ไออาต้า เปิดรายงานใหม่ IPCC แอร์ไลน์สโลก 3 ทวีป แห่ใช้ SAF “อเมริกา-ยุโรป” นำ 9 กลุ่มการบิน ลด CO2-เอเชียเริ่ม 3 ประเทศ



  • ไออาต้าเปิดรายงานIPCCฉบับล่าสุดAR6แอร์ไลน์โลกผนึกผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่3ทวีป
  • อเมริกายุโรป” 9กลุ่มใหญ่เอเชีย” 3ประเทศตื่นตัวเร่งผลิต
  • หันใช้น้ำมันเครื่องบินชีวภาพ SAF ลดโลกร้อน ด้าน ACI ปลื้มสนามบินทั่วโลกทุบสถิติลด CO2 ลงถึง 8.1%

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA : International Air Transport Association) รายงานว่า คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ “IPCC : Intergovernmental Panel on Climate Change ได้สรุป Fly Net Zero เรื่องความพยายามกำจัดคาร์บอนที่เกิดขึ้นใหม่ในอุตสาหกรรมการบินกำลังให้ความสำคัญจัดทำแผนปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ ในรายงานฉบับล่าสุดการสังเคราะห์ Sixth Assessment Report (AR6) ตามแนวทางของสหประชาชาติระบุเรื่องการใช้ “เชื้อเพลิงชีวภาพในเครื่องบินแบบยั่งยืน SAF :Sustainable Aviation Fuel” ซึ่งภาคขนส่งสามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)” ได้ ซึ่งเป็นมุมมองจากสายการบินทั่วโลกต่างแสดงความคิดเห็นโดยให้ความสำคัญร่วมกันอยู่ขณะนี้ต้องตื่นตัวช่วยกันลดคาร์บอนทางการบินทั้งปัจจุบันและอนาคต

ในรายงาน AR 6 ระบุชัดเจนว่า “การปรับปรุงกระบวนการผลิตและการลดต้นทุน” มีความสำคัญต่อการสนับสนุนให้สายการบินทั่วโลกหันมาใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืนอย่างกว้างขวาง เพื่อช่วยจำกัดอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น โดยตั้งข้อสังเกตถึงแม้จะได้นำ SAF มาใช้อย่างแพร่หลายแล้วก็ตาม แต่การร่วมกันปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดน้อยลงบางส่วนยังคงอยู่และจำเป็นต้องได้รับการถ่วงดุลด้วยวิธีจำกัดการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อให้ได้ CO2 หรือ GHG สุทธิเป็นศูนย์” และตามกลยุทธ์ Net Zero ของ IATA  ยืนยันการปล่อยก๊าซไม่สามารถกำจัดได้ที่แหล่งกำเนิดแต่จะต้องเพิ่มช่องทางอื่นร่วมด้วย เช่น การจัดเก็บคาร์บอ และจัดทำแผนการชดเชยคาร์บอน นำร่องทำแล้วโดยสายการบินใน 3 ทวีป อเมริกา กับยุโรป 9 กลุ่มหลัก และ เอเชีย อีก 3 ประเทศ ได้แก่  

กลุ่มที่ 1 สายการบิน JetBlue และ Shell Aviation ประกาศข้อตกลงใหม่เพื่อน้ำมัน SAF ให้บริการที่สนามบินลอสแองเจลิส(LAX) ซึ่งทาง Shell Aviation จะเริ่มส่งมอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวช่วงครึ่งแรกปี 2566 เป็นต้นไป ส่วนJetBlue จะรับมอบ SAF เพื่อใช้เส้นทางบินสู่ลอสแองเจลิสอีก 2 ปีหน้า 10 ล้านแกลลอน และตั้งแต่ปีที่ 3 มีแผนจัดซื้อเพิ่มอีก 5 ล้านแกลลอน กระจายใช้ในเครือข่ายสนามบินอื่น  ด้วย

กลุ่มที่ 2 United  ตั้งเป้าจะเพิ่มการผลิต SAF ด้วยเงินลงทุน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ใน Viridos ซึ่งเป็นบริษัทเชื้อเพลิงชีวภาพผลิตจากสาหร่าย พร้อมประกาศลงทุนอีก 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในบริษัทเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน ทางSvante กำลังศึกษาวิธีเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกกำจัดออกจากชั้นบรรยากาศให้เป็น SAF แล้วสายการบินได้ตั้ง Oscar the Grouch  เป็น “หัวหน้าเจ้าหน้าที่เก็บขยะ” เดินหน้าทำแคมเปญให้ความรู้เพื่อช่วยให้นักเดินทางเข้าใจวิธีทำงานของ SAF ได้ดีขึ้น เน้นให้เห็นถึงวิธีสร้าง SAF จากขยะบนเครื่องบิน

