ครม.ไฟเขียว งบกลางฯ 7.1 พันล้าน อุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้าตามมาตรการ EV 3.0

งบกลาง อุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า
ครม. ไฟเขียว งบกลางฯ 7.1 พันล้าน อุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้าตามมาตรการ EV 3.0


ครม.ไฟเขียว งบกลางฯ 7.1 พันล้าน อุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้าตามมาตรการ EV 3.0 ในส่วนที่ยังคงค้างอยู่ ชี้ช่วยหนุนอุตสาหกรรมรถ EV สร้างการแข่งขันและลดการปล่อยมลพิษในอากาศ

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ด้านการประชาสัมพันธ์ กล่าวว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เพิ่มเติมในมาตรการสนับสนุน EV ในโครงการ EV 3.0 วงเงิน 7,125.63 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

ทั้งนี้โครงการนี้กระทรวงการคลังได้เสนอว่าตามตามมาตรการEV3 จะต้องใช้เงินอุดหนุน รวมทั้งสิ้น 11,917.34 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้รับงบประมาณไปแล้ว 6,947.78 ล้านบาท โดยได้เบิกจ่ายไปแล้ว 5,901.19 ล้านบาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการออกแบบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการตามมาตรการ EV3) และต่อมาได้เบิกจ่ายเพิ่มเติมอีก จำนวน 996.62 ล้านบาท

รัฐฯจัดสรรรงบฯอีก จำนวน 5,019.53 ล้านบาท

ทำให้ปัจจุบันยังคงเหลือที่ได้ไม่รับการจัดสรรรงบประมาณอีกจำนวน 5,019.53 ล้านบาท (11,917.34 – 6,897.81) ประกอบกับกระทรวงการคลังคาดว่าจะสามารถจำหน่ายและจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งผู้เข้าร่วมมาตรการEV3 แจ้งข้อมูลต่อกรมสรรพสามิตว่ามีความพร้อมสำหรับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2567 เป็นต้นไป และหากสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศได้แล้วก็จะขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์อีกจำนวน16,500 คัน วงเงิน 2,475 ล้านบาท จึงทำให้กระทรวงการคลังต้องใช้งบประมาณเพื่อดำเนินมาตรการ EV3 รวมทั้งสิ้น 7,494.53 ล้านบาท ซึ่งแจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 

ทั้งนี้มาตรการ EV3 จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความต้องการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยการสนับสนุนให้ราคาของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ามีราคาลดลงใกล้เคียงกับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ประเภทเครื่องยนต์สันดาปภายในและช่วยสร้างแรงจูงใจให้มีการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และช่วยลดให้ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ด้วยการลดใช้พลังงานเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลที่ก่อให้เกิดมลภาวะ

ทำเนียบรัฐบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :