เปิด 9 รายชื่อ ผู้ท้าชิง เก้าอี้ เลขาธิการ “กสทช.”

  • “ไตรรัตน์ -สุทธิศักดิ์”​ คนในมีสิทธิ์ลุ้น
  • คนนอกมีชื่อติดเคดิเตด “สุรางคณา-ปกรณ์”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)​ ได้ประกาศรับสมัครบุคคลที่มีคุณสมบัติ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ กสทช. ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.- 7 พ.ค.66 ขณะนี้มีผู้สมัครแล้ว 8 คน ดังนี้

1.นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการกสทช.
2. พ.อ.ดร.ธนัทเมศร์ ภัทรณรงค์รัศม์ กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. (ซูเปอร์บอร์ด)
3.รศ.พิสิฐ บุญศรีเมือง อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
4.นายปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า)
5. นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ อดีตกรรมการผู้จัดใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)​
6.ผศ.(พิเศษ) นพ.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และอดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายเทคโนโลยี ธนาคารกรุงไทย
7.นางสุรางคณา วายุภาพ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า
8.ดร.พีระกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด
9.นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการกสทช.

ทั้งนี้จะมีการเสนอรายชื่อผู้สมัคร ให้คณะกรรมการ (บอร์ด)  7 คน ได้รับทราบ  เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติ และเปิดแสดงวิสัยทัศน์ จากนั้นจะเสนอชื่อให้คณะกรรมการ(บอร์ด) กสทช.คัดเลือกตามลำดับขั้นตอนต่อไป   

สำหรับกรรมการกสทช.ชุดปัจจุบัน  ​โดย 5 คน เข้าทำงานครั้งแรกเมื่อเดือนเม.ย.2565 ที่ผ่านมา  ประกอบด้วย1.ศาสตราจารย์คลินิก สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. 2. พลอากาศโท ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ  ด้านกิจการกระจายเสียง3.ศาสตราจารย์ พิรงรอง รามสูต กรรมการ ด้านกิจการโทรทัศน์4.นายต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการ ด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน 5.รองศาสตราจารย์ ศุภัช ศุภชลาศัย กรรมการ  ด้านเศรษฐศาสตร์ ส่วน 6.พลตำรวจเอก ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร กรรมการ  ด้านกฎหมาย เข้าทำงานเมื่อเดือนต.ค.2565  ส่วน7.รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ กรรมการ ด้านกิจการโทรคมนาคม เข้าทำงานเมื่อเดือนมี.ค.2566 

ดังนั้นขณะนี้นับเป็นเวลาปีกว่าแล้ว แต่ยังไม่มีเลขาธิการกสทช. ทำให้ประธานกสทช. ต้องเร่งสรรหา เพื่อมาช่วยบริหารงานองค์กรกสทช. ถึงแม้กรรมการหลายคน จะเห็นแตกต่างในการสรรหา เพื่อคัดเลือกเลขาธิการกสทช. แต่ในฐานะประธานกสทช. ต้องการเร่งสรรหา เพื่อให้เลขาธิการกสทช.คนใหม่อย่างเป็นทางการ โดยปัจจุบันได้มอบหมายให้นายไตรรัตน์ เป็นรักษาการเลขาธิการกสทช.    

ทั้งนี้นับตั้งแต่บอร์ดกสทช.ชุดปัจจุบัน เข้ามารับตำแหน่ง มีเสียงวิพากษณ์วิจารณ์กันอย่างมากว่า เวลาผ่านไป 1 ปี ไม่ผลงานเป็นที่ประจักษ์สายตาประชาชนและผู้ประกอบการ  นอกจากจะมีข่าวความขัดแย้งกันเองระหว่างกรรมการกสทช.ด้วยกันเอง  อันเนื่องมาจากการทำงานนั้นมีลักษณะเป็นวิชาการ อาจาร์ย และเดินทางไปศึกษาดูงานต่างประเทศ  ทั้งๆที่กสทช. เป็นหน่วยงานที่ต้องทำหน้าที่กำกับกิจการวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ให้ดีมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน  โดยเฉพาะภารกิจการทำให้คนไทยทุกพื้นที่ได้เข้าถึงบริการโทรคมนาคมอย่างเท่าเทียม  ซึ่งในปัจจุบันเป็นยุคดิจิทัล ที่คนไทยกว่า 44 ล้านคน ต้องใช้บริการดิจิทัลแบงก์กิิ้ง ผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง แต่บางคนมีเงินจ่ายค่าเน็ตเป็นรายเดือน แต่บางคนต้องเติมเงิน ทุกครั้งที่จะใช้บริการอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ทั้งๆ ที่ประเทศไทย มี 5 จี เป็นประเทศของอาเซียน 

และในภาวะที่ประชาชนต้องเผชิญค่าครองชีพแพง กรรมการกสทช. ไม่เคยแสดงท่าที ที่จะช่วยลดภาระค่าบริการมือถือและค่าอินเตอร์เน็ตแต่อย่างใด ขณะที่สัญญาณทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินขณะนี้หลายพื้นที่ไม่สามารถรับชมได้ ต้องรับชมสัญญาณผ่านกล่องอินเตอร์เน็ต ส่วนวิทยุกระจายเสียง มีคลื่นรบกวน และบางคลื่นรบกวนการบิน ถือว่าอันตรายมากต่อการขึ้น-ลงของเครื่องบิน รวมถึงการเปลี่ยนผ่านวิทยุระบบอนาล็อกไปสู่ยุคดิจิทัลด้วย ขณะเดียวกันควรตรวจสอบการติดตั้งโครงการอินเตอร์เน็ตชายขอบ 3,920 หมู่บ้าน และศูนย์USONET สัญญา ส่งมอบงานไม่ได้ และยังเป็นปัญหาคาราคาซังในหลายพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันต้องปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้ และแก้ปัญหาเน็ตชายชอบอย่างจริงจัง