กลุ่มที่ 3 Alaska Airlines  ประกาศข้อตกลงร่วมกับ Shell Aviation เพื่อขยายตลาด SAF ให้เหนือกว่าข้อตกลงการจัดหาเชื้อเพลิงมาตรฐาน มุ่งเพิ่มความเข้าใจอย่างลึกซึ้งครอบคลุม 1.เทคโนโลยี SAF 2.โครงสร้างพื้นฐาน3.ระบบบัญชีคาร์บอน 4.การสนับสนุนนโยบายสาธารณะที่จำเป็นในการนำ SAF ขยายฐานนำไปใช้ในตลาดอื่น ได้ด้วย

กลุ่มที่ 4 Hawaiian Airlines ประกาศข้อตกลงกับบริษัทเชื้อเพลิงชีวภาพ Gevo, Inc. เพื่อซื้อ SAF 50 ล้านแกลลอน ใน 5 ปีหน้า ทาง Gevo คาดจะจัดหา SAF จากโรงงานที่กำลังก่อสร้างแถบมิดเวสต์ของสหรัฐฯ แล้วจะเริ่มส่งมอบไปยังเมืองซึ่งเป็นเกตเวย์ของฮาวายในแคลิฟอร์เนียให้ได้ตั้งแต่ปี 2572 (..2029) เป็นต้นไป

กลุ่มที่ 5 Delta Air Lines  ประกาศกลยุทธ์ความยั่งยืนใหม่ และ ข้อตกลงกับ Gevo  เพื่อจัดหา SAF ปีละ 75 ล้านแกลลอน เป็นเวลา 7 ปี ซึ่งเป็นข้อตกลงใหม่แทนข้อตกลงเดิมที่ลงนามกับเดลต้าไว้เมื่อปี 2562 ตอนนั้นจะซื้อเพียงปีละ 10 ล้านแกลลอนเท่านั้น 

กลุ่มที่ 6 ในยุโรปเหนือ อีก 4 สายการบิน ได้แก่ 1.Air Greenland  ในยุโรปเหนือประกาศปรับแผนเที่ยวบินที่ให้บริการในเส้นทางระหว่าง Sondre Stromfjord/Kangerlussuaq และสนามบินโคเปนเฮเก้น เดนมาร์ก จะใช้ SAF ผ่านข้อตกลงการจัดหาใหม่ระหว่าง DCC และ Shell Aviation Denmark ในยุโรป  

2.Icelandair  และ 3.IdunnH2 ได้ลงนามใน MoU เพื่อนำน้ำมัน SAF มากถึง 45,000 ตัน ตั้งแต่ปี 2571 (..2028) เป็นต้นไป 4. Finnair  ประกาศซื้อ SAF 750 ตัน จาก Neste เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนจากเที่ยวบินที่ออกจากสนามบินเฮลซิงกิ ถือเป็นปริมาณการซื้อใหญ่ที่สุดของฟินแอร์ที่ซื้อเพื่อส่งมอบไปยังสนามบินเฮลซิงกิตั้งแต่ต้นปี 2566

ส่วนทางศูนย์วิจัยการบินและอวกาศเยอรมัน DLR เดินหน้าจัดตั้งศูนย์วิจัยพลังงานไฟฟ้าสู่ของเหลว (PtL) ใหญ่ที่สุดในโลก ด้านเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการบิน หลังจากได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อทำโครงการจากรัฐบาล 12.7 ล้านยูโร

กลุ่มที่ 7 แอร์บัส บริษัทผลิตเครื่องบินเชิงพาณิชย์ สำนักงานใหญ่เมืองตูลูส ฝรั่งเศส  ได้นำเครื่องบิน A321neo ซึ่งใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนโดย SAF ที่ไม่ได้ผสม 100%

กลุ่มที่ 8 ประเทศไอร์แลนด์ นำโดย Aircraft Leasing Ireland และ KPMG  ทำการศึกษาโดยยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไอร์แลนด์อยู่ในตำแหน่งที่ดีในการผลิต SAF ซึ่งทางรัฐบาลไอร์แลนด์สามารถช่วยเหลือส่งเสริมการผลิตSAF โดยร่วมกับพันธมิตรมหาวิทยาลัยให้ทุนแก่ SAF R&D และสนับสนุนสร้างการรับรองด้านความยั่งยืน

