5 โรคฮิตคนเมือง ไม่อยากเป็น อ่านก่อน ป้องกันได้

หากพูดถึง “เมืองใหญ่” ย่อมตามมาด้วยคำจำกัดความของ “ความวุ่นวาย ความเครียด การแก่งแย่ง ปัญหารถติดและมลพิษ” แต่เพราะ “ความเจริญเติบโต ไลฟสไตล หรือ หน้าที่การงาน” ทำให้คนจำนวนมากยังคงต้องพักอาศัยและทำมาหากิน ในเมืองหลวง หรือเมืองใหญ่ต่อไป

แต่เราจะอยู่อย่างไร ไม่ให้ “ความเจริญของตัวเมือง” ทำร้ายสุขภาพของเราเกินความจำเป็น ในทางการแพทย์ ได้ออกมาเตือนถึง 5 โรคคนเมือง ที่เป็นกันมากที่สุดในขณะนี้ และหนทางป้องกัน

โรคไมเกรน

อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง บริเวณขมับหรือใกล้เบ้าตา ลักษณะการปวดจะรู้สึกปวดลึกเป็นจังหวะสอดคล้องกับการเต้นของหัวใจ เป็นสัญณาณเตือนของโรคไมเกรน เป็นหนึ่งโรคที่กำลังคุกคามประชาชนในเมืองใหญ่อย่างน่าเป็นห่วง

ข้อมูลจากคณะกรรมการการอาหารและยา ระบุว่า การปวดหัวไมเกรนส่วนใหญ่ จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเนื่องจากช่วงอายุที่พบเป็นช่วงวัยทำงาน มากกว่าผู้สูงอายุ แต่เมื่ออายุมากขึ้นอาการจะลดลง และผู้หญิงที่เป็นไมเกรนเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน ก็จะหยุดปวดไมเกรนไปด้วย จึงเชื่อกันว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนในร่างกาย

และที่สำคัญ เป็นโรคยังไม่มียาตัวใดรักษาให้หายขาด การกินยาแก้ปวดเมื่อยเพียงการบรรเทาอาการปวดศีรษะ หากกินยานานๆ จะเป็นพิษสะสมในตับ เน้นนอนหลับให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนน้อย จะกระตุ้นอาการปวดศีรษะ

การนอนหลับให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนน้อย จะกระตุ้นอาการปวดศีรษะ ขณะที่การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการขจัดความเครียดจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้  และควรหลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ ผงชูรส เนยนม กล้วยหอม ส้ม เป็นต้น เพราะมีส่วนกระตุ้นการปวดไมเกรน 

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ความรีบเร่งทำงาน รถติด ห้องน้ำไม่สะอาด ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะกลั้นปัสสาวะ โดยไม่รู้เลยว่าปริมาณน้ำจะเพิ่มเป็นเท่าตัว ทำให้กระเพาะปัสสาวะบวม ซึ่งผู้หญิงมีท่อนำปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย เชื้อโรคจะย้อนกลับเข้าไปสู้กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้

อาการของโรคนี้ จะทำให้คุณมีอาการปวดปัสสาวะมากกว่า 8 ครั้งใน 1 วัน หรือปวดปัสสาวะกระปริดกระปอย ต้องเข้าห้องน้ำบ่อย จนรบกวนการหลับนอน และรายที่เป็นมากๆ จะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

การป้องกัน คือ อย่าพยายามกลั้นปัสสาวะ และทานน้ำที่สะอาด ขณะที่การรักษานั้น ในรายที่เพิ่งเริ่มเป็น รักษาให้หายขาดได้ ด้วยการรับประทานยาเพียง 1 สัปดาห์  แต่ถ้าปล่อยให้ติดเชื้อรุนแรง อาจจะอันตรายถึงชีวิตได้

ปลายประสาทอักเสบ

ความผิดปกติของประสาทส่วนปลาย เป็นผลจากโรคเครียดและกล้ามเนื้ออักเสบ การได้รับสารพิษหรือโลหะหนักอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการนั่ง ยื่น หรือท่ายกของอย่างไม่ถูกต้องเป็นเวลานานๆ จนเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแต่บริเวณคอ ลงไปที่ไหล่ เรื่อยถึงกระดูกสันหลัง และช่วงเอว ทำให้ทรงตัวไม่ได้ ร่างกายอ่อนปวกเปียก ชาตามปลายนิ้วมือนิ้วเท้า หากปล่อยไว้กล้ามเนื้อจะลีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ 

