สหรัฐเผยการปิดสถานกงสุลจีนในฮุสตัน เป็นจุดฮอตสปอตปฏิบัติการสายลับ ทางการจีนตอบโต้เป็นคำสั่งที่ผิดพลาด

ภาพจาก Reuters

สำนักข่าวเอ็นบีซีรายงานความคืบหน้ากรณี ทางการสหรัฐได้สั่งปิดสถานกงสุลจีนในเมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของสหรัฐ โดยให้เวลาจีน 3 วันให้ยุติการดำเนินการและกิจกรรมทั้งหมด โดยให้เหตุผลเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯและข้อมูลส่วนตัวของชาวอเมริกัน ล่าสุดมีรายงานจากทางการสหรัฐว่า สถานกงสุลจีนดังกล่าวเป็นจุดที่เรียกว่า “ฮอตสปอต” สำหรับภารกิจการสอดแนมสหรัฐ

ทั้งนี้เป็นการตัดสินใจโดยฝ่าบริหารของ ประธานนาธิบดี “โดนัลด์ ทรัมป์” เกิดขึ้นหลังจากหลายปีของการรวบรวมข่าวกรองของ สำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) เจ้าหน้าที่ของสหรัฐหลายคนกล่าวว่า รัฐบาลจีนได้ใช้สถานกงสุลฮุสตันมาเป็นเวลานานเพื่อขโมยข้อมูลการวิจัยทางการแพทย์ที่มีค่าและมีส่วนเกี่ยวข้องในการพยายามแทรกซึมอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติและข้อกังวลเหล่านี้ได้ถูหบรรยายสรุปต่อประธานาธิบดี “ทรัมป์”

ภายใต้กฎหมายในปัจจุบันและอดีตของสหรัฐ ระบุว่า สถานกงสุลจีนได้เสริมกำลังอย่างดีและแข็งแกร่งเพื่อป้องกันการเฝ้าระวังในสหรัฐฯ และเป็นศูนย์กลางการสื่อสารที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการประสานงานและปฏิบัติการสอดแนมต่างๆ

“มาร์ก วอร์เนอร์” สมาชิกระดับสูงของคณะกรรมการข่าวกรองวุฒิสภา กล่าวว่าเขาจะไม่พูดถึงเรื่องเบื้องหลังของข่าวกรองในการสั่งปิดดังกล่าว  แต่ฉันสามารถบอกได้ว่าในสองปีที่ผ่านมา ผนและสมาชิกคนอื่นในคณะกรรมการข่าวกรอง ได้จัดการบรรยายสรุปกับผู้นำธุรกิจและผู้นำทางวิชาการเกี่ยวกับความพยายามร่วมกันของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของเรา ขโมยจากบริษัทต่างๆ ขโมยจากมหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงระวังตัวดีกว่า 

รายงานระบุว่าด้วย ในคืนวันอังคารชั่วโมงก่อนที่จะมีการประกาศปิดสถานกงสุล มีผู้คนแถวนั้นได้สังเกตเห็นและบันทึก การเผาสิ่งของขนาดเล็กในถังขยะในลวนภายในของสถานกงสุลแผนกดับเพลิงฮุสตัน ถูกห้ามเข้าไป ซึ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศการเข้าไปในสถานที่นั้นๆจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมก่อน

ด้านความเคลื่อนไหวทางการจีน กระทรวงการต่างประเทศจีนตอบโต้โดยทันที ว่า “จีนขอเร่งเร้าให้สหรัฐฯถอนคำสั่งที่ผิดพลาดครั้งนี้” ไม่เช่นนั้นจะมีมาตรการตอบโต้ “ที่จำเป็นและชอบธรรม”

ก่อนหน้าเพียงไม่กี่ชั่วโมง กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เดินหน้าฟ้องร้องแฮกเกอร์ชาวจีน 2 รายในข้อหา มีส่วนร่วมในกระบวนการจารกรรมข้อมูลเกี่ยวกับงานออกแบบอาวุธ ข้อมูลด้านยา รหัสต้นฉบับ หรือ ซอร์ซโค้ด และข้อมูลวิจัยโรคมะเร็ง รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2014 ถึงปี ค.ศ. 2020

เอกสารส่งฟ้องยังอ้างด้วยว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างชั่วคราวแบบทำสัญญา ของกระทรวงความมั่นคงของจีน ซึ่งมีสถานะคล้ายๆ กับ หน่วยงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ หรือ ซีไอเอ ที่ทำการส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับความอ่อนไหวของโปรแกรมและซอฟท์แวร์สำคัญๆ เพื่อทำการเจาะเป้าหมายที่ต้องการเพื่อรวบรวมข่าวกรองต่างๆ โดยเป้าหมายการจารกรรมข้อมูล มีทั้ง กลุ่มผู้ประท้วงในฮ่องกง สำนักงานขององค์ดาไลลามะ และองค์กรไม่แสวงผลกำไรของชาวจีนผู้นับถือศาสนาคริสต์