“สาธารณสุข” ลั่นเร่งฉีดวัคซีน เตรียม “ไฟเซอร์” ฉีดให้เด็กรับเปิดเทอม พร้อมอัดบูสเตอร์ให้กลุ่มซิโนแวคที่ครบ 2 เข็ม ต.ค.นี้

วันนี้ (11 ก.ย.64) ที่กระทรวง​สาธารณสุข​ นพ.โอภาส​ การ​ย์​กวิน​พงศ์ ​อธิบดี​กรมควบคุม​โรค​ ได้แถลง​ข่าวสถานการณ์​การแพร่ระบาด​ของ​โรค​โค​วิด​-19 ว่า วันนี้พบผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้น 595,081 ราย ทำให้ทั่วโลกมียอดติดเชื้อสะสม224,647,087 ราย โดยประเทศสหรัฐอเมริกา​เป็นประเทศที่มีการระบาดมากที่สุด โดยมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 171,125 รายสะสม 41,741,693 ราย รองลงมาเป็นอินเดียติดเชื้อ​เพิ่มขึ้น 37,873 ราย สะสม 33,200,877 ราย สังเกตเห็นสถานการณ์​ยังขึ้นๆลงๆ แต่ในภาพรวมยังคงรุนแรง สำหรับผู้เสียชีวิตทั่วโลกเพิ่มขึ้น 9,080 ราย สะสม 4,630,843 ราย ส่วนสถานการณ์ประเทศ​ไท​ยเพิ่มขึ้น 15,191 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น​ 253 ราย

อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทย หากจะลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงได้เรื่อยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องร่วมมือกัน เห็นว่าในขณะนี้สถานการณ์การระบาดจะดูเหมือนลดลง จึงขอบคุณความร่วมมือของประชาชน ในการดำเนินมาตรการต่างๆ โดยในระยะต่อไปก็คงจะต้องมีการดำเนินการต่างๆมากขึ้น เช่นเรื่องของการป้องกันส่วนบุคคล การฉีดวัคซีน การตรวจคัดกรองต่างๆ ซึ่งต่อไปจะเป็นสิ่งที่จะต้องทำมากขึ้นแล้วก็บ่อยขึ้น ก็คือเรื่องของมาตรการองค์กร ถ้าสถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเริ่มเปิดทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะต้องมีมาตรการที่ทำให้การระบาดไม่กลับไปมากขึ้นเหมือนเดิม ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนิน​ก​ารฉีดวัคซีนตอนนี้เพิ่มขึ้น 753,503 โดส สะสม 39,631,862 โดส แบ่งเป็นเข็มแรก 26,954,546 ราย และเข็มสอง 12,063,642 ราย ในระยะต่อไปเราจะมีวัคซีน​เพิ่มขึ้น ทั้งนี้วัคซีน​แต่ละยี่ห้อ​ที่ประเทศได้นำมาฉีดทั้งหมดผ่านห้อง​ปฏิบัติการ​ โดยทุกชนิดมีประสิทธิภาพ​ในการป้องกันโรค โดยซิโนแวคมีการวัดประสิทธิภาพ​ลดการป่วยหนักหรือเสียชีวิต​ ซึ่งการระบาดที่สมุทรสาคร​มีประสิทธิอยู่ 90.5% แต่พอเชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงไปประสิทธิภาพในช่วงหลังๆลดลง เนื่องจากเชื้อมีการกลายพันธุ์​ แต่ถ้าต้องการป้องกัน​โรค​ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะต้องมีกระบวนการ​การในการบริหารจัดการวัคซีน ซึ่งประเทศไทยใช้คือการเปลี่ยนสูตรวัคซีนเดิมวัคซีนแต่ละยี่ห้อจะฉีดยี่ห้อนั้นๆครบสองเข็ม แต่พอพบเหตุการณ์​แบบนี้ ก็ได้ปรับวัคซีนที่ใช้ในประเทศไทยมาปรับสูตร โดยสูตร ปัจจุบันใช้เป็นซิโนแวคเข็มแรก และแอสตร้า​เซน​เน​ก้า เป็นเข็มที่ 2​ ข้อดีก็คือภูมิคุ้มกันขึ้นพอๆ กับฉีดแอสต​ร้า​เซน​เน​ก้า​ 2 ต่อสู้กับสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)​ ได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ในระยะต่อไปกระทรวง​สาธารณสุข​ จะรีบดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนครบสองเข็มได้เร็วขึ้น เพื่อลดอาการรุนแรง ทั้งนี้วัคซีนไม่ใช่วิธีการป้องกันโรคเพียงอย่างเดียว มาตรส่วนบุคคล ก็ยังต้องเข้มงวด นอกจากนี้กลุ่มผู้เสียชีวิตกว่า 90% เป็นกลุ่ม 608 ซึ่งเราต้องเร่งรัดการฉีดวัคซีนต่อไปครอบคลุม อย่างไรก็ตามจากนี้ไปปลายเดือนก.ย. ไทยจะฉีดวัคซีนได้ทั้งหมด 45 ล้านโดส โดยมีวัคซีนหลักอยู่ 4 บริษัท คือ ซิโ​นแ​วค​ แอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ ไฟเซอร์ ​และซิโน​ฟาร์ม​ โดยผลข้างเคียงทุกยี่ห้อส่วนใหญ่จะคล้ายกันมีไข้ ปวดศรีษะ​ ถ้าทานยา ลดไข้ ทานยาแก้วิงเวียน อาการก็จะดีขึ้น แต่ผลข้างเคียงที่เราติดตาม คืออาการแพ้รุนแรง ของซิโนแวคโดยอาการที่รุนแรงคือ อาการแพ้วัคซีนพบทั้งหมด 24 ราย คิดเป็น 0.1 % ต่อแสนราย ส่วนแอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ มีทั้งหมด 6 ราย คิดเป็น 0.04% ต่อแสนราย

