

- กว่า 1 ปีใช้ไม้ยืนต้น 2.5 หมื่นต้นค้ำกู้เงิน 4 ล้านบาท
- มีทั้งขอสินเชื่อจากพิโกไฟแนนซ์-สถาบันการเงิน
- พาณิชย์ยันเข้าถึงสินเชื่อได้จริงแม้กู้ได้รายละไม่มาก
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่กฎกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้ทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2561 ภายใต้พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจพ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย.61 เป็นต้นมานั้น ล่าสุด จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.64 มีสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อรายย่อยอเนกประสงค์ (พิโกไฟแนนซ์) รับไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันทางธุรกิจแล้ว 119,498 ต้น มูลค่าสินเชื่อรวมกว่า 134 ล้านบาท แบ่งเป็น พิโกไฟแนนซ์ 96,277 ต้น สินเชื่อ 4.03 ล้านบาท ต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นหลักประกัน เช่น ยาง ยางพารา สัก เป็นต้น และสถาบันการเงินอื่น 23,221 ต้น สินเชื่อกว่า 130 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 221 ต้น สินเชื่อ 2.35 ล้านบาท ต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นหลักประกัน เช่น สัก มะขาม มะกอกป่า สะเดา ตะโก แดง ประดู่ป่า เป็นต้น

“กรมได้ผลักดันผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อ ได้เห็นคุณค่าของไม้ยืนต้น และพร้อมที่จะใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน จึงทำให้พิโกไฟแนนซ์ รับไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ นอกเหนือจาก บัญชีเงินฝาก รถจักรยานยนต์ รถยนต์ เป็นต้น แม้ผู้ขอกู้ จะได้รับวงเงินสินเชื่อที่ไม่สูงมากนัก รายละ 50,000-100,000 บาท แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้กู้ ที่เป็นเกษตรกรและผู้ประกอบการ และยังเป็นการลดการกู้ยืมเงินนอกระบบที่ไม่เป็นธรรม ผิดกฎหมาย คาดว่า ในอนาคตพิโกไฟแนนซ์ จะให้สินเชื่อโดยใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันได้มากขึ้น โดยที่เกษตรกร ที่ขอสินเชื่อไม่ต้องตัด หรือโค่นต้นไม้”
ส่วนเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้ง 3 ระลอก หรือตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.63-30 มิ.ย.64 มีเกษตรกรนำไม้ยืนต้นมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันแล้ว 25,720 ต้น สินเชื่อ 4.11 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินกับทั้งพิโกไฟแนนซ์ และธ.ก.ส. ซึ่งช่วยให้เกษตรกร โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาคมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและสะดวกอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ เน้น หลักความสุจริต ดังนั้น ทั้งผู้ให้หลักประกัน (ผู้กู้) และผู้รับหลักประกัน (สถาบันการเงิน) ต้องชี้แจงรายละเอียดอย่างครบถ้วนก่อนลงนามในสัญญาการกู้เงิน เพื่อลดข้อขัดแย้งในอนาคต
ส่วนเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้ง 3 ระลอก หรือตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.63-30 มิ.ย.64 มีเกษตรกรนำไม้ยืนต้นมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันแล้ว 25,720 ต้น สินเชื่อ 4.11 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินกับทั้งพิโกไฟแนนซ์ และธ.ก.ส. ซึ่งช่วยให้เกษตรกร โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาคมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและสะดวกอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ เน้น หลักความสุจริต ดังนั้น ทั้งผู้ให้หลักประกัน (ผู้กู้) และผู้รับหลักประกัน (สถาบันการเงิน) ต้องชี้แจงรายละเอียดอย่างครบถ้วนก่อนลงนามในสัญญาการกู้เงิน เพื่อลดข้อขัดแย้งในอนาคต

ทั้งนี้ กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ เป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะรายกลางและเล็ก ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันการขอกู้เงิน สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากขึ้น เพียงแค่นำหลักสินที่มีมูลค่าอื่น ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้น ซึ่งได้แก่ กิจการ, สิทธิเรียกร้อง เช่น สัญญาเช่า บัญชีเงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า เป็นต้น, สังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง หรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า เป็นต้น, อสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่ผู้ให้หลักประกันประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เช่น ที่ดินจัดสรร หมู่บ้านจัดสรร เป็นต้น , ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ เป็นต้น และทรัพย์สินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น ไม้ยืนต้น