CAAS ผนึก FSF สิงคโปร์ เปิดเวทีถก “ความปลอดภัยการบินเอเชีย” 400 รัฐเอกชนร่วม AP-SAS 2023 ระดมแก้ด่วนทุกปัญหาหลังโควิด



  • CAAS แท็กทีม FSF นำสิงคโปร์ดึงรัฐ เอกชน กว่า 400 ราย แห่ร่วมประชุม “AP-SAS 2023”
  • ถกใหญ่ “ความปลอดภัยด้านการบิน เอเชียแปซิฟิก” รับมือหลังโควิด-19 การบินฟื้นตัวเร็ว แอร์ไลน์ส สนามบินองค์กรกำกับดูแล
  • เจอความท้าทายใหม่ “ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย” ปลุกกระแสความร่วมมือทั้งภูมิเอเชียขจัดทุกปัญหาโดยด่วน

นาย Han Kok Juan ผู้อำนวยการใหญ่สถาบันองค์กรการบินพลเรือนแห่งสิงคโปร์  (CAAS : Civil Aviation Authority of Singapore) เปิดเผยว่า CAAS ร่วมกับ มูลนิธิความปลอดภัยในการบิน (FSF : Flight Safety Foundation) ร่วมมือกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม “ประชุมสุดยอดผู้นำด้านความปลอดภัยการบินแห่งเอเชียแปซิฟิก : AP-SAS 20023 หรือ INAUGURAL ASIA-PACIFIC AVIATION SAFETY SUMMIT” ระหว่างวันที่ 22-24 มีนาคม 2566 โดยมีกระแสตอบรับอย่างล้นหลามจากผู้นำหน่วยงานกำกับดูแลสายการบิน ผู้ผลิตเครื่องบิน ผู้ให้บริการเดินอากาศ และองค์การการบินเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินอื่น ๆ ทั่วเอเชีย แปซิฟิก 35 ประเทศ เข้าร่วมกว่า 400 ราย เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เบื้องต้นคาดจะได้รับความสนใจประมาณ 300 ราย

โดยมี Mr S Iswaran รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมสิงคโปร์และรัฐมนตรีการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานเปิดการประชุมสุดยอดระดับภูมิภาคครั้งแรกในเอเชีย แปซิฟิก วันแรกเมื่อ 22 มีนาคม 2566

ตลอดการประชุมทั้ง 3 วัน ได้จัดให้มีวิทยากร 58 คน ที่มีชื่อเสียงแถวหน้าจากภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมการบินขึ้นเวทีนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเตรียมหารือความร่วมมือระดับภูมิภาคจะช่วยเอาชนะได้อย่างไร กับ “ความเสี่ยง” 2 เรื่องสำคัญ คือ เรื่องที่ 1 ผลกระทบทางการบินหลังสถานการณ์เกิดโรคระบาดโควิด-19 เรื่องที่ 2 ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ต่อความปลอดภัยในการบิน โดยมีวาระสำคัญ ประกอบด้วย

เรื่องที่ 1 “จัดการกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัย” เกิดขึ้นท่ามกลางการฟื้นตัวการเดินทางทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ต่างต้องเพิ่มกำลังคนและการดำเนินงานตอบสนองความต้องการเดินทางทางอากาศซึ่งปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้สายการบิน สนามบินนานาชาติ และผู้ให้บริการเดินอากาศ พากันเครียดกับกระบวนการต่าง ๆ ที่จะใช้รับมือกับปริมาณจราจรและผู้โดยสาร

ปีต่อ ๆ ไปในเอเชียแปซิฟิก จึงต้องร่วมมือกันป้องกันผลกระทบด้านความปลอดภัย เนื่องจากทั้งภูมิภาคกำลังฟื้นตัวอย่างเต็มที่ จึงต้องร่วมกันเน้นย้ำกระบวนการรับมือเพราะตอนนี้ทั่วโลกกำลังวิกฤตเรื่อง “คนด้านการบิน” ที่มีประสบการณ์ ส่งผลถึงห่วงโซ่อุปทานการบินต้องหยุดชะงักกระทบต่อเข้าถึงอุปกรณ์การบินด้วย

เรื่องที่ 2 วางกลยุทธ์ขจัดปัญหาและอุปสรรคการบริการเดินอากาศ จำเป็นจะต้องหาทางออกโดยเร็ว เพราะอาจเป็นอุปสรรคให้การบินหยุดชะงักได้จากระบบการทำงานล้มเหลว ความท้าทายด้านแรงงาน และการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน สิ่งเหล่านี้อาจจะส่งผลให้เกิดยกเลิกการเดินทางจำนวนมากได้ เกิดความล่าช้า และกระทบต่อความปลอดภัย ฉนั้นผู้ให้บริการการเดินอากาศและสายการบินจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อจัดทำแผนเผชิญเหตุ โดยประสานกันทำให้บริการทางอากาศมีความต่อเนื่องและปลอดภัยหากเกิดการหยุดชะงักจากหลายสาเหตุดังกล่าว