ทั้งนี้ทั้งหมดที่กล่าว รักษาหายกลับเป็นปกติ ส่วนภาวะลิ่ม​เลือด​อุดตัน​หลังจากได้วัคซีนแอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ ที่ประเทศสหรัฐ​อเมริกา​ และยุโรป พบค่อนข้างมาก ส่วนในเอเชียพบค่อนข้างน้อย พบเพียง 5 ราย คิดเป็น 0.03 % ต่อประชากรแสนคน เพราะฉะนั้นวัคซีนหลัก 2 ตัวนี้ มีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย ถือว่ามีมาตรฐาน​ความปลอดภัยอยู่ในระดับสูงส่วนไฟเซอร์​ ที่สหรัฐฯ พบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตอนนี้ในไทยพบ 1 ราย หลังจากฉีดไปประมาณ 1 ล้านโดส คิดเป็น0.1% ต่อประชากรแสนราย โดยรายนี้ไม่รุนแรงและหายเป็นปกติแล้ว อย่างไร​ก็ตาม​อาการไม่พึงประสงค์ และอาการข้างเคียงเป็นสิ่งสำคัญ ทางกระทรวง​สาธารณสุข​ ก็มีการติดตามข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าวัคซีนมีความปลอดภัยมากแค่ไหน

“สำหรับรายที่เสียชีวิต​ภายหลังการฉีดวัคซีน โดยเวลาที่นับฉีดวัคซีน เรามีการติดตามคนๆนั้น ไปประมาณ 4 สัปดาห์​ หากเกิดอาการผิดปกติ ต้องเข้าโรงพยาบาล​หรือเสียชีวิต สาธารณสุขจะต้องมีการพิสูจน์​ว่าเกิดจากวัคซีน​หรือเปล่าถ้าเป็นไปได้ในรายที่เสียชีวิต​จะต้องขอชันสูตร​ศพว่าเกิดจากอะไร และนำผลชันสูตร​ให้คณะผู้เชี่ยวชาญ​พิจารณา ​ว่าเกี่ยวข้อง​กับ​วัคซีน​หรือไม่” นพ.โอภาส กล่าว

นพ.โอภาส ยังกล่าวอีกว่า ข้อมูลฉีดวัคซีนทั้งหมดพบว่า ผู้เสียชีวิตภายหลังการฉีดวัคซีนที่รับรายงานจำนวน 628 รายคณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเสร็จแล้ว 416 ราย พบว่าส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน ทั้งหมด 249 ราย โดยพบมีสาเหตุต่างๆกัน อาทิเช่น ติดเชื้อในระบบประสาท เลือดออกในสมอง เส้นเลือดสมองอุดตัน ปอดอักเสบรุนแรง ลิ่มเลือดอุดตันในปอด รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และมะเร็ง เป็นต้น ส่วนอีก 32 รายไม่สามารถสรุปได้ โดยสรุปที่มีการฉีดวัคซีน​ไปเกือบ 40 ล้าน​โดส ​มีอยู่รายเดียวที่เสียชีวิตที่เกี่ยวข้อง​กับ​วัคซีน

