บางจาก รุกหนักแชร์ โมเดล “รับมือ วิกฤต สภาพภูมิอากาศ ” เมืองไทยและโลก ยึด 2 เวทีใหญ่ ปลุกทุกภาคีเครือข่ายเข้าร่วมด่วน “คาร์บอน มาร์เก็ต คลับ” บางจาก ดึงภาคการศึกษาทำโครงการชี้ทางออกใหม่ ๆ สู้ วิกฤต สภาพภูมิอากาศ เพียบ

นางกลอยตา ณ ถลาง รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธาน คาร์บอน มาร์เก็ต คลับ/Carbon Markets Club เปิดเผยว่า ได้ร่วมเสวนา ขับเคลื่อน การรับมือ วิกฤต สภาวะภูมิอากาศ 2 เวที

นำเสนอเรื่อง “ ทางออก สู่การรับมือ และแก้ปัญหา การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ (Carbon Neutral & Climate Justice)” ในงาน Social Value Thailand Forum 2024 ทำอิมแพ็ค การพัฒนาธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

ร่วมสร้างภาคีพันธมิตร ด้วยพลังภาคการศึกษา) และเรื่อง “How Carbon Markets Support Thailand’s Energy Transition” ในงาน Bank of America Economic Seminar 2024 – Thailand Global Outlook

บางจาก วิกฤต สภาพภูมิอากาศ 2
นางกลอยตา ณ ถลสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากฯ และประธาน คาร์บอน มาร์เก็ต คลับ

เวทีแรก งาน Social Value Thailand Forum 2024 นำโมเดล ของกลุ่มบริษัทบางจาก มีแผนรับมือ กับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และ การขับเคลื่อน

BCP 316 NET บางจาก ก้าวสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

การดำเนินงาน ตามแผน BCP 316 NET ก้าวสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ พ.ศ.2593 หรือ ค.ศ. 2050 ของบางจาก ทำ 4 เรื่อง คือ

  • เรื่องที่ 1 เดินหน้ากระบวนการผลิต โดยปรับปรุง ประสิทธิภาพต่าง ๆ   
  • เรื่องที่ 2 ลงทุนทางนวัตกรรมช่วยเพิ่มผลผลิตและลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์
  • เรื่องที่ 3 สร้างสมดุลทางระบบนิเวศ การดูดซับคาร์บอนด้วยธรรมชาติ การเพิ่มสัดส่วนธุรกิจสีเขียว สร้างระบบนิเวศทำให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำ

พร้อมกับ สร้างภาคีพันธมิตรด้วยพลัง ภาคการศึกษา ทางกลุ่ม บริษัทบางจาก ให้น้ำหนักความสำคัญ เน้นสนับสนุน การศึกษา ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ผ่านโครงการต่าง ๆ ของกลุ่มบริษัทฯ และมูลนิธิใบไม้ปันสุข

เพื่อสร้างรากฐาน ที่มั่นคง พัฒนาเยาวชน ทั้งด้านการศึกษา และสิ่งแวดล้อม เน้นการอ่านออกเขียนได้ เป็นพื้นฐานหลัก นำไปสู่ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านต่าง ๆ

เพื่อต่อสู้ กับ วิกฤต สภาพภูมิอากาศ ซึ่งขณะนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ด้วยวิธี ร่วมกับ สถาบันการศึกษา ทำโครงการต่าง ๆ เช่น

  • โครงการแรก ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียศึกษาเทคโนโลยี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดินหน้าศึกษาการดักจับ ต่อเนื่อง ถึงการใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) การศึกษา วิจัยการเพิ่มมูลค่าเอทานอล เปลี่ยนแก๊สโซฮอล์เ ป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เพื่อผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน SAF : Sustainable Aviation Fuel
  • โครงการที่ 2 ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐาน และบริหารจัดการ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจาก หลังคาอาคาร เป็นต้นแบบมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ หรือ Smart University 
  • โครงการที่ 3 ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริหารจัดการ ทำความเย็นจากส่วนกลาง เพื่อประหยัดพลังงาน District Cooling 
  • โครงการที่ 4 สนับสนุนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แหล่งหญ้าทะเลเพื่อกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบ Blue Carbon
  • โครงการที่ 5 ร่วมกับภาคการศึกษา ทำวิจัยและพัฒนา หรือพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศ สู่เป้าหมาย Net Zero

พุ่งเป้าการทำตลาดคาร์บอนในไทย

เวทีที่สอง งาน Bank of America Economic Seminar 2024 – Thailand Global Outlook นางกลอยตา เสวนาร่วมกับ บริษัท บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด และ Bank of America

พุ่งเป้าเรื่องการทำตลาดคาร์บอนในไทย ปัจจุบันในไทยยังเป็น “ตลาดภาคสมัครใจ” จึงทำให้ราคาคาร์บอนเครดิตในประเทศ และความต้องการ ซื้อขายคาร์บอนเพื่อชดเชยการปล่อย คาร์บอนจากภาคธุรกิจไม่สูง เมื่อเทียบกับ “ตลาดภาคบังคับ” ในทวีปยุโรป และสิงคโปร์

แต่ด้วยบริบทโลก กำลังเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและปัจจุบัน วิกฤต สภาพภูมิอากาศ รุนแรง ทำให้ทุกฝ่ายต้องเร่งบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เช่นเดียวกับในไทย

ได้จัดตั้ง “กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” กำหนดกฎหมาย คือ (ร่าง) พระราชบัญญิตการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ เป็นกลไกควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กับนำภาษีคาร์บอนมาใช้ ควบคู่กับมีมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน อย่างเช่น CBAM ของสหภาพยุโรป และอื่น ๆ

เนื่องจากตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต มีความสำคัญอย่างมากตอนนี้จึงต้องร่วมมือกันขับเคลื่อน 3 เรื่อง คือ 1.การสนับสนุนเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน 2.ความต้องการมาตรฐานคาร์บอนเครดิตในระดับสากลที่ต้องโปร่งใสตรวจสอบได้และไม่เป็นการฟอกเขียวทางเศรษฐศาตร์ (greenwashing) 3.การดำเนินงานของบางจากมุ่งส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตและส่งเสริมให้ความรู้เรื่อง วิกฤต สภาพภูมิอากาศ ผ่าน Carbon Markets Club อย่างเต็มที่

นางกลอยตา กล่าวว่า ได้ใช้ทั้ง 2 เวทีเชิญชวนให้ผู้สนใจจากภาคการศึกษา ภาคเอกชน หน่วยงาน บุคคล สมัครเป็นสมาชิกคาร์บอน มาร์เก็ต คลับ ร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิกฤต สภาพภูมิอากาศ

เข้ามาใช้บริการตลาดคาร์บอน และเครื่องมือต่าง ๆ ทางเว็บไซต์ www.carbonmarketsclub.com เช่น เครื่องมือประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และอื่นๆ ที่แต่ละหน่วยงานกำลังพัฒนาอยู่ สมัครสมาชิกแล้วทดลองใช้เครื่องมือต่าง ๆ ฟรี เพื่อร่วมกันเดินหน้ารับมือ วิกฤต สภาพภูมิอากาศ เมืองไทยและโลกไปด้วยกัน

-เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน

บางจาก

“เศรษฐา”เร่งบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