

วันที่ 15 ก.ค. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนสูตรการฉีควันซีนมาเป็นซิโนแวคเข็มแรก ตามด้วยแอสตร้าเซเนก้า เข็มที่ 2 โดยชี้ให้เห็นว่าการไขว้ชิโนแวคกับแอสตร้าอาจจะกลายเป็นเสียวัคซีนเข็มแรกไปและยิ่งไปกว่านั้นภูมิที่ได้โดยไม่สามารถจับได้แน่นกับเดลต้า อาจจะกลายเป็นทำให้เกิดผลร้ายมากขึ้นโดยการที่ภูมิไปจับไวรัสและนำพาไปหาเซลล์ที่สร้างการอักเสบอย่างรุนแรงต่อ
ฉะนั้นการฉีดวัคซีนไขว้ แล้วจะได้ประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อวัคซีนเข็มเดียวของแต่ละยี่ห้อ ก็มีประสิทธิภาพอยู่แล้วเท่านั้น ทั้งนี้โดยมีรายละเอียด ดังนี้
วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ภูมิในเลือด รวมทั้งการตอบสนองทางด้าน T เซลล์จะเห็นได้ตั้งแต่ 14 วันหลังฉีด “เข็มแรก” รวมทั้งประสิทธิภาพในมนุษย์
วัคซีนเชื้อตายชิโนแวค ชิโนโนฟาร์ม จะเห็นภูมิขึ้นเริ่มตั้งแต่ 14 วันหลัง “เข็มที่สอง” และชัดเจนคือ 28 วันหลังเข็มที่สอง
การฉีดที่เรียกว่า prime หรือ การนำต้องเป็นด้วยวัคซีนที่เห็นผลหรือได้ผลแล้ว ตั้งแต่เข็มแรกและต่อด้วย boost คือ การกระตุ้นต่อด้วย วัคซีนที่ฉีดเข็มเดียวก็ได้ผลแล้ว
ทั้ง 2 เข็ม จึงจะเปล่งประสิทธิภาพ เสมือนว่า 1 + 1 ได้ 4 ที่เราต้องการ