‘เยอรมัน’ ชี้วัคซีน แอสตราเซเนกา มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง หลังหลายประเทศระงับใช้ชั่วคราว

รัฐมตรีสาธารณสุขชี้ไม่มีหลักฐานการบ่งชี้ถึงการเกิดโรคลิ่มเลือดอุตตันหลังจากฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา ขณะที่อียูออกมาเตือนการเกิดผลข้างเคียงสำหรับผู้ฉีดบางรายแต่ไม่เกี่ยวพันกับกรณีดังกล่าว ขณะที่ไฟเขียวให้ใช้วัคซีนจอห์นสันที่ฉีดเพียงเข็มเดียวให้ใช้ในยุโรปได้ทันที

นายเยนส์ ชพาห์น รัฐมนตรีสาธารณสุขแห่งเยอรมนี กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่าไม่มีหลักฐานการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด -19 ของแอสตราเซเนกา เขากล่าวภายหลังเกิดขึ้นหลังจากเดนมาร์กและประเทศในยุโรปอื่น ๆ หลายประเทศและไทยระงับการเปิดตัววัคซีนดังกล่าว

เขากล่าวหลังจากปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญสำนักงานการแพทย์ (The European Medicines Agency) หรือ EMA  ซึ่งได้อนุมัติการใช้วัคซีนดังกล่าวในสหภาพยุโรป (อียู)

“ผมเสียใจที่ … บางประเทศในสหภาพยุโรปได้ระงับการฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกา” ชพาห์น กล่าวและว่า “จากสิ่งที่เรารู้จนถึงตอนนี้(วัคซีน) มีประโยชน์ … มีมากกว่าความเสี่ยง” 

‘อียู’ แถลงไม่พบผลข้างเคียงลิ่มเลือดอุดตัน

สำหรับประเทศไทยได้ชะลอการฉีดวัคซีนดังกล่าวเป็นการชั่วคราวแล้วหลังจากหลายประเทศ รวมทั้งเดนมาร์ก และนอร์เวย์ ได้ระงับการฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกาด้วยความกังวลขณะที่สำนักงานการแพทย์ หรือEMA ของ อียู ออกแถลงการณ์ระบุว่า ไม่พบเครื่องบ่งชี้ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริษัทแอสตราเซเนกา ทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือดดำ

ขณะที่มีรายงานว่า มีผู้เกิดอาการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือดดำ 30 คน ในจำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาในยุโรปแล้ว 5 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม EMA ได้ขยายคำเตือนเกี่ยวกับการเกิดผลข้างเคียงหลังจากใช้วัคซีนดังกล่าวโดยไม่เกี่ยวพันกับกับกรณีการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตัน กล่าวว่า มีการแสดงอาการแพ้อย่างรุนแรงซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เป็นไปได้จากการฉีดวัคซีน แอสตราเซเนกากับผู้ที่ฉีดบางราย

‘มาร์กาเร็ต แฮริส” โษกองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่าวัคซีนของแอสตราเซเนกามีความปลอดภัยเช่นเดียวกันวัคซีนรายอื่นๆ 

“เราได้ตรวจสอบข้อมูลการเสียชีวิตจนถึงปัจจุบันยังไม่มีการพิสูจน์ว่ามีผู้เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน” เธอกล่าว

‘อียู’ ไฟเขียว วัคซีน จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า EMA  ได้อนุมัติติให้มีการใช้วัคซีนต้านโควิด-19 ที่พัฒนาโดยบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ซึ่งจะช่วยให้มีการนำส่งวัคซีนดังกล่าวไปยังกลุ่มประเทศนี้ภายใน 1 เดือน ขณะที่ ประเทศสมาชิกทั้งหลายกำลังเร่งแจกจ่ายวัคซีนที่มีอยู่อย่างเต็มที่

ปัจจุบัน อียู เดินหน้าทำการฉีดวัคซีนจาก ไฟเซอร์-ไบโอเอนเท็ค, แอสตราเซเนกาและ โมเดอร์นา ซึ่งล้วนเป็นวัคซีนที่ต้องฉีดให้ครบ 2 โดส ให้กับประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปอยู่ และวัคซีนที่เพิ่งสั่งจาก จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน นี้จะเป็นชนิดแรกที่ใช้เพียงโดสเดียว

‘อีเมอร์ คุก’ ผู้อำนวยการ EMA บอกกับผู้สื่อข่าวว่า การอนุมัติวัคซีนตัวใหม่นี้ จะช่วยให้ทางการของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้งหลาย “มีตัวเลือกเพิ่มขึ้นในการต่อสู้กับภาวะการณ์ระบาดใหญ่ และปกป้องชีวิตและสุขภาพของประชาชนของตน”

สหรัฐ, ญีปุ่น, ออสเตรเลียและอินเดียเร่งผลิตวัคซีนให้อาเซียน 1 พันล้านโดส

ทางด้านกลุ่มประเทศจตุภาคีด้านความมั่นคง (Quad)  ที่ประกอบไปด้วยสหรัฐ, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลียและอินเดีย โดยผู้นำของแต่ละประเทศได้ร่วมประชุมออนไลน์เป็นครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นำโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ, นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูกะ แห่งญี่ปุ่น, นายกรัฐมนตรีสก็อตต์ มอร์ริสัน แห่งออสเตรเลีย และนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดิ แห่งอินเดีย

ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวว่า ทุกประเทศต่างมุ่งเน้นการผลิตวัคซีนให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งผลักดันการเติบโตอย่างยั่งยืนในระดับโลก ด้วยเหตุนี้ในที่ประชุมจึงผลักดันความร่วมมือใหม่เพื่อกระตุ้นการผลิตวัคซีนโควิด ที่เป็นประโยชน์กับทั่วโลก โดยเฉพาะกับภูมิภาคอินโดแปซิฟิก

ก่อนการหารือ ประธานาธิบดีไบเดน กล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ผู้นำทั้ง 4 ชาติเห็นชอบที่จะผลักดันงบประมาณเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตวัคซีนโควิด-19 ถึง 1 พันล้านโดส ให้กับกลุ่มประเทศอาเซียน ภายในปี ค.ศ. 2022 เพื่อเน้นถึงปัญหาการขาดแคลนวัคซีนในภูมิภาคนี้

ที่มา- https://www.dw.com/en/astrazeneca-vaccine-germany-rejects-blood-clot-risk/a-56849749