![AI ตรวจจับสินค้าห่วยออนไลน์](https://thejournalistclub.com/wp-content/uploads/2024/12/Your-paragraph-text-144-696x315.jpeg)
![](https://thejournalistclub.com/wp-content/uploads/2024/08/Cover-KP_2560x304px.webp)
เลขาฯ พงศ์พล นำประชุม AI ตรวจจับสินค้าห่วยออนไลน์ คาดจับได้ 1 แสนรายการต่อวัน เริ่มปลั๊กพ่วง-หมวกกันน็อคสินค้านำร่อง
นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากสถานการณ์การทะลักเข้ามาของสินค้าข้ามชาติราคาถูก แต่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เป็นอันตรายกับประชาชนผู้ใช้งาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายเอกนัฏ พร้อมพันธ์) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและสั่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวเร่งด่วน จึงได้ตั้ง “คณะกรรมการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม(INDX)” โดยมีเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานกรรมการฯ
หลังการประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ผลการศึก
ษาพบว่า ระบบ AI: Artificial Intelligence จะสามารถเพิ่มการตรวจจับสินค้าไม่ได้มาตรฐานทางออนไลน์ เพิ่มขึ้นโดยประมาณการที่ 100,000 รายการ/วัน จากเดิมใช้กำลังคนตรวจที่ 1,600 รายการ/วัน โดยผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของประชาชนอย่างสายไฟ-ปลั๊กพ่วง และหมวกกันน๊อคไม่ได้มาตรฐานจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เร่งให้ความสำคัญก่อน ด้านความคืบหน้าของการประชุมฯ
ได้มีการรายงานการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ตรวจจับสินค้าไม่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม โดยมีการสรุปแนวทางวิธีการดำเนินการของ สมอ. ในการตรวจจับ ใช้ “คน” ในการตรวจสอบการกระทำความผิดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้ใช้ “AI” ในการตรวจจับ Keyword (ชื่อ/รีวิว) ภาพลักษณะของผลิตภัณฑ์(ต้นแบบ) ตรวจสอบกับฐานข้อมูล ผู้รับใบอนุญาต / มาตรฐานมอก. / พิจารณาขอบข่ายเบื้อง
เตรียมวางแนวทางการนำเทคโนโลยี AI มาตรวจจับสินค้าไม่ได้มาตรฐาน
ส่วนด้านกฎหมายใช้ “คน” ในการตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในคดี นอกจากนี้ยังได้เตรียมวางแนวทางการนำเทคโนโลยี AI มาตรวจจับสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ส่วนความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาแพลตฟอร์มแจ้งเรื่องร้องเรียนออนไลน์ เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ซึ่งแพลตฟอร์มกระทรวงอุตสาหกรรมที่ผสานเทคโนโลยี TRAFFY FONDUE นี้ จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเรื่องร้องเรียนจากประชาชน หน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการ รวมถึงติดตามสถานะคำขอในด้านต่าง ๆ เช่น การขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมใบอนุญาตประทานบัตร และการขอสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการSME โดยมีการแบ่งการใช้งานให้เหมาะสมกับหน่วยงานต่าง ๆภายในกระทรวงอุตสาหกรรม ดังนี้ 1) สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จะรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนและภาคธุรกิจพร้อมทั้งติดตามสถานะคำขอต่าง ๆ 2) กรมโรงงานอุตสาหกรรมจะเน้นการตรวจสอบและอนุมัติคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน รวมถึงติดตามคำร้องที่ยื่นผ่านระบบ 3) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จะดูแลการขอรับสินเชื่อและการสนับสนุนผู้ประกอบการ SME พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้านอุตสาหกรรม 4) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จะรับผิดชอบการตรวจสอบและติดตามการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
แพลตฟอร์มดังกล่าวมีจุดเด่นที่สำคัญ คือ ระบบ Dashboard
ทั้งนี้แพลตฟอร์มดังกล่าวมีจุดเด่นที่สำคัญ คือ ระบบ Dashboard ซึ่งสามารถแสดงสถานะข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ ทั้งในภาพรวมระดับกระทรวงและแยกย่อยไปยังแต่ละหน่วยงาน ช่วยให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถติดตามสถานะคำร้องหรือบริการที่ต้องการได้อย่างโปร่งใส สะดวก และรวดเร็ว และระบบยังรองรับการจัดการข้อมูลแบบครบวงจร ช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ยังได้วางแนวทางในการดำเนินงานที่ครอบคลุมทั้งการพัฒนาระบบ การฝึกอบรมบุคลากร การประชาสัมพันธ์ให้แพลตฟอร์มเป็นที่รู้จัก ตลอดจนการบำรุงรักษาและพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แพลตฟอร์มร้องเรียนของกระทรวงที่ใช้เทคโนโลยี TRAFFY FONDUE เป็นเครื่องมือที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้ประกอบการได้อย่างยั่งยืน พร้อมผลักดันการปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวสู่ ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : รัฐบาลเชิญชวนเลือกซื้อสินค้าราคาถูกกว่า 40,000 รายการ จากผู้ประกอบการกว่า 300 ราย ลดราคาสูงสุด 80%