

- เหตุไวรัสโควิด-19ทำป่วนทุกอุตสาหกรรม
- ชี้พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นมาตรการมาถูกทา
- ไวรัสป่วนทำอุตสาหกรรมบางกลุ่มดีดตัว
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือนก.พ.ที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 99.90 หดตัว 5.19% จากช่วงเดียวกันของปีท่ีผ่านมา ท่ีอยู่ที่ระดับ 105.37 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวต่อเนื่อง จากผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน ส่งผลให้การผลิตรถยนต์เมื่อเดือนก.พ.ท่ีผ่านมาของประเทศไทย ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และสถานการณ์ภัยแล้ง ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล
สำหรับ สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง มายังการส่งออกสินค้าของทุกอุตสาหกรรม ทำให้ภาพรวมอัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนก.พ.ที่ผ่านมา ลดลงมาอยู่ที่ 65.33% จากเดือนม.ค.อยู่ที่ 66.75% ทำให้ผู้ผลิตกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญๆ ได้ชะลอการผลิตลง เพื่อรอดูสถานการณ์คำสั่งซื้อที่จะมีเพิ่มขึ้น และยืนยันยังมีกำลังการผลิตเหลือมากพอ รองรับความต้องการสินค้าหากมีความต้องการเพิ่มขึ้น
“การประกาศพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ฉุกเฉินของรัฐบาล เรื่องนี้ไม่ได้เกินกว่าความคาดหมายของทุกคน เพราะคิดว่าเป็นมาตรการที่จำเป็น ในการใช้ควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 อยู่แล้ว และยังไม่มีผลกระทบหรือเป็นข้อจำกัดต่อภาคอุตสาหกรรมในขณะนี้ แต่อย่างใด ส่วนผลกระทบท่ีอาจเกิดขึ้นในเดือนเม.ย.นี้ก็ต้องรอดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอีกครั้งหน่ึง
ท้ังนี้ สศอ.จะติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินแนวโน้มที่จะส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมในระยะข้างหน้า ขณะที่ยังคงคาดการณ์อัตราการขยายตัว ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรมปี นี้ อยู่ที่ 1.5-2.5% และคงดัชนี เอ็มพีไออยู่ที่ 2-3%
ขณะที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้บางอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารเกือบทุกประเภท เช่น ปศุสัตว์มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.9% ประมงรวมผลิตภัณฑ์จากประมงเพิ่มขึ้น 15.3% ผักและผลไม้เพิ่มขึ้น 4.1% ยกเว้นน้ำตาลทรายและแป้งมันที่ขาดวัตถุดิบในการผลิต เห็นได้จากดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงมาอยู่ที่ระดับ 136.80 จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 145.51 ดัชนีแรงงานปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.88% อยู่ที่ระดับ 102.63 จากระดับ 102.08 ประกอบกับดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 99.80 จากระดับ 95.05