AOT ถกสนามบินโลก-ICAO แนะออกกม.เพิ่มความปลอดภัย

ผู้บริหาร บมจ.ท่าอากาศยานไทย “AOT” ร่วมประชุม ACI APAC & MID ROSC ครั้งที่ 2 ที่กรุงริยาดห์ ซาอุดิอาระเบีย หารือมาตรฐานความปลอดภัยสนามบินนานาชาติ และจัดทำคู่มือปฏิบัติที่จะนำมาใช้กับสนามบินของ AOT แห่ง
ผู้บริหาร บมจ.ท่าอากาศยานไทย “AOT” ร่วมประชุม ACI APAC & MID ROSC ครั้งที่ 2 ที่กรุงริยาดห์ ซาอุดิอาระเบีย หารือมาตรฐานความปลอดภัยสนามบินนานาชาติ และจัดทำคู่มือปฏิบัติที่จะนำมาใช้กับสนามบินของ AOT แห่ง

AOT เดินสายประชุม ACI “ROSC” รอบ 2 ถกมาตรฐานความปลอดภัยสนามบินโลก ผุดคู่มือต้นแบบ “จัดการความปลอดภัย-ลดความเสี่ยง” ด้าน ICAO แนะรัฐบาลทุกประเทศเร่งประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้สนามบินในประเทศด้วย

AOT เดินสายประชุม ACI “ROSC” รอบ 2 ถกมาตรฐานความปลอดภัยสนามบินโลก ผุดคู่มือต้นแบบจัดการความปลอดภัยลดความเสี่ยงด้าน ICAO แนะรัฐบาลทุกประเทศเร่งประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้สนามบินในประเทศด้วย

นางดารินา เกื้อสกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายมาตรฐานและความปลอดภัยท่าอากาศยาน
บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “AOT/ทอท.” เปิดเผยว่า ในฐานะกรรมการ ACI Asia-Pacific & Middle East Regional Operational Safety Committee (ACI APAC & MID ROSC) เข้าร่วมการประชุม ACI APAC & MID ROSC ครั้งที่ 2 เพื่อร่วมกันติดตามผลการดำเนินงานจากการประชุมครั้งแรกที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความปลอดภัยในสนามบินนานาชาติ 2 เรื่องหลัก

เรื่องที่ 1 กรรมการ ACI ทุกคนเกาะติดการทดลองใช้สารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้นำมาใช้ดับเพลิงกู้ภัยอากาศยาน ที่ท่าอากาศยานนานาชาติบาห์เรน ซึ่งเลือกใช้โฟมดับเพลิงที่ไม่มีองค์ประกอบของ Per-and Polyfluoroalkyl Substances (PFAS) เรื่องที่ 1 ติดตามผลการใช้แนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยครอบคลุมส่วนต่าง ๆ ที่ทุกสนามบินสามารถนำโมเดลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้ต่อไป

สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีมติให้จัดทำ “คู่มือด้านความปลอดภัย” ร่วมกันหลายฉบับเพื่อให้สมาชิก ACI ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ไฮไลต์เด่น ๆ ได้แก่ 1.การนําระบบการจัดการด้านความปลอดภัยอากาศยาน Safety Management System (SMS) มาใช้กับระบบการจัดการแบบบูรณาการ Integrated Management System (IMS) 2.การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยร่วมกับระบบการจัดการอื่น ๆ  

พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนหารือถึงเรื่อง ผลกระทบจากข้อแนะนําขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้นำเสนอให้รัฐแต่ละประเทศ นําแนวทางปฏิบัติในคู่มือกําหนดเป็นกฎหมายบังคับใช้ กับท่าอากาศยานภายในประเทศ รวมถึงขอบเขตความรับผิดชอบด้านการจัดการด้านความปลอดภัยในเขตการบินระหว่างผู้ให้บริการจราจรทางอากาศกับท่าอากาศยาน

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) แนะนำให้รัฐบาลทุกประเทศนำคู่มือมาตรฐานความปลอดภัยลดความเสี่ยงประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้กับสนามบินภายในแต่ละประเทศด้วย
องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) แนะนำให้รัฐบาลทุกประเทศนำคู่มือมาตรฐานความปลอดภัยลดความเสี่ยงประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้กับสนามบินภายในแต่ละประเทศด้วย

นอกจากนี้ ICAO ภูมิภาคตะวันออกกลางยังได้นําเสนอแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางตามแผนความปลอดภัยระดับภูมิภาคด้วย ซึ่งทาง บมจ.ท่าอากาศยานไทยสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินงานในอนาคตได้ด้วย

ทั้งนี้การประชุมการประชุม ACI APAC & MID ROSC ครั้งที่ 2 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2567 ที่โรงแรมฮิลตัน ริยาดห์ โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนท์ กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยมีกรรมการ และสมาชิกเข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน

เนื่องจากมาตรฐานความปลอดภัยที่จะนำมาใช้ปฏิบัติกับท่าอากาศยาน หรือสนามบินนานาชาติทั่วภาคพื้นเอเชีย และทั่วโลก มีความสำคัญ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เพราะ ปัจจัยสภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อมทางการบินเปลี่ยนแปลงไปด้วยอุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว จำเป็นจะต้องมีแผนปฏิบัติการสากล ที่ทั่วโลกจะต้องกำหนด เพื่อนำมาใช้ร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

-เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : AOT 6 เดือนแรกกำไร 369% บริการ บิน 3.6 แสนเที่ยว 61 ล้านคน

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Airports of Thailand Public Company Limited) เดิมใช้ชื่อว่า การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย หรือ ทอท. เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม เป็นองค์กรบริหารงานท่าอากาศยานระดับแห่งชาติของไทย โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 เพื่อดำเนินกิจการท่าอากาศยานต่าง ๆ ให้มีมาตรฐานและประสิทธิภาพ และรับโอนกิจการท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งเคยสังกัดกรมการบินพลเรือน (กองทัพอากาศ)

โดยอาศัยตามความบทเฉพาะกาล มาตรา 50 ของพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2522 ต่อมา ทอท. ได้แปลงสภาพเป็นบริษัทภายใต้นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย โดยได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลชื่อ “บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)” และปรับตราสัญลักษณ์ใหม่ โดยชื่อย่อของบริษัทยังคงใช้ “ทอท.” เช่นเดิม ส่วนชื่อภาษาอังกฤษคือ Airports of Thailand Public Company Limited และใช้ชื่อย่อว่า AOT ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา โดยกระทรวงการคลัง ถือหุ้นร้อยละ 70