กระทรวงพลังงานแจง โซลาร์ทหารบก 3 หมื่นเมกะวัตต์



  • เป็นโครงการศึกษาที่ต้องศึกษาร่วมกันทุกฝ่าย
  • จะบรรจุในแผนพลังงานแห่งชาติหรือไม่
  • ต้องรอผลศึกษาให้รอบคอบก่อน  

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์  รมว.พลังงาน เปิดเผยความคืบหน้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนพื้นดิน(โซลาร์ฟาร์ม) ของกองทัพบก(ทบ.) ที่มีปริมาณรวม 30,000 เมกะวัตต์ จะถูกบรรจุในแผนพลังงานแห่งชาติด้วยหรือไม่ จะต้องรอผลการศึกษา เพราะโครงการดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาเท่านั้น ยังจำเป็นต้องหารือร่วมกับทุกฝ่าย

นายสุพัฒน์พงษ์ กล่าวว่า โซลาร์ฟาร์มของทบ.ที่ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)นำร่องโครงการแห่งแรก  จำนวน300เมกะวัตต์ในพื้นที่3,000 ไร่ ที่เป็นที่ดินราชพัสดุ ที่อยู่ในความดูแลของทบ. ที่อ.เมืองกาญจนบุรี เป็นโครงการเพื่อการศึกษาศักยภาพเท่านั้น ตนยืนยันว่าหลายๆหน่วยงานในประเทศไทยมีความปารถณาดีต่อประเทศไทย  เช่นเดียวกับโครงการผลิตไฟฟ้าในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี ) ที่ขณะนี้จะมีการลงทุนผลิตไฟฟ้านำร่อง 500 เมกะวัตต์ก็จะต้องมาศึกษาถึงความเหมาะสมร่วมกันอีกครั้งว่ามีความเป็นไปได้อย่างไร

สำหรับ กรณี ปริมาณสำรองไฟฟ้าในปัจจุบันที่อยู่ระดับสูง จากปกติควรอยู่ระดับ 10-20% จึงจะเหมาะสม ในขณะนี้ ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดจากการประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาครัฐที่ผิดพลาด แต่เป็นเพราะผลกระทบโควิด-19 ทำให้ไฟฟ้าสำรองเพิ่มสูงขึ้น เพราะเศรษฐกิจของประเทศไทย ชะลอตัวลงต่อเนื่อง เหมือนกับเศรษฐกิจของหลายๆประเทศทั่วโลก ทำให้ประชาชนลดการใช้ไฟฟ้าลง  ล่าสุดขณะนี้ประเทศไทยเริ่มมีสัญญานบ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจในประเทศ กำลังทยอยฟื้นตัว ความต้องการ การใช้ไฟฟ้าก็จะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ปัญหาไฟฟ้าสำรองล้นระบบทยอยลดลง  และในอนาคตอาจมีความต้องการใช้ไฟฟ้า สูงขึ้น เมื่อประเทศไทยก้าวสู่เทคโนโลยีทั้ง ยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี)  ศูนย์ข้อมูล หรือ Data Center ฯลฯ ที่เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก 

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ. )กล่าวว่า  กฟผ.ได้ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ  สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) หรือ GISTDA  ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันประกาศเจนารมณ์ ในการจัดการพลังงาน คุณภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อม” Breathe our future รวมพลังเพื่อลมหายใจแห่งอนาคต” ซึ่งปัจจุบันกฟผ.ได้เน้นการพัฒนาและสนับสนุนพลังงานสะอาด ทั้ง โซลาร์ลอยน้ำ(Floating Solar)  รถอีวี เป็นต้นซึ่งกระทรวง พลังงานได้มอบให้กฟผ.พิจารณาแนวทางส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้เตาแม่เหล็กไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)ในการหุงอาหารจำนวนมากซึ่งทำให้กองทุนน้ำมันต้องอุดหนุนราคา ต่อเนื่อง