เจ้าสัวธนินท์ เสนอใช้ระบบสาธารณสุข-ท่องเที่ยวสร้างชาติ แนะรัฐออกพันธบัตรเงินกู้ 3 ล้านล้านระดมสรรพกำลังลงทุนฟื้นประเทศ



.ระบุโลกหลังโควิด-19 พลิกหน้ามือ
  .ปิดเมือง 2 เดือนสูญไป 1 ล้านล้าน

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงโลกหลังโควิด-19 ว่า โลกมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลในทุกๆภาคส่วน ที่สำคัญ วิกฤตอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อไม่ว่าจะเป็นวิกฤตที่เกิดจากส่ิงใด

กระนั้นก็ตาม วิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ุใหม่หรือ โควิด-19 ที่ทำให้ประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยต้องปิดเมือง หรือ ล็อกดาวน์นั้น ทำให้เศรษฐกิจการค้าของโลกสูญเสียเงินรายได้ไปเป็นจำนวนมหาศาล เฉพาะที่ประเทศไทย ปิด 1 วัน มีผู้ประเมิน (นายสมหมาย ภาษี อดีตรมช.คลัง) ว่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจจะมีมากถึงวันละ 18,670 ล้านบาท หรือเศรษฐกิจหดตัว 40%

ถ้าปิดเมือง 1 เดือน ความเสียหายทางเศรษฐกิจจะสูงถึง 500,000 ล้านบาท (ถ้านับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมรายได้ประชาชาติของไทยในปี 2562 ที่มีมูลค่ารวม 16.8 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 46,240 ล้านบาท)


นอกจากนี้ การจัดทำประมาณการณ์มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อวันจากมาตรการล็อกดดาวน์ของไทย โดยใช้ข้อมูลรายการย่อยขององค์ประกอบ GDP ที่คำนวนจากด้านรายจ่าย และจากด้านผลผลิต ประเมินผลกระทบที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นกับรายการย่อยแต่ละรายได้ที่พอสรุปผลได้ดังนี้คือ ประเมินจาก GDP ด้านรายจ่าย จะเสียหายประมาณวันละ 15,010 ล้านบาท(ร้อยละ 32.5 ของจีดีพี/วัน) ส่วนการประเมินจากจีดีพีด้านผลผลิต จะเสียหายประมาณวันละ 16,460 ล้านบาท(ร้อยละ 35.6 ของจีดีพีต่อวัน)


ความเสียหายนี้ เม่ือเทียบเคียงกับประเทศอื่นๆที่ใช้มาตรการล็อคดาวน์แบบเดียวกันเช่น ออสเตรเลีย เสียหายวันละ 4,800 ล้านบาท เศรษฐกิจหดตัว 10.4% ฝรั่งเศส เสียหายวันละ 14,800 ล้านบาท เศรษฐกิจหดตัว 32% , สหราชอาณาจักรเสียหายประมาณวันละ 16,185 ล้านบาท เศรษฐกิจหดตัว 35% ส่วนมาเลเซีย เสียหายวันละ 26,925 ล้านบาท เศรษฐกิจหดตัว 58%  

    .ซื้อสื่อต่างชาติประกาศให้โลกรู้
    .ระบบสาธารณสุขไทยดีที่สุดในโลก

“ในความมืดมิด แสงสว่างอาจจะกำลังกลับมา แต่ถ้าหากยามนี้ ประเทศไทยไม่ทำอะไรเลยเพื่อรองรับส่ิงที่กำลังจะเกิดขึ้น ประเทศไทยเราก็อาจสูญเสียโอกาสที่ควรได้รับไป เพราะฉนั้นอะไรที่ควรทำ ต้องทำเดี๋ยวนี้”


เจ้าสัวธนินท์ ให้ความเห็นด้วยว่า เขามองว่า ในทุกๆวิกฤต มีโอกาสให้คนเราเสมอ วิกฤตครั้งนี้ก็เช่นกัน “ส่ิงที่เราสามารถแปรเปลี่ยนให้เป็นโอกาสได้ก็คือ ธุรกิจการท่องเที่ยว “สื่อมวลชนในประเทศควรจะช่วยเหลือรัฐบาลในเร่ืองนี้ให้มาก ขณะเดียวกัน รัฐบาลอาจต้องใช้วิธีจ้างส่ือท่ัวโลกเข้ามาช่วยกันผลักดันให้นักท่องเที่ยวรู้จักประเทศไทย โดยเฉพาะในเร่ืองของระบบการสาธารณสุขที่ดีมาก”