นพ.โอภาส กล่าวต่อ​ว่า​ ภาวะลิ่มเลือด​อุดตันที่ร่วมกับเกล็ดเลือด​ต่อ Vaccin-induce immune thrombotic thrombocytopenia (VITT) หลังได้รับการฉีดวัคซีนเกิดได้จากการฉีดวัคซีน​แอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ ถ้าในต่างประเทศพบค่อนข้าง​มากที่ 0.7% ต่อประชากรแสนราย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในคนผิวขาว​ ส่วนคนเอเชีย​เกิดค่อนข้างน้อย โดยคณะผู้เชี่ยวชาญ ได้รับคำแนะนำภาวะนี้เกิดได้แต่น้อยมาก และสามารถรักษาให้หายถ้ามีการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นหลังฉีดวัคซีน ถ้าเกิดอาการผิดปกติ อย่างเช่นปวดศีรษะมาก แขนขาอ่อนแรง ก็ให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อเพราะฉะนั้นประโยชน์ในการฉีดวัคซีนยังมีอยู่ค่อนข้างสูง จึงขอให้ประชาชนรับวัคซีนต่อไป แต่สิ่งที่สาธารณสุขจะต้องเร่งรัดให้บุคลากรทางการแพทย์ให้ทราบเรื่องภาวะ VITT เพื่อให้วินิจฉัยอย่างรวดเร็ว และเพิ่มการพัฒนาการตรวจในห้องปฏิบัติการ

นอกจากนี้ในส่วนเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังได้รับการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีน mRNA โดยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นการติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นไวรัสหรือแบคทีเรีย รวมถึงเชื้อโควิค-19 โดยส่วนใหญ่เกิดใน 10 รายต่อประชากรแสนคน สำหรับในไทยพบไม่ค่อยมาก ประมาณ 2 คนต่อประชากรแสนคน ส่วนใหญ่จะพบในวัคซีนไฟเซอร์ และโมเดอร์นา ส่วนวัคซีนอื่นๆ พบได้แต่ไม่บ่อย ในไทยฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 8 แสนคน พบรายงานเพียง 1 คน เป็นเพศชายอายุ 13 ปี มีอาการเจ็บหน้าอก 2 วัน ภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน โดยตรวจไม่พบการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ขณะนี้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและอาการดีขึ้นแล้ว

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า สำหรับแผนการฉีดวัคซีน​นั้น ที่ประชุม ศบค. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี​ เป็น​ประธาน​ ได้เห็นชอบ แผนการจัดหาวัคซีน รวมถึงแผนการฉีดวัคซีนในเดือน ต.ค. นี้ โดยจะมีวัคซีนจากซิโ​นแ​วค​ เข้ามา 6 ล้านโดส แอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ 10 ล้านโดส และไฟเซอร์ 8 ล้านโดส รวม 24 ล้านโดส นอกจากนี้ยังมีวัคซีนจากซิโนฟาร์ม เข้ามาอีก 6 ล้านโดส โดยตั้งแต่เดือน ต.ค.2564 เป็นต้นไป จะมีวัคซีนเข้ามาค่อนข้างมาก ซึ่งจะมีการเร่งฉีดให้กับประชาชนเพื่อลดอาการป่วยหนัก หรือเสียชีวิต และลดการแพร่ระบาด

สำหรับแผนการฉีดวัคซีน ที่ ศบค.เห็นชอบในเดือน ต.ค.นี้ เป้าหมายฉีดให้กับประชาชนอย่างน้อย 50% ของทุกจังหวัดโดยจะพยายามอย่างน้อย 1 จังหวัด มีความครอบคลุม 70% และมีต้นแบบ COVID Free Area อย่างน้อย 1 พื้นที่ซึ่งมีความครอบคลุม 80% นอกจากนี้ยังคงเพิ่มความควบคุมในกลุ่ม 608 ให้มากที่สุด นอกจากนั้นในจังหวัดนั้นๆ หากมีกลุ่มประชากรเป้าหมายอื่นที่สำคัญ ให้คณะกรรมการ​จังหวัด​จัดสรรได้ อย่างน้อยให้ครอบคลุมประชากร 50% 

นอกจากนี้ในเดือน ต.ค.นี้ จะมีประชากรที่ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ค่อนข้างมาก โดยจะฉีดให้ครอบคลุมมากที่สุด อีกประการหนึ่งในเด็กอายุ 12 ปี ที่เรามีวัคซีนไฟเซอร์เข้ามา เราจะเร่งฉีดเพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปิดภาคเรียน โดยกระทรวงสาธารณสุขจะร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ในการดำเนินการ ส่วนคนที่ฉีดซิโนแวคไปแล้ว 2 เข็ม มีการเห็นชอบฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในเดือน ต.ค. เช่นกัน หากมีความพร้อมอาจจะเริ่มได้ก่อน

“ภาพรวมเราจะฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วไป 16.8 ล้านโดส เด็กนักเรียน 4.8 ล้านโดส แรงงานในระบบประกันสังคม 0.8 ล้านโดส หน่วยงานอื่นๆ เช่นองค์กรภาครัฐราชทัณฑ์ 1.1 ล้านโดส และผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มและต้องการเข็มกระตุ้นที่ 0.5 ล้านโดส รวม 24 ล้าน ซึ่งก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์” นพ.โอภาส​ กล่าว