

- AITA เปิดผลสำรวจปี’65 หลังโควิด-19 นักเดินทางทั่วโลกยืนยันต้องพลิกโฉมอุตสาหกรรมการบิน
- แนะใช้ระบบ ”ONE ID” หลังโพลล์หนุนเปลี่ยน 3 เรื่องใหญ่ “วางแผนจองต้องสะดวก” เลือกสนามบินใกล้จ่ายเงินง่ายลดปล่อยคาร์บอน
- “ความสะดวกการเดินทาง” ปลดล็อกอุปสรรคเรื่องวีซ่าออนไลน์ป้องกันข้อมูลส่วนตัวอย่างปลอดภัย
- “ขั้นตอนในสนามบิน” ปรับด่วนระบบเช็คอิน ตรวจคนเข้าเมือง ขนสัมภาระกระเป๋า
นิค คารีน รองประธานอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการ ความปลอดภัย และความมั่นคงของ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไออาต้า/IATA) กล่าวว่า ไออาต้าได้ประกาศผลการสำรวจผู้โดยสารทั่วโลก (GPS) ประจำปี 2565 เพื่อแสดงให้เห็นถึงผู้เดินทางช่วงหลังวิกฤตโควิดต้องการมุ่งเน้นเรื่องความเรียบง่ายและความสะดวกสบายอย่างปลอดภัยมากที่สุด
เนื่องจากการเดินทางในช่วงโควิด-19 มีขั้นตอนซับซ้อน ยุ่งยาก ใช้เวลานาน เพราะรัฐบาลแต่ละประเทศต่างมีข้อกำหนดด้านการเดินทางแตกต่างกันไปหลังเกิดโรคระบาด ผู้โดยสารต้องการความสะดวกสบายที่ดีขึ้นตลอดการเดินทาง หันมาใช้กุญแจสำคัญโดยการใช้ระบบดิจิทัลและไบโอเมตริกซ์เร่งการเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกฟื้นตัวและเติบโตในอนาคตต่อไป ซึ่งผลสำรวจประจำปี 2565 ผู้โดยสารเดินทางทางอากาศยืนยันความต้องการหลัก ๆ

เรื่องที่ 1 การวางแผนและการจอง ผู้โดยสารต้องการความสะดวกสบายเมื่อต้องวางแผนเดินทางและเมื่อเลือกจุดหมายปลายทาง ด้วยการใช้บริการสนามบินใกล้บ้านซึ่งมีตัวเลือกจองและบริการทั้งหมดรวมอยู่ที่เดียวกัน ชำระเงินด้วยวิธีที่ต้องการ แล้วก็ต้องมีส่วนร่วมชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนอย่างง่าย ดังนี้
อันดับแรก สนามบินใกล้บ้านผู้โดยสาร 75% โดยให้ความสำคัญจะเลือกบินจากที่ใดมากกว่าราคาตั๋วโดยสารเครื่องบินซึ่งมีเพียง 39 %
อันดับสอง ช่องทางการชำระเงิน 82%ผู้เดินทางพอใจที่จะใช้วิธีเข้าถึงง่ายที่นำใช้ได้กับผู้เดินทางถึง การเข้าถึงข้อมูลการวางแผนและการจองในที่เดียวถูกระบุว่ามีความสำคัญสูงสุด
อันดับสาม ร่วมชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของอากาศยาน มี 18% แต่ก็ยังมีผู้ที่ไม่ได้ตระหนักถึงทางเลือกดังกล่าวอยู่ด้วย 36%
Muhammad Albakri รองประธานอาวุโส IATA Financial Settlement and Distribution Services กล่าวว่าปัจจุบันนักเดินทางทางเครื่องบินทั่วโลกคาดหวังประสบการณ์ “ออนไลน์” แบบเดียวกันกับที่ผู้บริโภคได้รับจากผู้ค้าปลีกรายใหญ่อย่าง อเมซอน ดังนั้นสายการบินนานาชาติจึงกำลังขับเคลื่อนบริการเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว จัดทำข้อเสนอเต็มรูปแบบแก่นักเดินทางได้ ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารส่วนรวมสามารถควบคุมประสบการณ์การเดินทาง โดยมีตัวเลือกการเดินทางตามต้องการชำระเงินอย่างสะดวกสบายมากกว่าทุกวันนี้

