“แรงงานนอกระบบ” เตรียมเฮ! กระทรวงแรงงานเร่งดันเข้าถึงสิทธิ์พื้นฐาน หลังร่าง พ.ร.บ. มีความคืบหน้า



นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ได้ขานรับนโยบายการดูแลคุณภาพชีวิตแรงงานนอกsะบบ จากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม จึงได้เร่งผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแงงานนอกระบบพ.ศ. ….เข้า ครม  ซึ่งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ได้อนุมัติหลักการเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย จากนั้นจะส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

ทั้งนี้ สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะทำให้แรงงานนอกระบบกว่า 19.6 ล้านคน สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ มีความปลอดภัยในการทำงาน มีหลักประกันทางสังคม มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นองค์กร ได้รับการส่งเสริมคุ้มครองและพัฒนาสู่คุณภาพชีวิตที่ดี มีสัญญาการทำงานที่เป็นธรรม เช่น ไม่กำหนดเงื่อนไขทำให้ต้องเร่งรีบทำงานอย่างมีความเสี่ยง หรือต้องทำงานหนักเกินปกติจนเสียสุขภาพ 

รวมถึงผลตอบแทนที่เป็นธรรม การจ่ายค่าตอบแทนตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนด สวัสดิการและหลักประกันขั้นพื้นฐาน การจัดตั้งกองทุนเพื่อแรงงานนอกsะบบ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินผู้ได้อย่างเหมาะสม สิทธิในการอุทธรณ์การสอบสวน การพักงาน

รวมทั้งสิทธิในการรวมกลุ่มเจรจาต่อรองของผู้ใช้แรงงานแพลตฟอร์ม โดยต้องขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อบังคับต่อหน่วยงานรับผิดชอบ

โดยแsงงานนอกระบบ สามารถเข้าถึงความคุ้มครองและสิทธิประกันสังคม เพื่อดูแลในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับทางเลือกที่พี่น้องแรงงานเลือกเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40

นางเธียรรัตน์ กล่าวด้วยว่า การขยายขอบเขตวัตถุประสงค์ให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบทุกกลุ่มอาชีพ จะช่วยให้แรงงานนอกsะบบ ที่มีอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งทุนของภาคเอกชน มีทุนกู้ยืมสำหรับประกอบอาชีพ โดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการจ่ายค่าสมาชิก เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ของกลุ่มแรงงานนอกsะบบด้วยกันเอง

รวมทั้งมีงบประมาณในการดำเนินการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกะบบ ในการประกอบอาชีพ การพัฒนาทักษะฝีมือ การคุ้มครองสภาพการทำงานที่เหมาะสม และการสร้างหลักประกันทางสังคมที่มั่นคงอีกด้วย