เตือนภัย! ‘พายุสุริยะ’ จู่โจมโลกอีกระลอก

ทั่วโลก กำลังเผชิญภัยคุกคามจาก “พายุสุริยะ” อีกระลอก สหรัฐเตือน จะก่อมวลมลสารโครานาจำนวนมาก ตามกระเพื่อม ส่งความร้อนพุ่งชนโลก ในระหว่างวันที่ 4 – 5 ส.ค.นี้

  • ก่อมวลมลสารโครานาจำนวนมาก
  • ส่งความร้อนพุ่งชนโลก
  • ระหว่างวันที่ 4 – 5 ส.ค.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า​ องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ (NOAA) ประกาศเตือนว่า ในสองสามวันนี้ พายุสุริยะจะทำให้มีการปลดปล่อยก้อนมวลสารของโคโรนา (CMA) จำนวนมาก

ทั้งนี้​ CMA มีส่วนสำคัญขับเคลื่อนเปลวสุริยะระดับกลาง นับตั้งแต่ดวงอาทิตย์ได้หันหน้าเข้าหาโลกเมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา อันมีส่วนสำคัญที่ทำให้จุดดับดวงอาทิตย์ที่ AR3380 ที่สงบกลับปะทุขึ้น

โดยเหตุการณ์ดังกล่าว สร้างความกังวลอาจทำให้เกิดพายุุสุริยะที่รุนแรง ส่งผลต่อดาวเทียมเสียหาย รบกวนคลื่นวิทยุสื่อสาร และอื่นๆ
ในปัจจุบัน มีจุดดับบนดวงอาทิตย์มาถึง 9 จุด บริเวณพื้นที่ที่หันหน้าเข้าหาโลก ซึ่งเพิ่มโอกาสการระเบิดของเปลวสุริยะขึ้นอีก

แสงแฟลร์เหล่านี้ สามารถปลดปล่อยพาสมาและแสงอาทิตย์ไปยังอวกาศมากขึ้น นั่นอาจก่อตัวเป็นกลุ่มก้อน CME แม้จะมีพลังงานน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบเหตุการณ์พายุสุริยะครั้งก่อนๆ

แต่พายุขนาดเล็ก ก็สามารถสร้างความเสียหายได้อย่างมาก โดยเฉพาะการสื่อสารไร้สาย และจีพีเอส หยุดชะงัก รวมไปถึงการสื่อสารด้านการบิน และโดรน
อย่างไรก็ตาม เที่ยวบิน การเดินเรือ และการรบกวนช่องทางการสื่อสารความถี่ต่ำ อาจจะเกิดปัญหา ซึ่งต้องเตรียมการรับมือไว้

นาซาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ เฝ้าสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์อย่างใกล้ชิดตั้งแต่ ปี 2553 เพื่อรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับดวงอาทิตย์ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์พายุสุริยะในอนาคต