

“สุรพงษ์“ ติดตามการบริหารภาวะฉุกเฉิน แจงสถิติ เที่ยวบินตกหลุมอากาศ ขอลงจอดไทย 4 ครั้ง ในรอบ 10 ปี เน้นย้ำความพร้อมให้บริการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้การบินยังเป็นทางเลือกที่รวดเร็วและปลอดภัย
- เน้นย้ำความพร้อมให้บริการ
- ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
- ให้การบินยังเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย
วันที่ 1 มิ.ย.2567 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตนได้ติดตามการบริหารเหตุฉุกเฉินของไทย โดยกำชับให้หน่วยงานในการกำกับดูแล โดยเฉพาะ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ทำงานบูรณาการ เจาะลึกข้อมูลสถิติอุบัติการณ์ ที่เกิดจากสภาพอากาศแปรปรวน (Turbulence) หลังพบว่า มีสายการบินขอลงจอดฉุกเฉินในประเทศไทย เพียง 4 ครั้ง ในรอบ 10 ปี
ดังนั้นจึงขอเน้นย้ำความพร้อมให้บริการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้การบินยังเป็นทางเลือกที่รวดเร็วและปลอดภัย
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า โดย บวท. ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ให้บริการจัดจราจรทางอากาศเตรียมพร้อมรองรับทุกสถานการณ์ ทั้งในสถานการณ์ปกติที่เที่ยวบินเพิ่มสูงขึ้นและสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้โดยสาร และอากาศยาน และเน้นย้ำเรื่องการประสานงาน และติดตามข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาการบินอย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาวางแผนการจัดการจราจรทางอากาศ รองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
รวมถึงให้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ Turbulence เส้นทางการบินที่ ตกหลุมอากาศ บ่อยที่สุดในโลก มีความถี่ในการเกิดบ่อยหรือไม่ เท่าใด รวมทั้งขอรับทราบมาตรการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดของทุกเที่ยวบิน
“สำหรับประเทศไทย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีรายงานอุบัติการณ์ที่เกิดจากสภาพอากาศแปรปรวน (Turbulence) กับเครื่องบินพาณิชย์ จนมีผู้โดยสารและลูกเรือได้รับบาดเจ็บ ขอเปลี่ยนเส้นทางบิน (Divert) และขอมาลงจอดฉุกเฉินยังประเทศไทย จำนวน 4 ครั้ง ”
ซึ่งจากสถิติดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การเกิดภาวะอุบัติการณ์จากสภาพอากาศแปรปรวน (Turbulence) จนส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพของผู้โดยสาร มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก อย่างไรก็ตาม เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามนโยบายกระทรวงคมนาคม ที่มุ่งเน้นสร้างความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการเดินทางให้ประชาชน อีกทั้งให้ทำงานแบบบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบินของประเทศไทย และพร้อมให้การสนับสนุนภารกิจช่วยเหลือสายการบินกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง
ดังนั้น ขอให้ผู้โดยสารมั่นใจได้ว่า การเดินทางทางอากาศว่ายังคงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกด้วย
- เครื่องบินตกหลุมอากาศ รุนแรง 40% จากโลกเดือด
ขณะที่ด้าน ดร.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat ระบุข้อความว่า
เครื่องบินตกหลุมอากาศ บ่อยขึ้นแม้บินอยู่ในท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง..สัมพันธ์กับการที่โลกเข้าสูภาวะ”โลกเดือด”
1.โลกร้อนทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกสูงขึ้น 1.2 ถึง 1.4 องศา จากยุคก่อนปฎิวัติอุตสาหกรรม ยิ่งระดับความสูงจากผิวโลกขึ้นไปเกือบ 20 กม. อุณหภูมิบรรยากาศยิ่งร้อนขึ้นจึงไปทำให้ลมระดับบนที่ระยะความสูงระหว่าง 7.0 ถึง16 กมจากผิวโลก ที่เรียกว่าลมกรด หรือ Jet stream
ซึ่งมีความเร็วเฉลี่ย 200 ถึง 400 กม.ต่อชม.และเคลื่อนที่จากซีกโลกตะวันตกไปยังตะวันออกมีความเร็วลดลงในบางช่วงบางขณะซึ่งจะทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศบริเวณนั้นลดลงด้วย
ทำให้เกิดความแปรปรวนของอากาศ ทั้งที่อากาศช่วงนั้นปลอดโปร่งไม่มีพายุ หรือ เมฆฝนใด ๆ เรียกว่า Clear Air Turbulance หรือ CAT หากมีเครื่องบินบินผ่านแรงยกจากปีกของเครื่องบินจะลดลงอย่างกระทันหัน และเครื่องจะตกลงไปในมวลอากาศที่บางลงซึ่งเรียกว่า การตกหลุมอากาศ (pole pocket)
2.โลกร้อนขึ้น อุณหภูมิในบรรยากาศโลกสูงขึ้นอาจทำให้เกิดภาวะเครื่องบินตกหลุมอากาศมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่เครื่องบินบินอยู่ในบรรยากาศที่ปลอดโปร่งได้ซึ่งเรื่องนี้เกิดบ่อยขึ้น
นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาค้นพบว่า ตั้งแต่ปี1979 ถึง ปี 2020 มีเครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านั้นถึงร้อยละ 55 และมีความสัมพันธ์โดย ตรงกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนพื้นโลกสู่บรรยากาศทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ
…หากไม่ดำเนินการใด ๆ ในปี 2050 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้นถึง1.5 องศาเซลเซียสซึ่งเรียกว่า “สภาวะโลกเดือด” อาจจะทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงมากขึ้นถึง 40% แม้ขณะที่บินผ่านในบรรยากาศที่ปลอดโปร่งก็ตาม
ทั้งนี้ “หลุมอากาศ” เกิดขึ้นได้อย่างไร? เราหาคำตอบไว้ให้แล้ว
- เกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินบินเข้าไปใกล้กับรอยต่อ ระหว่างขอบนอกของกระแสลมกรดกับบริเวณสภาพอากาศปกติ ซึ่งสาเหตุข้อนี้ไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ กระแสลมกรด (Jet Stream) คือแถบกระแสลมแรงที่เคลื่อนที่ในเขตโทรโพพอส (แนวแบ่งเขตระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์กับชั้นสตราโตสเฟียร์)
โดยพัดจากด้านตะวันตกไปตะวันออกตามแนวการหมุนของโลก และพัดโค้งไปมาคล้ายแม่น้ำจากละติจูดสูงไปละติจูดต่ำ หรือจากละติจูดต่ำไปละติจูดสูง และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยและมักจะเกิดร่วมกับกระแสลมกรด เรียกว่า “บริเวณความปั่นป่วนในอากาศแจ่มใส” (Clear air turbulence: CAT)
2. เกิดขึ้นเมื่อมีลมพัดปะทะภูเขา ทำให้อากาศอีกด้านปั่นป่วน เกิดเป็นหลุมอากาศ สาเหตุข้อนี้สามารถคาดการณ์ได้ และโดยส่วนใหญ่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ นักบินจะเตือนผู้โดยสารให้ทราบ
3.พายุ ฝนฟ้าคะนอง สาเหตุข้อนี้สามารถตรวจพบได้ นักบินจึงหลีกเลี่ยงไม่บินไปใกล้ได้
ทั้งนี้ สภาพอากาศแปรปรวนทำให้เครื่องบินเกิดการตกหลุมอากาศ เครื่องบินเกิดการตกหลุมอากาศเกิดขึ้นในทุกระดับชั้นความสูง อาจทำให้เครื่องบินเสียการควบคุมร่วงหล่นจากเพดานบินปกติ และอาจเกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่บนเครื่องบินได้
โดยสภาพอากาศแปรปรวนถือว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการบิน ได้แก่ Clear Air Turbulance – CAT หรือหลุมอากาศที่เกิดจากกระแสลมปั่นป่วนอย่างรุนแรงที่ระดับความสูงเดียวกับเพดานบินของเครื่องบินโดยสาร
ลักษณะของหลุมอากาศชนิดนี้ เรดาร์บนเครื่องบินไม่สามารถตรวจจับได้ อากาศจะมีสภาพแจ่มใส แต่อาจเกิดความปั่นป่วนของกระแสลม ได้ตลอดเวลา
- ระดับความรุนแรง ของการตกหลุมอากาศ
เครื่องบินเกิดการตกหลุมอากาศ เกิดขึ้นในทุกระดับชั้นความสูง อาจทำให้เครื่องบินเสียการควบคุมร่วงหล่นจากเพดานบินปกติ และอาจเกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่บนเครื่องบินได้ โดยสภาพอากาศแปรปรวนถือว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการบิน ได้แก่ Clear Air Turbulance – CAT หรือ หลุมอากาศที่เกิดจากกระแสลมปั่นป่วนอย่างรุนแรงที่ระดับ
ความสูงเดียวกับเพดานบินของเครื่องบินโดยสาร ลักษณะของหลุมอากาศชนิดนี้ เรดาร์บนเครื่องบินไม่สามารถตรวจจับได้ อากาศจะมีสภาพแจ่มใส แต่อาจเกิดความปั่นป่วนของกระแสลมได้ตลอดเวลา หากจะติดตั้งเรดาร์แบบตรวจจับ จะมีราคาแพงและน้ำหนักมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคของเครื่องบิน จึงไม่ค่อยนิยมใช้
ความรุนแรงของหลุมอากาศที่เกิดจากกระแสลมแปรปรวน หรือ Clear Air Turbulance – CAT นั้น สำนักอุตุนิยมวิทยาได้แบ่งเป็น 4 ระดับ
1.ความรุนแรงเล็กน้อย (Light) : ทำให้ผู้โดยสารต้องรัดเข็มขัด นั่งอยู่กับที่นั่ง สิ่งของต่างๆ ในเครื่องบินต้องเก็บให้เรียบร้อย ความรุนแรงในระดับนี้ ผู้โดยสารอาจจะไม่รู้สึกถึงการสั่น
2.ความรุนแรงปานกลาง (Moderate) : ทำให้ผู้โดยสารต้องรัดเข็มขัด และผู้โดยสารอาจถูกโยนตัวขึ้นเป็นครั้งคราว แม้จะรัดเข็มขัดแล้ว และสิ่งของต่างๆ ในเครื่องบินอาจเคลื่อนที่ได้
3.ความรุนแรงมาก (Severe) : สภาพปั่นป่วนทำให้นักบินไม่สามารถควบคุมเครื่องบินได้ขณะหนึ่ง ผู้โดยสารถูกโยนตัวขึ้นลงอย่างรุนแรงขณะรัดเข็มขัด และสิ่งของต่างๆ ในเครื่องบินอาจถูกโยนลอยขึ้นในอากาศได้
4.ความรุนแรงมากที่สุด (Extreme) สภาพความปั่นป่วนระดับนี้พบน้อยมาก ตัวเครื่องบินถูกโยนขึ้นลงอย่างรุนแรงมาก นักบินไม่สามารถควบคุมเครื่องบินได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องบิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : การบินไทย รับขนส่ง ผู้โดยสาร ฮัจน์เปิด เที่ยวบิน พิเศษ 28 เที่ยว
: เฟสบุ๊ค Sonthi Kotchawat