เรื่องที่ 2 การอำนวยความสะดวก ด้านการเดินทาง ผู้เดินทางส่วนใหญ่ยินดีแบ่งปันข้อมูลการย้ายถิ่นฐานของตนเพื่อให้ดำเนินการได้สะดวกยิ่งขึ้น คือ
1.ผู้เดินทาง 37% ยืนยันพวกเขาถูกกีดกันไม่ให้เดินทางไปยังจุดหมายปลายทางใดสถานที่หนึ่ง เนื่องจากข้อกำหนดด้านการย้ายถิ่นฐาน ความซับซ้อนของกระบวนการมีอุปสรรคหลัก ยืนยันได้จากข้อมูลของนักเดินทาง 65% ค่าใช้จ่ายที่อ้างถึง 12% และเวลา 8%
2.กรณีต้องมีวีซ่า 66%ของผู้เดินทางต้องการขอวีซ่าออนไลน์ก่อนเดินทาง อีก 20 % ชอบไปที่สถานกงสุลหรือสถานทูต และ 14% ต้องการทำวีซ่าตรงสนามบิน
3.การแบ่งปันข้อมูลการเข้าเมืองเพื่อเร่งกระบวนการเดินทางมาถึงสนามบิน มีผู้โดยสารตอบแบบสอบถามเพื่อยืนยันต้องการเรื่องนี้ 83% อยู่ในระดับสูง แต่ลดลงเล็กน้อยจากปี 2564 เน้นความต้องการเรื่องนี้มากถึง 88%
นิค คารีน ยืนยันว่า นักเดินทางบอกถึงอุปสรรคยังคงมีอยู่ ประเทศที่มีขั้นตอนการขอวีซ่าซับซ้อนกำลังสูญเสียประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เมื่อประเทศต่างๆ ยกเลิกข้อกำหนดด้านวีซ่า ก็จะเป็นแรงส่งทำให้เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวและการเดินทางเติบโตขึ้น ขณะที่ประเทศที่กำหนดให้นักเดินทางบางประเภทต้องขอวีซ่า สามารถยื่นผ่านออนไลน์และเต็มใจแบ่งปันข้อมูลล่วงหน้าอย่างโปร่งใสก็จะเป็นทางออกที่ดีกับทั้งสองฝ่าย
เรื่องที่ 3 ขั้นตอนกระบวนการในสนามบิน ผู้โดยสารยินดีจะใช้เทคโนโลยีและกระบวนการคิดใหม่เพื่อปรับปรุงความสะดวกสบายเรื่องประสบการณ์ในสนามบินและการจัดการสัมภาระผู้โดยสารทุกคน คือ
อันดับแรก ผู้โดยสารยินดีจะทำตามองค์ประกอบนอกสนามบิน โดยมีผู้เดินทาง 44% ระบุเรื่อง “การเช็คอิน”เป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่เสนอให้ทำนอกสนามบิน
อันดับ 2 ขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองเป็น “ตัวเลือกยอดนิยม” ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 32%
อันดับ 3 สัมภาระ ในจำนวนนี้มีผู้โดยสาร 93% สนใจโปรแกรมพิเศษของนักเดินทางที่เชื่อถือได้ โดยเฉพาะเรื่องการตรวจสอบประวัติ เพื่อเร่งการคัดกรองความปลอดภัย
อีกทั้งผู้โดยสาร 67% สนใจตัวเลือกเพิ่มเติมด้านการจัดการสัมภาระ 73 %เสนอให้เพิ่มบริการไปรับและจัดส่งถึงบ้าน และ 80 % ขอให้มีตัวเลือกบริการเช็คอินทางไกล 80% แนวโน้มจะมีเช็คอินกระเป๋าตามแนวคิดดังกล่าวมากขึ้นเมื่อพวกเขาสามารถตรวจสอบได้ตลอดการเดินทาง และ 50% บอกว่าเคยใช้หรือสนใจจะใช้แท็กกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนี้ผู้โดยสารยังเน้นเรื่องการเห็นคุณค่าในการระบุตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์ นั่นคือ 75% ของผู้โดยสารต้องการใช้ข้อมูลไบโอเมตริกซ์แทนหนังสือเดินทางและบัตรผ่านขึ้นเครื่อง มากกว่าถึง 1 ใน 3 ต่างก็มีประสบการณ์การใช้การระบุตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์ในการเดินทางของพวกเขามาแล้ว หัวข้อนี้ผู้โดยสารมีความพึงพอใจ 88% แต่อีกประมาณ 50 % ก็ยังมีความการปกป้องข้อมูลส่วนตัวด้วยเช่นกัน
นิค แครีน กล่าวเสริมถึงผู้โดยสารมองเห็นอย่างชัดเจนว่าเทคโนโลยีเป็นกุญแจสำคัญในการปรับปรุงความสะดวกสบายเพื่อกำหนดใช้ขั้นตอนในแต่ละสนามบิน พวกเขาต้องการไปถึงสนามบินแล้วพร้อมบินทันที สนามบินเองก็จะได้ประโยชน์ระบายผู้โดยสารทำให้การเดินทางได้รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยใช้ไบโอเมตริกซ์ รวมถึงรู้ว่าสัมภาระของพวกเขาอยู่ที่ไหนตลอดเวลา

สำหรับเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเดินทางทางอากาศของผู้โดยสารทั่วโลกยุคใหม่นั้น ต้องการความร่วมมือทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าและกับรัฐบาลของแต่ละประเทศที่จะผลักดันนโยบายเพื่อให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ ส่วนไออาต้าเองจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสารอย่างต่อเนื่องเรื่องข้อมูลที่จำเป็นในการสนับสนุนประสบการณ์ดังกล่าวจะถูกเก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัยทุกครั้ง
ทั้งนี้ไออาต้ามีโครงการ One ID พร้อมจะนำมาใช้ขับเคลื่อนบริการสนามบินด้วยไบโอเมตริกซ์ เพื่อช่วยให้รัฐบาลแต่ละประเทศเข้าใจศักยภาพผู้โดยสารในการแบ่งปันข้อมูลการเดินทาง ทั้งกับผู้ใช้บริการโดยตรงและล่วงหน้าก่อนการเดินทาง รวมทั้งพลังของกระบวนการไบโอเมตริกซ์ เพื่อปรับปรุงกระบวนการรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวก แล้วเลือกใช้ทรัพยากรที่หายากได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนประตูอิเล็กทรอนิกส์ที่สนามบินจะเป็นการพิสูจน์ประสิทธิภาพที่สามารถทำได้
ซึ่งลำดับความสำคัญคือการสนับสนุนมาตรฐาน One ID พร้อมกฎระเบียบเพื่อให้สามารถใช้งานได้เพื่อสร้างประสบการณ์ทุกส่วนให้ผู้โดยสารเดินทางอย่างราบรื่นทุกครั้งทุกแห่งทั่วโลก
เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza,www.facebook.com/penroongyaisamsaen