เจ้าสัวธนินท์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา คนไทยควรยอมรับว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประสบความสำเร็จในการทำให้กระทรวงสาธารณสุขของไทย ตลอดไปจนถึงบุคคลากรทางการแพทย์ จังหวัดต่างๆ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) สามารถเข้าไปให้การช่วยเหลือชาวบ้านในหมู่บ้านต่างๆได้ทันท่วงที   จนกระท่ังมีคนไทยติดเชื้อไวรัสตัวนี้เพียง 3,000 กว่าคน เสียชีวิตราว 55 คนเท่านั้น

การทำให้คนไทยหลุดพ้นโอกาสการติดเชื้อไวรัสตัวนี้ได้ โดยบุคลากรทางการแพทย์ทำหน้าที่เป็นแนวหน้าสู้รบกับศัตรูที่มองไม่เห็น ต้องถือว่า บุคคลากรทางการแพทย์ของไทยเราเก่งมาก การป่าวประกาศออกไปจะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความรู้สึกว่าเดินทางมาประเทศไทยปลอดภัย และหนีตาย ไม่ใช่หนีภัยมา

“รัฐบาล และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยควรติดต่อกับบริษัททัวร์ที่ว่างอยู่ และโรงแรมระดับ 5 ดาวในประเทศในทุกจังหวัดที่มี เพ่ือเสนอแพคเกจทัวร์ที่ดี มีความปลอดภัย สามารถหาความสงบ และสนุกสนานได้ในระหว่างที่ต้องพัก 14 – 15 วันได้ โรงแรม 5 ดาวที่มีอยู่วันนี้ก็ว่างอยู่แล้ว ถ้าเพียงแต่ทำแพคเกจที่ดีไปเสนอ ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวจีน อเมริกัน หรือ ยุโรป หรือแม้แต่รัสเซีย ผมเช่ือว่านักท่องเที่ยวที่มีเงินระดับนี้จะกลับมา

เจ้าสัวซีพี ยังแนะนำรัฐบาลไปด้วยว่า การประกาศว่า ระบบสาธารณสุข และการรักษาพยาบาลของไทยประสบความสำเร็จอย่างดีย่ิง จากการทำให้คนไทยห่างไกลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการตรวจเช็คร่างกายและการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพของโลกได้เลย

  .รัฐบาลไม่ควรหยุดการลงทุน
  .ยังต้องแก้น้ำแล้ง รถไฟความเร็วสูง

 ส่วนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจประเทศที่มผลสำรวจพบว่าการขยายตัวของจีดีพีในปีนี้จะติดลบนั้น เจ้าสัวธนินท์ เสนอให้รัฐบาลไทยออกพันธบัตรเงินกู้ในวงเงินสูงถึง 3 ล้านล้านบาท ไปขายในต่างประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อระดมทุนมาช่วยบริษัทที่ดี มีอนาคตในประเทศไทยให้อยู่รอดได้ในสภาวะที่โลกต้องกลับมาเดินหน้าทำธุรกิจอีกครั้ง เพราะเชื่อว่า ในวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น

ยังมีเรื่องจำเป็นต้องทำอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำแล้ง การลงทุนในระบบรถไฟความเร็วสูง หรือการจ้างงานที่อาจต้องใช้บุคคลากรที่มีคุณภาพจากต่างประเทศมาต่อยอดให้กับคนในประเทศไทย “ผมคิดว่า น่าจะหาคนเก่งๆรุ่นใหม่ๆมาช่วยกันคิดช่วยกันสร้างประเทศไทยสัก 5 ล้านคน”

ส่วนกรณีที่ถูกถามว่า ซีพีช่วยเหลือผู้คน รวมถึงเกษตรกรมากมาย แต่เหตุใดจึงยังคงถูกพูดถึงในแง่ที่เอาเปรียบเกษตรกรอยู่ตลอด เจ้าสัวธนินท์ ตอบว่า เขาเคยรับทราบจากคุณอานันท์ (นายอานันท์ อันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี)ว่า ทราบหรือไม่ว่า คนของซีพีไปเอาเปรียบชาวไร่ชาวนา

“ผมรู้สึกโกรธ แต่ก็กลับมาดูสัญญาที่ทำกับเกษตกรทุกสัญญา ก็พบว่า ฝ่ายกฏหมายเราทำสัญญาเอาเปรียบเกษตรกรจริง ผมโกรธมาก และถามเขาว่า คุณจะไปยึดที่ดินทำกินของเกษตรกรได้อย่างไร คุณทำไม่ได้ แล้วผมก็ไล่พวกเขาออกไป จนถึงวันนี้ไม่มีสัญญาใดที่เอารัดเอาปรียบเกษตรกรเลยครับ และมีแต่เกษตรกรอยากจะเข้ามาทำงานกับเรา”