โรคนี้พบบ่อยในคนทำงานนั่งโต๊ะ รวมทั้งคนที่อาศัยในเขตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะบริเวณที่มีมลพิษหนาแน่นป้องกันได้โดยการนั่ง ยืน เดิน ในท่าที่ถูกต้อง นวดคลายกล้ามเนื้ออยู่สม่ำเสมอ พยายามหาเวลาไปพักผ่อนอยู่ในที่ที่สภาพแวดล้อมดี และอากาศดี

โรคระบบทางเดินหายใจ

มลภาวะเป็นพิษ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ฝุ่น ควัน และสารเคมีที่ล่องละล่องอยู่ในอากาศ เป็นสาเหตุหลักของโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคปอด ไซนัส หวัด ภูมิแพ้ ทั้งนี้ 

รายงานทางการแพทย์ของทั่วโลก พบว่า โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังเป็นโรคที่พบมากที่สุดของคนเมือง และเป็นโลกที่อันตรายมากกว่าที่คิดด้วย ขณะที่ในไทย แพทย์พบว่า คนกรุงเทพฯ มีอัตราผู้ป่วยภูมิแพ้สูงถึง 50 % 

ต้นเหตุแห่งมลพิษก็มาจากโรงงานอุตสาหกรรมตามหัวเมืองใหญ่ๆ ที่ปล่อยหมอกควันพิษเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ รวมทั้งไอเสียจากรถยนต์ที่มีปริมาณมากขึ้นทุกวัน

อาการเบื้องต้นของภูมิแพ้เริ่มจาก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย โดยไม่ได้มาจากการเจ็บป่วย หายใจไม่สะดวก ป่วยไม่สบายเหมือนเป็นไข้หวัดตลอดเวลา คัดจมูก น้ำมูก น้ำตาไหล แต่ไม่มีไข้ 

สามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเวลารถติด พักอาศัยอยู่ในที่อากาศถ่ายเทหรือไปสูดอากาศนอกเมืองบ้าง และออกกำลังกายเป็นประจำ

โรคเครียด โรคซึมเศร้า

โรคสุดท้าย ซึ่งตามสถิติในขณะนี้ พบว่า  คนไทยกำลังเป็นโรคเหล่านี้ พิ่มขึ้นทุกๆ ปี ซึ่งมาจากฤติกรรมของผู้คนในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องความกดดันของอารมณ์ ที่ต้องแข่งขันในหลายๆ เรื่องเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ และเพื่อการดำรงชีพ  ส่งผลให้มีความรู้สึก โกรธง่าย ฉุนเฉียวง่าย ผิดหวัง เศร้า และโดดเดี่ยว อยู่กับความเครียดตลอดเวลา

ทั้งนี้ จากผลการวิจัยของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนที่อยู่ในช่วงอายุ 25-35 ปี ซึ่งเป็นวัยที่กำลังก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มักเป็นโรคเครียดมากกว่าวัยอื่น ตามความรับผิดชอบของงาน และครอบครัวที่หนักขึ้นเป็นเงาตามตัว ขณะที่หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเครียด หรือโรคเครียดได้ ก็อาจจะลุกลามไปเป็นโรคซึมเศร้าได้

ทั้งนี้ ความเครียดส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล อาเจียน เครียดลงกระเพาะอาหาร หรือลุกลามถึงขั้นเป็นโรคหัวใจ ส่วนผลกระทบทางด้านจิตใจ เช่น เกิดความกังวลตลอดเวลา ลนลาน ไม่มีสมาธิ อารมณ์เสีย หงุดหงิด ฯลฯ

การป้องกันคือ ลดสภาวะที่ก่อให้เกิดอาการเครียด และพยายามผ่อนคลายความเครียดที่เกิดขึ้น เช่น การออกกำลังกายให้เหมาะสม ที่จะช่วยการทำงานของระบบเลือดหัวใจ และสมอง พยายาม พักผ่อนให้เพียงพอ ลดคาร์โบไฮเดรตของหวานที่เกินพอดี รวมทั้งลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่าจดจ่อที่จะต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จในเวลาอันสั้นเพิ่มเวลาพักทุก 1-2  ชั่วโมงเป็นต้น