กลุ่มที่ 9 สเปน  CEPSA ประกาศเตรียมสร้างเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่ 2 รวมถึง SAF ใน Huelva โดยจะใช้เงินลงทุนสูงถึง 1,070 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทางด้าน “ทวีปเอเชีย” เริ่มแล้ว 3 ประเทศ นำโดย สิงคโปร์ มอบหมายให้ทางสำนักงานการบินพลเรือนแห่งสิงคโปร์ (CAAS)  ประกาศใช้เงินลงทุนล็อตแรก 50 ล้านเหรียญสหรัฐ จะจัดตั้งโครงการความยั่งยืนด้านการบินเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนสิงคโปร์พัฒนาศูนย์กลางการบินอย่างยั่งยืน โครงการดังกล่าวจะมอบเงินทุนให้แก่ผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อส่งมอบมาตรการช่วยอุตสาหกรรมการบินลดการปล่อยคาร์บอน สร้างความสามารถในการปฏิบัติการอย่างยั่งยืน หรือรวมพันธมิตรในอุตสาหกรรมเข้าด้วยกันเพื่อช่วยสร้างระบบนิเวศการบินที่ยั่งยืน

ญี่ปุ่น Eneos Holdings บริษัทน้ำมันและโลหะของญี่ปุ่น ตกลงจะศึกษาการผลิต SAF และน้ำมันดีเซลหมุนเวียนสูงสุดปีละ 500 ล้านลิตร

ออสเตรเลีย บริษัท Ampol ในรัฐควีนส์แลนด์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย กับ แควนตัส กรุ๊ป(Quantas Group) และแอร์บัส จับมือร่วมลงทุนมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (1.8 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในโรงกลั่นเชื้อเพลิงชีวภาพซึ่งจัดตั้งขึ้นในรัฐควีนแลนด์ โดยการแปรรูปผลผลิตทางการการเกษตรให้เป็น SAF นำเงินทุนไปใช้ศึกษาความเป็นไปได้โดยละเอียดและแผนพัฒนาระยะเริ่มต้นด้านสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งจะพัฒนาร่วมกันระหว่าง Jet Zero Australia และ LanzaJet

ส่วนการขับเคลื่อน “ไฮโดรเจนและไฟฟ้า” ในอุตสาหกรรมการบิน ก็มีความเคลื่อนไหวในแต่ละทวีป ดังนี้

ในสหรัฐอเมริกาทางUniversal Hydrogenประกาศว่าขณะนี้ประสบความสำเร็จในเที่ยวบินแรกของสายการบินภูมิภาคในการเป็นบริษัททำไฮโดรเจนทางการบินรวมทั้งยังได้ร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่นSojitzและMitsubishi HC Capitalเดินหน้าศึกษาและพัฒนาโซลูชันจัดหาไฮโดรเจนและโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้สายการบินญี่ปุ่น

ส่วนHoneywell Aerospace ได้ลงนามในสัญญาหลายปีกับWorcester Polytechnic Instituteเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีกักเก็บไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับใช้ในภาคการขนส่งทางอากาศแห่งอนาคต

ทางFortumและZero Aviaได้ลงนามในMoUเพื่อสำรวจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการผลิตไฮโดรเจนและการเติมเชื้อเพลิงที่สนามบินในยุโรปHeart Aerospaceด้วย

ขณะที่ผู้พัฒนาเครื่องบินไร้มลพิษจากสวีเดน  จะร่วมมือกับรัฐบาลของหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองของฟินแลนด์ในทะเลบอลติก เพื่อสำรวจการใช้ ES-30 แบบไฮบริดไฟฟ้าเพื่อลดคาร์บอนในการเชื่อมโยงการขนส่งทางอากาศไปยังเกาะต่าง  ในแคนาดา  บริษัท H55 ของสวิส  ได้ประกาศสร้างโรงงานผลิตในเมืองแซงต์ฮิวเบิร์ต รัฐควิเบก เพื่อจัดหาลูกค้ารายใหม่และรายเดิมของแคนาดา รวมถึงบริษัท Pratt & Whitney Canada, CAE และHarbour Air of Vancouver ด้วยเทคโนโลยีแบตเตอรี่เพื่อสนับสนุนโครงการริเริ่มด้านการบินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทางด้าน “สมาพันธ์สนามบินนานาชาติ” หรือ Airports Council International (ACI) ได้เผยแพร่ผลการดำเนินงานด้านสภาพอากาศของสนามบินประจำปีเรื่อง Airport Carbon Accreditation ซึ่งล่าสุดมีผลการลดคาร์บอนและการชดเชยล่าสุดสนามบินที่เข้าร่วมโครงการทำผ่านโปรแกรม โดยสามารถลดได้ครั้งใหญ่สุดทำลายสถิติในภาพรวมลดการปล่อย CO2 ได้ถึง 549,643 ตัน ลดลง 8.1%

เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza, www.facebook.com/penroongyaisamsaen