

เศรษฐา เผย ครม. เห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาภาคตะวันออก(อีอีซี)เสนอ เกี่ยวกับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ EEC Visa
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ จ.เพชรบุรี(ครมสัญจรเพชรบุรี) เห็นชอบ การตรวจลงตรากรณีพิเศษสำหรับชาวต่างชาติที่มีศักยภาพตามกลุ่มเป้าหมาย
ครม. เห็นชอบ ออก EEC Visa ให้ต่างชาติที่มีศักยภาพ
เข้ามาทำงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) หรือ อีอีซีวีซ่า ได้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี และได้ลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาคงที่ 17 %
ด้านนางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (14 พฤษภาคม 2567) ครม. มีมติ รับทราบ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาภาคตะวันออก
เกี่ยวกับ การตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว เป็นกรณีพิเศษ EEC Visa แนวทางการให้ สิทธิประโยชน์ สำหรับผู้ประกอบกิจการ ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
และการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้คือ
ให้ สำนักงานอีอีซี และบีโอไอ และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง พิจารณากำหนดแนวทาง ในการเชื่อมโยงข้อมูล ของนักลงทุน โดยเฉพาะ ในส่วนของการ ให้สิทธิประโยชน์ แก่นักลงทุน
เพื่อให้ มีการ จัดทำ และเชื่อมโยง ข้อมูล กันอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง ให้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการบูรณาการ การทำงาน ของศูนย์บริการนักลงทุน ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ร่วมด้วย
ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าวให้คำนึงถึงหลักความประหยัด คุ้มค่า มุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ
สำหรับ EEC Visa นั้น ประเภท คุณสมบัติ และสิทธิประโยชน์ โดยสรุป มีรายละเอียดดังนี้
ผู้ที่สามารถ ได้รับวีซ่า ดังกล่าว มีอยู่ 4 ประเภท ด้วยกัน ได้แก่ ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ (Specialist “S”) ผู้บริหาร (Exeutive “E”) ผู้ชำนาญการ (Professional “P”) และคู่สมรสและบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะ (Other “O”)
คุณสมบัติ ของผู้มีสิทธิ ที่จะได้รับ EEC Visa เช่น ต้องเป็นผู้ ที่มีสัญญาจ้าง กับผู้ประกอบกิจการ หรือมีสัญญา กับบุคคลอื่น ที่กำหนดให้ ต้องปฏิบัติงาน เพื่อประโยชน์ ของผู้ประกอบกิจการ
ไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามกฎหมายว่าด้วย คนเข้าเมือง ต้องได้รับการรับรอง คุณสมบัติ จากผู้ประกอบกิจการ ฯลฯ
สิทธิประโยชน์ จากการได้รับ EEC Visa เช่น มีสิทธิในการเข้ามา และอยู่ในราชอาณาจักร ตามจำนวน และระยะเวลาที่ได้รับ อนุญาตจากเลขาธิการ อีอีซี สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน ระยะเวลา ตามสัญญาจ้าง สำหรับใช้เข้ามา และอยู่ในราชอาณาจักรได้ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยประทับตรา ขาเข้า และ อนุญาต ให้เข้ามา และอยู่ใน ราชอาณาจักร ในครั้งแรกเป็นเวลา ไม่เกิน 5 ปี
มีสิทธิ ในการนำคู่สมรส และบุคคล ซึ่งอยู่ในอุปการะเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักร ตามความจำเป็น และเหมาะสม และ มีสิทธิ ในการได้รับ การลดหย่อน อัตราภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ในอัตราคงที่ ร้อยละ 17 ฯลฯ
ก่อเกิดประโยชน์หลายด้าน
สำนักงานอีอีซี แจ้งว่า การดำเนินการ EEC Visa และการให้สิทธิประโยชน์ ตามพระราชบัญญัติ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 จะก่อให้เกิดประโยชน์ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
ส่งเสริม และ สนับสนุน ให้ผู้ประกอบกิจการ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เข้ามาประกอบ อุตสาหกรรม เป้าหมายพิเศษและกิจการ ที่เกี่ยวเนื่อง หรือเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษในเขต EEC
ช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถ ในการแข่งขัน ของประเทศโดยรวม
มีการถ่ายทอด ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จากผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ชำนาญการ ที่มีศักยภาพสูง
ก่อให้เกิด รายได้ แก่ภาครัฐ โดยคนต่างด้าว ที่ยื่นขอ EEC Visa หรือยื่นขอเปลี่ยนประเภท Visa เป็น EEC Visa ต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000/บาท/คน/ปี
และในการ ขอรับใบอนุญาต ทำงาน EEC Work Permit ต้องชำระค่าบริการ ในอัตรา 20,000 บาท/คน/ครั้ง
มีคนต่างด้าว ที่มีคุณสมบัติ เข้าข่ายตามที่กำหนด และประสงค์ จะใช้สิทธิ EEC Visa โดยคาดการณ์ 10 ปีแรก ของการดำเนินการประมาณ 149,388 คน
นอกจากนี้ การพัฒนาเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ EECd จะก่อให้เกิดประโยชน์ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- เกิดกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ จากการลงทุน ในพื้นที่ EECd
- เกิดการจ้างงานที่ เกี่ยวข้อง จากการลงทุน ในพื้นที่ EECd และการจ้างงาน สนับสนุนจากบุคคล ภายนอกองค์กร
- สามารถเพิ่มรายได้ ของผู้ประกอบการท้องถิ่น ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง พื้นที่ EECd
- การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทางเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างมูลค่า ด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ยั่งยืน ในระยะยาว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ครม.สัญจร จ.เพชรบุรี ไฟเขียว ค่าแรงขั้นต่ำ 400บาท ทั่วประเทศ