ส.อ.ท.จับมือ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยหาทางช่วยเอสเอ็มอีเพิ่มเติม



  • เสนอ 4 แนวทางเพิ่มเติมช่วยเหลือเอสเอ็มอี
  • ฝ่าวิกฤติสภาพคล่องจากผลกระทบโควิด-19
  • ในที่ ประชุมศบศ. วันที่ 22 ก.ค.นี้

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย จะเสนอแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) เพิ่มเติมต่อที่ประประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.)ในวันที่ 22 ก.ค.นี้รวมแนวทางเนื่องจากมีความกังวล ถึงปัญหาที่เอสเอ็มอียังคงเผชิญกับการขาดแคลนสภาพคล่อง อย่างรุนแรง จากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกที่3 แม้ที่ผ่านมาได้มีการเสนอมาตรการโดยเฉพาะด้านการเงินไปแล้วแต่ก็ยังคงมีปัญหาอยู่  

สำหรับ 4 แนวทางได้แก่1. ให้พิจารณาเพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันความเสียหายผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) เพิ่มขึ้นเป็น 60เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาในช่วงนี้ได้มากขึ้น2. พิจารณาให้ผู้ประกอบการที่เป็นลูกหนี้สถาบันการเงินที่เข้าเกณฑ์หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นในช่วงโควิดจนถึง 3 ปี นับจากสิ้นสุดช่วงโควิด -19ไม่มีประวัติข้อมูลที่บ่งบอกถึงประวัติการชำระหนี้หรือสินเชื่อในเครดิตบูโร ของ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด

3. ขอให้พิจารณาผ่อนคลายเงื่อนไขการปล่อยกู้ตามประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่เขียนไว้ว่า “ให้สภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการที่ยังพอมีศักยภาพ” โดยให้เป็นดุลยพินิจของสถาบันการเงิน ซึ่งการเข้มงวดกับคำว่าศักยภาพที่เปรียบเทียบกับรายได้ในอนาคตที่ไม่แน่นอน จากสถานการณ์วิกฤติไม่ปกติจะเป็นอุปสรรคลำดับแรก ที่สถาบันการเงินจะยังไม่พิจารณาปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นเอ็นพีแอลจากผลกระทบของโควิด19และ4. ให้ความช่วยเหลือในเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนด้านสาธารณสุข โดยการจัดหา Rapid Test Kit ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า สมาคมฯ จะมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันของส.อ.ท. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำรายละเอียดในการช่วยเหลือ   ภาคธุรกิจโดยเฉพาะในมาตรการเร่งด่วน  เพื่อให้ทันกับสถานการณ์วิกฤติในปัจจุบันและแนวทางการช่วยเหลือเอสเอ็มอีและอื่นเพิ่มเติมในระยะยาวด้วย

นานชนินท์ กล่าวว่า สมาคมฯ ยังได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินแนวทางเร่งด่วนในการช่วยเหลือเอสเอ็มอี เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ เริ่มจากขอความร่วมมือจากบริษัทจดทะเบียน ที่มีศักยภาพให้ชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้าบางส่วนขยายระยะเวลาเรียกเก็บหนี้ลดระยะเวลาชำระหนี้และเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ลูกจ้าง/พนักงาน โดยจ่ายเงินเดือนทุก ๆ15 วัน รวมถึงขอความร่วมมือจากบริษัทจดทะเบียน เพื่อระดมความช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการจัดทำRescue Boxหรือกล่องยังชีพสำหรับผู้ป่วยโควิดที่แยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)หรือผู้ป่วยโควิดที่แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation)และขอให้ภาครัฐเร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มธุรกิจเพื่อประคองเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ ภาคส่งออก ภาคก่อสร้าง และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วย