สถาบันวิจัยอัญมณีเปิดตัวเครื่องประดับเพื่อสุขภาพตอบโจทย์ความต้องการที่มากกว่าความสวยงาม

.GIT เผยโฉมเครื่องประดับตอบโจทย์ทั้งสวยงามและสุขภาพ  

.พร้อมผลักดันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้มอบนโยบายในปีงบประมาณ 2564 ให้สถาบัน เร่งผลักดันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในทุกมิติ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมทั้งกระตุ้นความต้องการในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค และการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในฐานะการเป็นศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของโลก ซึ่งโครงการเครื่องประดับเพื่อสุขภาพ ถือได้ว่าเป็น หนึ่งในโครงการที่ได้มอบหมายให้กับสถาบันบูรณาการร่วมกับสถาบันการศึกษา อย่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อนำงานวิจัยและทคโนโลยีด้านสุขภาพ มาสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมเครื่องประดับ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทั้งยังเป็นการต่อยอดงานวิจัยให้สามารถนำมาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอีกด้วย

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย รองผู้อำนวยการสถาบัน รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT) กล่าวว่า นานาประเทศทั่วโลกในปี 2563 นี้ต้องประสบกับปัญหาวิกฤตไวรัสโควิด 19 และประเทศไทยเองยังเผชิญกับปัญหามลภาวะ PM 2.5 ที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพระยะยาว ซึ่งสภาวะเหล่านี้ ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายสินค้าเพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น ทางสถาบันจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครื่องประดับสุขภาพ เพื่อพัฒนาสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับให้มีประโยชน์ใช้สอย มากกว่าเพื่อความสวยงาม เช่น เครื่องประดับเพื่อสุขภาพ เครื่องประดับเพื่อความทรงจำ เป็นต้น 

ทั้งนี้สถาบัน ได้ร่วมมือกับหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อนำงานนวัตกรรมที่น่าสนใจมาร่วมพัฒนา และออกแบบร่วมกับ นักออกแบบเครื่องประดับและผู้ประกอบการ เป็นเครื่องประดับต้นแบบ โดยครั้งนี้ได้นำเทคโนโลยีที่ใช้ในเครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 เพื่อนำมาใช้เป็นองค์ประกอบของเครื่องประดับโดยมีหลักการทำงานคล้ายเครื่องฟอกอากาศ เพื่อดักจับอนุภาคของฝุ่น PM 2.5 ทำให้อนุภาคฝุ่นเป็นกลางหล่นลงสู่พื้น คงเหลือแต่อากาศที่สะอาดปราศจากฝุ่นควันกลับสู่ธรรมชาติ มีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และสามารถใช้งานได้จริง ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและใช้งานได้จริง โดยผลักดันจุดแข็งด้านงานวิจัยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์การออกแบบ สร้างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบรนด์ เพื่อเป็นการสร้างคุณค่า และมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับให้มีคุณสมบัติที่เป็นมากกว่าเครื่องประดับทั่วไป อีกทั้งยังได้มีการออกแบบเครื่องประดับเพื่อสุขภาพเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ และ ช่วยในการเคลื่อนไหว อาทิ แหวนกันนิ้วล็อค และ เครื่องพยุงกล้ามเนื้อเพื่อช่วยในการเดิน เป็นต้น

รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยเทคโนธานี  ได้ร่วมโครงการเครื่องประดับสุขภาพครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมีความยินดีที่ให้การสนับสนุนในด้านการประสานงานการปรับแปลง โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่การผลิต ซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มขีดความสามาถเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมของตนเองอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการนำผลงานวิจัยมาถ่ายทอดให้คำปรึกษาเชิงลึก พร้อมผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยไปสู่การใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของสังคมและประเทศ ซึ่งการได้ร่วมมือกับ GIT ถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ได้ต่อยอดงานวิจัยให้เกิดผลผลิตที่แท้จริง

นอกจากนี้ นายสุรศักดิ์ มณีเสถียรรัตนา หนึ่งในนักออกแบบ และ นักวิจัยอิสระ ที่ได้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบในโครงการ Beyond Jewelry ได้เสริมถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบว่า “แรงบันดาลใจในการออกแบบครั้งนี้ ได้มาจากการถอดแบบจากความเป็นมาจากการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ ที่ใช้หลักการของประจุบวก และ ประจุลบ (ION) ของน้ำ ซึ่งอยู่รอบตัวเรา มาเป็นแรงบันดาลในการออกแบบ สร้องคอ ต่างหู และสร้อยข้อมือ โดยใช้เทคนิคการออกแบบให้มีความน่าสนใจ อาทิ Water Harmony I ใช้เทคนิคความสามารถทั้งหมดทั้งซาย และ ขวา ซึ่งส่งให้อเครื่องกรองอากาศมีความโดดเด่น และเปล่งประกายดังอัญมณี ส่วน Water Harmony II ใช้แนวคิดของการออกแบบที่ไม่มีความสมมาตร มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และใช้เทคนิคทีชื่อ Slice & Lock เพื่อให้ผู้ใส่สนุกกับการสวมใส่เครื่องประดับมากขึ้น