เรื่องที่ 3 ผสมผสานเทคโนโลยีก่อกวนอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะการจัดการนำ ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ยานพาหนะไร้คนขับ และวิทยาการหุ่นยนต์ สามารถช่วยเพิ่มบุคลากรด้านการบินและทำให้ระบบสนามบินยืดหยุ่นมากขึ้นได้ แต่ละสนามบินจำเป็นต้องปรับใช้และรวมเข้ากับกระบวนการของสนามบินที่มีอยู่อย่างปลอดภัย และพนักงานด้านการบินจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมเพื่อปรับให้เข้ากับกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่

ซึ่งรัฐบาลของแต่ละประเทศจะต้องวางกรอบ “การกำกับดูแลที่จำเป็น” เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ควบคู่กับการเดินหน้ารับประกันการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างปลอดภัยไปพร้อม ๆ กัน

เรื่องที่ 4 แผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างปลอดภัย ขณะนี้ “ความยั่งยืน” ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญในอุตสาหกรรมการบิน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการดำเนินการด้านสภาพอากาศจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติการทางอากาศและความปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมการบินทุกประเทศจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน หันมาให้น้ำหนักความสำคัญประกาศใช้มาตรการลดผลกระทบที่จำเป็น และทำให้มั่นใจถึงกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สามารถรวมเข้าด้วยกันได้อย่างปลอดภัย

เรื่องที่ 5 สุขภาพจิตและสุขภาพที่ดีของผู้เชี่ยวชาญด้านการบิน ช่วงการระบาดใหญ่โควิด-19 เนแรงผลักที่ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น สุขภาพกายและจิต รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดี ล้วนมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรการบินและความปลอดภัย จึงต้องให้ความสำคัญในการตรวจหาสาเหตุและแก้ไขทุกปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

นาย Han Kok Juan ผู้อำนวยการใหญ่ของ CAAS กล่าวว่า การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมเกินเป้าหมายเป็นเครื่องพิสูจน์รัฐบาลและผู้นำในอุตสาหกรรมทั่วเอเชีย แปซิฟิด ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้านการบินอย่างจริงจัง และการบินก็มุ่งฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ด้วยการหาวิธีทำงานร่วมกันจัดการกับความท้าทาย ซึ่งทาง CASS สิงคโปร์ รู้สึกเป็นเกียรติในการทำงานร่วมกับมูลนิธิความปลอดภัยการบินเปิดเวทีปลุกกระแสความร่วมมือระดับภูมิภาคเดินหน้าพัฒนาความปลอดภัยด้านการบินทั้งปัจจุบันและอนาคตให้เกิดประสิทธิภาพที่ดี

ดร.ฮัสซัน ชาฮิดี ประธานและซีอีโอ FSF กล่าวว่า ขอบคุณที่ได้ร่วมมือกับ CAAS จัดประชุมสุดยอดผู้นำการบินเอเชียแปซิฟิก ครั้งนี้ ในช่วงเวลาสำคัญการฟื้นตัวขอองการบินในภูมิภาค และหวังจะได้มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการบินจากทั่วภูมิภาค ในประเด็นสำคัญด้านความปลอดภัย ความท้าทายและโอกาสที่ปัจจุบันอุตสาหกรรมเผชิญอยู่โดยพร้อมจะพัฒนาเป้าหมายร่วมกันผลักดันการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องต่อไป

สำหรับ “สถาบันองค์กรการบินพลเรือนแห่งสิงคโปร์ : CASS” ในฐานะองค์กรสร้างศูนย์กลางการบินและระบบการบินพลเรือนอย่างปลอดภัยและมีชีวิตชีวา มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของสิงคโปร์ ในการแสดงบทบาทดูแลและส่งเสริมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมการบิน พัฒนาศูนย์กลางการบินและอุตสาหกรรมการบิน ให้บริการการเดินอากาศ ฝึกอบรมด้านการบินเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสนับสนุนการพัฒนาการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

ขณะที่ “มูลนิธิความปลอดภัยการบิน : FSF เป็นองค์กรระหว่างประเทศอิสระที่ไม่แสวงหากำไร มีส่วนร่วมในการวิจัยการศึกษา การสนับสนุน และการสื่อสารเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยในการบิน ทางมูลนิธิมีภารกิจการเชื่อมโยงเครือข่ายนำความปลอดภัยสู่การบินทั่วโลก

เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza, www.facebook.com/penroongyaisamsaen