

“เกรียงไกร เธียรนุกุล” ประธาน ส.อ.ท. ร่วมงานสัมมนา กับ สถานเอกอัครราชทูต กลุ่มประเทศแอฟริกา ประจำประเทศไทย ปูทางสานสัมพันธ์ นำ อุตสาหกรรมไทย บุกตลาดแอฟริกา หวังสร้างโอกาสให้ อุตสาหกรรมไทย
- เผยศักยภาพภูมิภาคแอฟริกา เป็นตลาดที่กำลังเติบโต มีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น
- มีการเร่งพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญามากขึ้น
- สินค้าไทยเป็นที่ต้องการในตลาด ทั้งสินค้าเกษตร สิ่งทอ อาหารกระป๋อง น้ำตาลทราย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้าร่วมกล่าวความร่วมมือ และกล่าวเปิดงานสัมมนา “Trade and Investment Opportunities in the Agriculture Sector in African Countries”

จัดโดย สถานเอกอัครราชทูตกลุ่มประเทศแอฟริกา ประจำประเทศไทย ร่วมกับสภาธุรกิจไทย-แอฟริกาใต้ และ South African–Thai Chamber of Commerce (SATCC) ณ โรงแรมบางกอกมิดทาวน์ ถนนพระราม 6
โดยได้รับเกียรติจาก นายลินด์ซีย์ คิมโวเล คิปทิเนสส์ เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐเคนยาประจำประเทศไทย และคณบดีคณะเอกอัครราชทูตแอฟริกา ประจำประเทศไทย กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตภูมิภาคประเทศแอฟริกา และผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานกว่า 100 ราย

ทั้งนี้ ภายในงานได้กล่าวบรรยายถึงโอกาส และศักยภาพของภูมิภาคแอฟริกา เป็นตลาดที่กำลังเติบโต มีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น และมีการเร่งพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จำนวนมาก เป็นประเทศที่อุดมไปด้วย ทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซปิโตรเลียม ทองค้า ทองแดง แพลตินัม ถ่านหิน เป็นต้น
โดยสินค้า และธุรกิจไทยเป็นที่ต้องการ ในตลาด เช่น สินค้าเกษตร สิ่งทอ อาหารกระป๋อง และน้ำตาลทราย
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีความสามารถในการผลิตชิ้นส่วน และอะไหล่ยานยนต์ เครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มี แนวโน้มนำเข้าสูงขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ประเทศในกลุ่มภูมิภาคแอฟริกา ได้มีการจัดทำข้อตกลงเขต การค้าเสรีทวีปแอฟริกา (AfCFTA) ซึ่งเป็น FTA ที่ครอบคลุมหลายด้าน ทั้งด้านการลดภาษีสินค้า บริการ และการลงทุน เพื่อกระตุ้นให้เกิด การค้าเสรีระหว่างกลุ่มประเทศในแอฟริกาด้วยกัน มีการลงนามร่วมแล้วกว่า 54 ประเทศในแอฟริกา
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้วิเคราะห์เศรษฐกิจ และการลงทุนในแอฟริกา กล่าวว่า แอฟริกาอุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซปิโตรเลียม ทองค้าทองแดง แพลตินัม ถ่านหิน เพชร black sand ฟอสเฟต และแร่โคบอลต์ผลิตแบตเตอรี่

ท้้งนี้ แอฟริกาเป็นตลาดที่กำลังเติบโต มีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น และเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จำนวนมาก จึงเป็นโอกาสสำหรับสินค้า และบริการของไทย โดยเฉพาะวัสดุก่อสร้าง อาหารสำเร็จรูป และอาหารแปรรูป
โดยการพัฒนาเมือง (Urbanization) ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น มีการคาดการณ์ว่า ทวีปแอฟริกา จะมีเมืองที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในปี 2573 (จาก 54 เมือง ในปี 2558 เป็น 89 เมืองในปี 2573)
นอกจากนี้ รายได้ต่อหัวของประชากรในเมืองใหญ่เหล่านี้จะสูงกว่า 2 เท่า ของรายได้ต่อหัวเฉลี่ยของทั้งทวีป เมืองใหญ่เหล่านี้ จึงกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดธุรกิจมากมายให้เข้ามาลงทุน
ทั้งนี้ ประเทศในภูมิภาคมีการจัดทำ FTAs กับหลายประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน และกับประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่(สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน) จึงอาจใช้เป็นเครื่องมือในการทำตลาดสินค้าไทยได้ในระดับทวีปได้
อีกทั้ง ยังมีการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกา (African Continental Free Trade Agreement: AfCFTA) ซึ่งเป็น FTA ที่ครอบคลุมหลายด้านทั้งด้านการลดภาษีสินค้า บริการ และการลงทุนโดย FTA นี้มีผลใช้บังคับแล้ว
โดยปัจจุบัน มีประเทศสมาชิกร่วมให้สัตยาบันสารแล้วมากกว่า 46 ประเทศ ครอบคลุมประชากรกว่า 14,000 ล้านคน ครอบคลุมการลดภาษีนำเข้าในสินค้าและบริการรวมกว่า 90% ของรายการสินค้าทั้งหมด

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2050 ความตกลงฉบับนี้ จะช่วยเพิ่มขนาดเศรษฐกิจของแอฟริกามากถึง 29 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ยังไม่มีการจัดทำ FTA กับไทย
โดยส่วนใหญ่แอฟริกา ทำการค้ากับประเทศยุโรปและเอเชีย ในปี 2566 มูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังโลกรวม 661 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีคู่ค้าส่งออกหลัก ได้แก่ จีน อิตาลี อินเดีย สเปน ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ ในปี 2566 มูลค่าการนำเข้าสินค้าจากโลกรวม 694 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งประเทศนำเข้าหลัก ได้แก่ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาฝรั่งเศส และแอฟริกาใต้
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : เอ็มเทค สวทช. ลงนาม ส.อ.ท.ทำฐานข้อมูลกลางด้านสิ่งแวดล้อมอุตฯเหล็ก