

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามนโยบายการใช้พื้นท่ี การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)มาทำประโยชน์ให้ประชาชนว่า ขณะนี้ทาง กทพ. ได้รายงานว่า ปัจจุบัน กทพ. มีเขตทางรวมทั้งหมด ประมาณ 2,900 ไร่ สามารถนำมาใช้เป็นสาธารณประโยชน์ได้ประมาณ 1,136 ไร่ หรือคิดเป็น 39.17 %โดย กทพ. ได้พัฒนาพ้ืนท่ีบางส่วนเพื่อสาธารณประโยชน์ไปบางแล้ว เช่น การพัฒนาสวนหย่อม สวนสาธารณะ เส้นทางจักรยาน และการจัดทาเส้นทางลัด เป็นต้น สาหรับการพัฒนาพื้นที่เพื่อประโยชน์ของ ประชาชนตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม
นอกจากนั้นทาง กทพ. ยังได้พิจารณาพื้นท่ีที่มีศักยภาพ อีก 7 แห่ง ประกอบไปด้วย1. บริเวณใต้ด่านอโศก 1 เน้ือท่ีประมาณ 3 ไร่ พัฒนาเป็น พื้นท่ีสีเขียวพร้อมลู่วิ่ง ลานพักผ่อนและ กิจกรรมและลานจอดรถ คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้พันธมิตรรับไปพัฒนาได้ในเดือนพฤศจิกายน 64 2. บริเวณพ้ืนที่ร่วมบริการทางพิเศษเพลินจิต เนื้อท่ีประมาณ 4.5 ไร่ พัฒนาเป็นพ้ืนที่ร่วมบริการ และลานกิจกรรม คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้พันธมิตรรับไปพัฒนาได้ในเดือนกรกฎาคม 66 , 3.บริเวณศูนย์บริการทางพิเศษบางโปรง เนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ พัฒนาเป็น Service Center ครบวงจร (เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งจะต้องดาเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป) 4. บริเวณพื้นที่บริการสังคม ทางพิเศษสีลม เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่ร่วมบริการ และ ลานกิจกรรม คาดว่าจะสามารถส่งมอบพ้ืนที่ให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกได้ประมาณเดือนกันยายน 2566 5. บริเวณสถานที่บริการทางพิเศษอุดรรัถยา กม. 16 เนื้อท่ี ประมาณ 20 ไร่ พัฒนาเป็น Service Area ครบวงจร (เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งจะต้องดาเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป) 6. พื้นที่ทางพิเศษอุดรรัถยา บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต เนื้อที่ประมาณ 98 ไร่ พัฒนา เป็น Park & Ride และโลจิสติกส์ ทั้งนี้จะเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ทั้งนี้ อาจพิจารณาความเป็นไปได้ ที่จะพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 7. พื้นท่ีบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ พัฒนาเป็น ศูนย์บริการรัฐวิสาหกิจ ร้านค้า Skywalk และพื้นที่สาธารณะ คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกได้ ประมาณเดือนกันยายน 67
“ขอให้ กทพ. พิจารณาภายใต้หลักการว่า การพัฒนาจะต้องสร้าง รายได้ใหเ้พียงพอต่อการบริหาร และไม่เป็นภาระต่อภาครัฐ ทั้งนี้ การออกแบบโครงการจะต้องออกแบบให้เกิด ประโยชน์สูงสุดในการใช้พื้นที่ ลดปัญหาที่จะเกิดจากการพัฒนาพื้นที่ ขณะเดียวกันขอให้ กทพ. ทำความเข้าใจกับประชาชนถึง วัตถุประสงค์ของการพัฒนาให้มีความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา และหากพื้นที่ที่จะพัฒนาจะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ขอให้ กทพ. พิจารณาแนวทางร่วมลงทุนที่ดีที่สุดในการดำเนินการ โดยจะต้องมีความชัดเจนทั้งในส่วนของวงเงินการลงทุน และผลตอบแทนรวมถึงต้องมีแผนปฎิบัติการให้มีความชัดเจน”
