เอกชนชี้กู้เงิน 5 แสนล้านออก “เงินดิจิทัล”ได้ไม่คุ้มเสีย เพิ่มหนี้สาธารณะ

เอกชนชี้กู้เงิน 5 แสนล้านบาทออก “เงินดิจิทัล” ได้ไม่คุ้มเสียเพิ่มหนี้สาธารณะประเทศ และเป็นภาระต้นทุนของประเทศ ที่จะหาเงินไปชำระหนี้คืนในอนาคตที่อีก 4 ปี

  • เป็นภาระต้นทุนของประเทศ
  • ที่จะหาเงินไปชำระหนี้คืนในอนาคตที่อีก 4 ปี

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยถึงกรณี ผลสรุปการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่า ส่วนแรกในมุมมองแบบประชาชน ก็ชัดเจนว่าก็จะได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านแอพพลิเคชัน เป๋าตัง ที่คนไทยคุ้นเคย ซึ่งทำให้มีเงินไปจับจ่ายใช้สอยในครัวเรือนได้

นายธนิต กล่าวว่า ทั้งนี้วงเงินรวมโครงการ 5 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเป็น 2.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) ซึ่งก็น่าจะช่วยให้เศรษฐกิจมีความคึกคักในระยะสั้น จีดีพีก็อาจจะบวกเพิ่ม สัก 1% ถึงแม้เงื่อนไขการใช้จ่ายจะจำกัดอยู่ในเขตอำเภอ ตามทะเบียนบ้าน แต่เชื่อว่าคนก็น่าจะรีบกลับภูมิลำเนาไปใช้จ่ายจนหมดในเวลาไม่นาน

ขณะที่อีกมุมหนึ่งนั้น รัฐบาลต้องเสียเงิน 5 แสนล้านบาทในการทำโครงการนี้ ซึ่งจะกลายเป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะประเทศ โดยปัจจุบันอยู่ราว 62% ต่อจีดีพี ถ้าเพิ่มอีก 5 แสนล้านบาทก็จะกลายเป็น 64% จีดีพี ซึ่งใกล้เต็มเพดาน 70% และยังเป็นภาระต้นทุนของประเทศ ที่จะหาเงินจากไหนไปชำระหนี้ก้อนนี้คืนในอนาคตที่กำหนดไว้ใน 4 ปี ด้วย

ดังนั้นการออกโครงการเงินดิจิทัล อาจจะได้ไม่คุ้มเสีย ซึ่งก็ความคุ้มค่าของโครงการเองก็ไม่ได้มีหน่วยงานรัฐบาลที่ออกประเมิน อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งก็เป็นฝ่ายยืนกรานในทางไม่เห็นด้วยกับโครงการ แถมในที่ประชุมยังขอสงวนถ้อยคำที่คัดค้าดไว้ด้วย ซึ่งปกติไม่ค่อยเห็นว่าจะมีการจบประชุมและสรุปแบบไม่ตกผลึกกัน ซึ่งเวลาประชุมผู้บริหาร แม้แต่เอกชน ก็ต้องมีการตกผลึกกันให้ได้ระหว่างผู้ที่ไม่เห็นด้วย ถึงจะบริหารไปในทิศทางเดียวกันได้

“ส่วนเงินไขผู้ได้รับสิทธิ เป็นประชาชนอายุ 16 ปีขึ้นไป และมีเงินเดือนต่ำกว่า 7 หมื่นบาท หรือมีเงินในบัญชีรวมกันน้อยกว่า 5 แสนบาท นั้น สำหรังเงินเดือน 7 หมื่นบาท ถ้าเป็นข้าราชการถือเป็น ระดับอธิบดี หรือเอกชน ก็ระดับผู้จัดการ ซึ่งเป็นกลุ่มคนมีกำลังซื้อ ขณะเดียวกัน คนไทยก็มีเงินฝากเฉลี่ยไม่ถึง 5 แสนบาทอยู่แล้ว ดังนั้น จึงคิดว่า รัฐบาลไปตั้งเพดานเงื่อนไขไว้สูงเกินไป ซึ่งหากรัฐบาลพิจารณาลดเพดานนี้ลง เงินที่ใช้ในโครงการอาจจะไม้ต้องมากขนาดนี้” นายธนิตกล่าว

ส่วนการใช้จ่ายเงิน 10,000 บาทนั้น ถ้าให้ทีเดียวทั้งก้อน ไม่นานก็ใช้จ่ายหมด ดังนั้นก็มองจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในวูบเดียวเท่านั้น จึงอาจจะไม่คุ้ม ทเหมือนกับที่รัฐบาลมองไว้ว่า เศรษฐกิจไทยจะโตได้ ถ้าจะให้ดีอยากเสนอให้มีการแบ่งเงินออกเป็น 2-3 งวด จะได้มีการแบ่งใช้จ่ายหลายรอบ และการใช้จ่ายในครั้งนี้ก็อาจจะกระจุก ที่ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อของนายทุนใหญ่กเสียหมด ซึ่งเงินเมื่อเข้าไปหาทุนใหญ่แล้ว มันจะไม่เกิดการกระจายต่อ หมุนเวียน ตามทฤษฎีทวีคูณได้ เพราะเงินที่อยู่ในมือนายทุนใหญ่ส่งต่อไปสู่ซัพพลายเชน ที่เป็นอุตสาหกรรมทั้งนั้น

นอกจากนี้ โครงการคู่ขนานกันอย่าง กองทุนเพิ่มขีดความสามารถ ใช้งบประมาณอีก 1 แสนล้านบาท ก็ยังไม่ชัดเจน